พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Authors

  • Yaowapa Pathomsirikul School of Business Administration, Eastern Asia University
  • Supanut Kitphaitun
  • Amornrat Sriwanut School of Business Administration, Eastern Asia University
  • Sirikul Prasertsomboon School of Business Administration, Eastern Asia University

Keywords:

พฤติกรรมการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด การตัดสินใจซื้อ ร้านขายยา ไวรัสโคโรนา 2019

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและการตัดสินใจซื้อยาและและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานีในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกันกับการตัดสินใจซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยา 3) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยา งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่ซื้อยาและและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านยาในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการร้านขายยาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001–20,000 บาท มีพฤติกรรมการซื้อโดยประเภทผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมากที่สุดคือ ยาแก้ปวดลดไข้ ยาระบบทางเดินหายใจ เวชภัณฑ์ที่ซื้อมากที่สุดคือ แอลกอฮอร์เจล/ สเปร์ ส่วนวิตามินและอาหารเสริมที่ซื้อมากที่สุด คือ วิตามินซี สมุนไพร วัตถุประสงค์ในการซื้อยาที่ร้านยาคือ ต้องการปรึกษาการใช้ยาจากเภสัชกรประจำร้าน ช่วงเวลาที่ซื้อ 18.01–20.00 น. ความถี่ในการซื้อ 1–2 ครั้งต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้บริการที่ร้านยาแบบเดี่ยว จำนวนเงินเฉลี่ยในการซื้อ 201–300 บาทต่อครั้ง และตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของร้านมากที่สุด การตัดสินใจในการซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาเดิมมากที่สุด รองลงมาคือ ร้านขายยาแบบเดี่ยว 2) พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่แตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาแตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยา ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ยาฯ (β=0.236) รองลงมาคือ สถานที่ตั้งและเวลาการเข้าถึงบริการ (β=0.235) และราคา/ ค่าใช้จ่าย (β=-0.091) และสามารถอธิบายการพยากรณ์การตัดสินใจได้ร้อยละ 33.6 (Adjust R2 =.336)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

27-02-2022

How to Cite

Pathomsirikul, Y., Kitphaitun, S., Sriwanut, A., & Prasertsomboon, S. (2022). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซื้อยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านขายยาของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 12(2), 68–88. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/14048

Most read articles by the same author(s)