วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ <p><strong> วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ </strong>เป็นวารสารทางวิชาการ จัดทำโดย คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยจัดทำเป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือวิจัยในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่ การตลาด การจัดการ การเงิน การบัญชี ธุรกิจระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว และการโรงแรม และสาขาเศรษฐศาสตร์</p> <p> 2. เพื่อให้บริการทางวิชาการในสาขาบริหารธุรกิจ ได้แก่ การตลาด การจัดการ การเงิน การบัญชี ธุรกิจระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และสาขาเศรษฐศาสตร์</p> <p> 3. เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ได้แก่ การตลาด การจัดการ การเงิน การบัญชี ธุรกิจระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว และการโรงแรม และสาขาเศรษฐศาสตร์</p> <p><strong>ประเภทผลงานที่รับพิจารณาตีพิมพ์ (ภาษาไทย/ ภาษาอังกฤษ)</strong></p> <p> 1. บทความวิจัย (Research article)</p> <p> 2. บทวิจารณ์วิชาการ (Critique/ Discussion paper) </p> <div id="focusAndScope"> <div id="focusAndScope"> <p><strong>กำหนดการออกเผยแพร่</strong><strong> (Publication Frequency) </strong></p> <p> - <strong><u>ฉบับที่ 1</u></strong> เดือนมกราคม – มิถุนายน</p> <p> - <strong><u>ฉบับที่ 2</u></strong> เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม </p> <p><strong>ระยะเวลาในการรับพิจารณาบทความ</strong></p> <p> - <strong><u>ฉบับที่ 1</u></strong> เดือนมกราคม – เมษายน</p> <p> - <strong><u>ฉบับที่ 2</u></strong> เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (</strong><strong>Article Processing Charges) </strong><strong><br /></strong> วารสารไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </p> <p><strong>Peer Review Process</strong></p> <p> บทความทุกบทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นการประเมินคุณภาพแบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double blinded peer review) ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 2 ใน 3 ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาในขั้นแรกแล้ว ผู้เขียนจะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องผ่านการตรวจสอบการแก้ไขจากกองบรรณาธิการว่ามีการแก้ไขอย่างถูกต้องจึงจะผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ หลังจากนั้นทางวารสารฯ จึงจะออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ให้ผู้เขียนบทความต่อไป</p> <p><strong>ฐานข้อมูลวารสาร</strong></p> <p> ได้รับการรับรองคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2</p> <p><strong>การติดต่อวารสาร</strong></p> <p> คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 11754, 0-2169-1018 E-mail Address: <a href="mailto:mbasbj@gmail.com">mbasbj@gmail.com</a></p> </div> </div> en-US <p>วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความจากงานวิจัย บทความทางวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือทางบริหารธุรกิจ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของศูนย์การจัดการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ</p> mbasbj@gmail.com (ผศ.ดร.จรินทร์ จารุเสน: Asst. Prof. Dr.Jarin Jarusen) mbasbj@gmail.com (Supawadee) Fri, 21 Jul 2023 00:00:00 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 Strategic Management for Tourism, Hospitality and Events https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15591 <p>หลังจากที่ภัยคุกคามประชากรโลกที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วง 3 ปีระหว่าง ค.ศ. 2020-2022 ได้ลดน้อยลงมาอยู่ในระดับที่การใช้ชีวิตของผู้คนในโลกเริ่มกลับมาเป็นปกติ ทั้งในเชิงการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในเชิงเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการบริการและการขนส่ง ซึ่งถือว่าเป็นภาคส่วนได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาจากรายได้ที่ลดลงอย่างมาก อันเป็นผลจากนโยบายในการควบคุมการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้เกิดการรวมตัวของคนเป็นจำนวนมาก เช่น ในกรณีของธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจการเดินทางและการขนส่ง เป็นต้น และแม้ในปัจจุบันสถานการณ์ในภาพรวมของโลกเริ่มคลี่คลายไปในแนวทางบวกด้วยนวัตกรรมด้านสุขภาพ เช่น วัคซีนหรือยาต้านไวรัส ที่ส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตหรือผู้ป่วยอาการหนักมีจำนวนลดลง ประกอบกับทัศนคติของผู้คนที่มีต่อโรคเองได้เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน สะท้อนได้จากนโยบายสาธารณสุขในหลายประเทศที่ปรับให้โรคไวรัสโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นเพื่อให้การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนเริ่มกลับเข้าสู่สถาวะปกติได้</p> Tanapoom Ativetin Copyright (c) 2023 วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15591 Tue, 29 Aug 2023 00:00:00 +0000 ทักษะที่จำเป็นในการฝึกงานของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและ การโรงแรมคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15530 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ฝึกงาน ที่มีผลต่อทักษะที่จำเป็นในการฝึกงานของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม 2) ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ฝึกงาน ที่มีผลต่อทักษะที่จำเป็นในการฝึกงานของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคมโดยเป็นการการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เคยลงทะเบียนในรายวิชาทักษะอาชีพทางการท่องเที่ยวและรายวิชาทักษะอาชีพทางการโรงแรม จำนวน 326 ราย และนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ งานวิจัยนี้นำตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมเชิงองค์การ ที่มีอิทธิพลต่อทักษะที่จำเป็นในการฝึกงานนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ ผลการวิจัยนี้ตามวัตถุประสงค์พบว่า 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ฝึกงาน ที่มีผลต่อทักษะที่จำเป็นในการฝึกงานของนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้แก่ ระดับชั้นปี และเกรดเฉลี่ยที 2) ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเชิงองค์การมีผลต่อทักษะที่จำเป็นในการฝึกงานนิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ผลลัพธ์จึงนำไปปรับปรุงกิจกรรมระหว่างหลักสูตรก่อนการฝึกงานโดยกำหนดนโยบายเป็นแผนปฏิบัตตามชั้นปีและความชำนาญการในการฝึกงานแต่ละตำแหน่งให้มีความรู้ที่มาขึ้นและศักยภาพของผู้เรียนให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นและเป็นไปตามแต่ละทักษะที่พึงจำเป็นต่อการฝึกงาน ปรับปรุงการเรียนการสอนในอนาคตให้มีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของโลกการทำงาน</p> Tanapoom Ativetin, Chanchai Chitlaoarpom Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15530 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชัน TIKTOK https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15521 <p>TikTok เป็นแอปพลิเคชันที่กำลังมาแรง มีความน่าสนใจ มีกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลากหลายแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร จึงอาจเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะนักการตลาดที่ต้องการใช้ TikTok เพื่อทำโฆษณา จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความง่ายในการใช้งานที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok 2) เพื่อศึกษาประสบการณ์ในภาวะลื่นไหลที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเพลิดเพลิน 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ประสบการณ์ในภาวะลื่นไหล และการรับรู้ความเพลิดเพลินที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้คุณค่าในการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok และ 4) เพื่อศึกษา การรับรู้คุณค่า ทัศนคติในการใช้งาน และการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok งานวิจัยนี้ได้ผสมผสานระหว่างส่วนขยายของทฤษฎีคุณค่าตามความมุ่งหมายและทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล โดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 580 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 - 34 ปี และเคยมีประสบการณ์ในการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทางสถิติได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ตัวแบบสมการโครงสร้าง (PLS-SEM) ผลพบว่า 1) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ประสบการณ์ในภาวะลื่นไหลมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ความเพลิดเพลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3) การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความเพลิดเพลิน และการรับรู้ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้คุณค่าในการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 และ 4) การรับรู้คุณค่า ทัศนคติในการใช้งาน และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> Benjamart Mungounklang, Warinrampai Rungruangjit Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15521 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 รื่นรมย์ชมสวนดอกไม้: การวิเคราะห์แรงจูงใจและกิจกรรม การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และเพชรบูรณ์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15522 <p>การเที่ยวชมสวนดอกไม้เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษประเภทหนึ่งที่ได้รับ ความนิยมในประเทศไทย โดยสวนดอกไม้สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมและยังช่วยสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรวมได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีความไม่ชัดเจนในความสนใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการเที่ยวชมสวนดอกไม้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและกิจกรรมการท่องเที่ยวในสวนดอกไม้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และวิเคราะห์ลักษณะกิจกรรมการท่องเที่ยวในสวนดอกไม้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงอายุต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากนักท่องเที่ยวจำนวน 384 คนที่เดินทางไปเที่ยวชมสวนดอกไม้ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเน้นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความสะดวกและเต็มใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทางสถิติในการจำแนกลักษณะประชากรศาสตร์ แรงจูงใจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบในการจัดกลุ่มกิจกรรม การท่องเที่ยว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อวิเคราะห์ลักษณะกิจกรรมการท่องเที่ยวชมสวนในนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจหลักในการเที่ยวชมสวนดอกไม้ของนักท่องเที่ยว ได้แก่ เพื่อพักผ่อน เพื่อชื่นชมดอกไม้/ ต้นไม้ และเพื่อใช้เวลาในวันหยุด สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สนใจมี 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่สามารถให้การเรียนรู้และความบันเทิง กิจกรรมที่ได้พักผ่อนและเพิ่มโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ และกิจกรรมการถ่ายภาพและแชร์ภาพ เมื่อเปรียบเทียบลักษณะกิจกรรมของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม พบว่า นักท่องเที่ยววัยหนุ่ม-สาว (20-39 ปี) สนใจในกิจกรรมการเรียนรู้และความบันเทิง และกิจกรรมการถ่ายภาพและแชร์ภาพ นักท่องเที่ยววัยกลางคน (40-49 ปี) สนใจในกิจกรรมการถ่ายภาพและแชร์ภาพ ในขณะที่นักท่องเที่ยวสูงอายุ (ตั้งแต่ 50 ปี) สนใจในกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนและเพิ่มโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวประเภทสวนสามารถเข้าใจถึงความต้องการนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวทำให้สามารถนำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจน</p> Kwankhao Poonperm, Kittipih Kittipornpaiboon, Siripen Dabphet Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15522 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โรงแรม โฮเทล เดอ ลัดดา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15523 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โรงแรม โฮเทล เดอ ลัดดา โดยการใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเก็บข้อมูลในรูปแบบการแจกแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างคือลูกค้าโรงแรม โฮเทล เดอ ลัดดา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ คือ ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โรงแรม โฮเทล เดอ ลัดดา ที่ระดับนัยสำคัญ = .05 และปัจจัยคุณภาพการบริการ คือ มิติความเป็นรูปธรรมของบริการ มิติการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และ มิติความเชื่อถือไว้วางใจได้ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โรงแรม โฮเทล เดอ ลัดดา โดยมีระดับนัยสำคัญ =.000*, .003* and .013* ตามลำดับ</p> Jaratchwahn Jantarat, Kriengsak Boontos, Thanita Kongrerk, Anuchat Chamchong Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15523 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15525 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี และ 3) เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในกรณีที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ตรวจสอบเอกสารตามส่วนงาน และบุคลากรส่วนการคลัง ซึ่งปฏิบัติงานด้านพัสดุ ด้านการเงินและบัญชี จำนวน 166 คน ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance หรือ ANOVA) และการหา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี โดยรวมแล้วระดับความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการตรวจเอกสารเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี ได้แก่ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน ทักษะความชำนาญงาน ทักษะความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน และทักษะด้านระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และ 3) ในช่วงที่มีโรคระบาดทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ตามแผนงานที่วางไว้ทุกหน่วยงานควรบริหารจัดการการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม ควรมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนอย่างชัดเจนไปในทิศทางเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย และควรมีมาตรการในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงมีการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที โดยมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานให้รวดเร็วขึ้น</p> Sarunya Ekkabud Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15525 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 PERCEPTION OF FIFA WORLD CUP QATAR 2023 SOCIO-ECONOMIC IMPACTS IN CHON BURI SPORTS CITY RESIDENTS https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15526 <p>The socio-economic impacts of hosting the FIFA World Cup are unquestionably significant. Adjacent non-host city perception to mega event was frequently explored, while distant non-host city perception has less investigated. This study determined the socio-economic impacts of FIFA World Cup Qatar 2023 in 422 Chon Buri Sports City residents. Perception on the socio-economic impacts was measured by the translated Scale of Perceived Social Impacts questionnaire. Extracted seven dimensions by confirmatory factor analysis is consistent with empirical data. Positive impact dimensions are Community Development, Community Pride, Economic Benefits. Negative impact dimensions are Traffic Problems, Security Risks, Economic Costs, and Environmental Concerns. Positive impacts of hosting FWC Qatar 2023 has more significantly influenced on Chon Buri Sports City residents’ perception than negative impacts. Factor loading of the positive impacts were between 0.924 to 0.954, while the negative impacts were between 0.771 to 0.828. These findings benefit for sport stakeholders to deeper understand the impacts of mega event hosting.</p> Dittachai Chankuna Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15526 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15527 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยความสามารถในการทำกำไรใช้ข้อมูลกำไรสุทธิของบริษัท รายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2555&nbsp; ถึงไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 รวมจำนวน 42 ไตรมาส ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีแบบมีระยะเวลาของธนาคารพาณิชย์ และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบเส้นตรงพหุคุณเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยวิธีการกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares) ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจได้แก่อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีแบบมีระยะเวลาของธนาคารพาณิชย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลประกอบการของธุรกิจได้ร้อยละ 75.5 โดยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงมีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิในทิศทางเดียวกันโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .176 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯมีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิในทิศทางตรงกันข้าม มีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ -.838 ส่วนอัตราเงินเฟ้อและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> Pongyuth Glayuth Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15527 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมของกลุ่มผู้ประกอบการ ที่มีต่อแนวคิดการตลาดและการสร้างแบรนด์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15528 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจของผู้ประกอบการที่จะนำแนวคิดการตลาด และการสร้างแบรนด์ไปใช้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูล ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในภูมิภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการตลาด และการสร้าง &nbsp;แบรนด์ในระดับปานกลาง สำหรับทัศนคติ ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.41 นั่นคือ มีทัศนคติในเชิงบวก ส่วนแนวโน้มพฤติกรรม พบว่า ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มพฤติกรรมต่อความตั้งใจที่จะนำแนวคิดการตลาดและการสร้างแบรนด์ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ในระดับตั้งใจอย่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.52 นอกจากนี้ ยังพบว่า ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการตลาด และการสร้างแบรนด์มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ ที่ระดับนัยสำคัญที่ .001 ในทุกด้าน อีกทั้งทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อแนวคิดการตลาด และการสร้างแบรนด์มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรม ทั้งในด้านความตั้งใจที่จะนำแนวคิดการตลาดไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและด้านความตั้งใจที่จะสร้างแบรนด์</p> Sangsuk Pithayanukul Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15528 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000 อิทธิพลด้านความคิดสร้างสรรค์และความตั้งใจในการใช้โซเชียลมีเดียผ่านการเรียนรู้ผู้ประกอบการที่นำไปสู่ความเป็นผู้ประกอบการ ทางอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาธุรกิจอาหาร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15529 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลด้านความคิดสร้างสรรค์และความตั้งใจในการใช้โซเชียลมีเดียผ่านการเรียนรู้ผู้ประกอบการ ที่นำไปสู่ความเป็นผู้ประกอบการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยประชากรในงานวิจัยนี้ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอาหารซึ่งเป็นตัวแทนธุรกิจอาหาร คือ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้จัดการร้านอาหาร และพนักงานร้านอาหาร ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ทั้งความคิดสร้างสรรค์และความตั้งใจในการใช้โซเชียลมีเดียช่วยส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านการเรียนรู้ผู้ประกอบการ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร เช่น สมาคมหรือผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร สามารถที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาศักยภาพตนเองเป็นผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสนับสนุนเครื่องมือในการใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้ประกอบการนำมาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการทางอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดและประสบความสำเร็จในอนาคตต่อไป</p> Chakkaphan Phutamjai, Pittawat Ueasangkomsate Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/15529 Fri, 30 Jun 2023 00:00:00 +0000