Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • ผู้เขียนบทความจะต้องไม่ส่งบทความที่เคยตีพิมพ์แล้ว หรือส่งบทความซ้ำกับวารสารอื่น
  • บทความที่เขียนจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการคัดลอกผลงานของตนเองหรือบุคคลอื่น
  • การพิมพ์บทความ ยึดถือรูปแบบลักษณะและรูปแบบเอกสารอ้างอิงของไฟล์แม่แบบ
  • เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและตรวจสอบได้
  • กรณีการวิจัยในมนุษย์จะต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และนำหลักฐานมาแสดง
  • ให้ผู้เขียนแนบบทความทั้ง word และ Pdf ลงในระบบวารสาร

Author Guidelines

บทความวิจัย ประกอบด้วย บทคัดย่อ (ไทยและอังกฤษ) บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง โดยมีรายละเอียดในการจัดเตรียมต้นฉบับ ดังนี้

  1. พิมพ์ด้วยกระดาษ เอ 4 (พิมพ์หน้าเดียว) จำนวนไม่เกิน 15 หน้า (นับรวมบทคัดย่อ รูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก)
  2. ส่วนประกอบของบทความวิจัย ประกอบด้วย บทคัดย่อ (ไทยและอังกฤษ) บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง

หมายเหตุ: ทุกบทความต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์บทความเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับบทความ

  • ขนาดกระดาษ เอ 4
  • กรอบของข้อความ ในแต่ละหน้าให้มีขอบเขตดังนี้ จากขอบบนของกระดาษ 1.25 นิ้ว ขอบล่าง 1.0 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 1.0 นิ้ว
  • ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
  • ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ตัวอักษร ใช้บราววัลเลีย นิว (Browallia New) และพิมพ์ตามที่กำหนดดังนี้

- ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) เป็นข้อความสั้นๆ และสื่อความหมายบ่งชี้ให้เห็นสาระสำคัญของเนื้อหา ขนาด 18 point, กลางหน้ากระดาษ, ตัวหนา

- ชื่อผู้เขียน (ทุกคน) ใส่ชื่อและชื่อสกุลเต็มทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ตัวแรกของชื่อ-สกุลให้ใช้อักษรตัวใหญ่) กรณีมีหลายคนให้เรียงตามคุณวุฒิ หรือตำแหน่งทางวิชาการ และใส่ลำดับไว้ท้ายนามสกุล และพิมพ์ footnote ข้อมูลหน่วยงาน (ภาควิชา, คณะ, มหาวิทยาลัย) ไว้ท้ายหน้าแรกของบทความนั้น ขนาด 14 point

- บทคัดย่อ และ Abstract
*
ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา 
* ข้อความบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้น ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของบทความ ขนาด 14 point, กำหนด ชิดขอบ, ตัวธรรมดา

- คำสำคัญ (ตัวหนา) ให้พิมพ์ต่อจากบทคัดย่อ และ Keywords (ตัวหนา) ให้พิมพ์ต่อจาก Abstract โดยคำแรกของคำภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ คั่นแต่ละคำด้วยเครื่องหมาย, ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความประมาณ 3-5 คำ ขนาด 14 point ตัวธรรมดา 

- รายละเอียดบทความ 
*
หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา 
* หัวข้อรอง ขนาด 14 point, ตัวหนา, ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
* เนื้อหา ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา, ย่อหน้า 0.5 เท่ากับหัวข้อรอง (เฉพาะเริ่มต้นข้อความ/ ประเด็นใหม่) ส่วนอื่น กำหนดชิดขอบ

  • คำศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
  • ภาพและตาราง

* ให้ระบุคำว่า ภาพที่ หมายเลขภาพ และชื่อของภาพไว้ใต้ภาพประกอบ และจัดข้อความบรรยายภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ 
* ให้ระบุคำว่า ตารางที่ หมายเลขตาราง และชื่อตารางพร้อมไว้ด้านบนของตาราง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า TABLE ชื่อตารางใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด หัวข้อในตาราง อักษรตัวแรกให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่
* แหล่งที่มา ให้พิมพ์ห่างจากชื่อภาพประกอบหรือเส้นคั่นใต้ตาราง 1 บรรทัด (ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point, ตัวธรรมดา)

การเขียนอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม (ใช้การอ้างอิงแบบ APA Style)

1. การอ้างอิงหนังสือ

- กรณีผู้แต่ง 1 คน
อ้างอิง (สีดา สอนศรี, 2547, น. 20)

บรรณานุกรม
สีดา สอนศรี. (2547). ผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้างอิง (Michael, 1996, p. 4)

บรรณานุกรม
Michael, J. G. (1996). Environmental Chang in Southeast Asia. New York: Routledge.

- กรณีผู้แต่ง 2 คน
อ้างอิง (โคริน เฟื่องเกษม และชัยโชค จุลศิริวงศ์, 2544, น. 150)

บรรณานุกรม
โคริน เฟื่องเกษม และชัยโชค จุลศิริวงศ์. (2544). การเมืองระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้างอิง (Parnwell, & Evana, 2001, pp. 30-40)        

บรรณานุกรม
Parnwell, M. G., & Michael, J. G. (1966). Environmental Chang in Southeast Asia. New York: Routledge.

- กรณีผู้แต่ง 3-6 คน
อ้างอิงครั้งแรก (สีดา สอนศรี, วิทยา สุจริตธนารักษ์, โคริน เฟื่องเกษม, ชปา จิตต์ประทุม และดอน สุขศรีทอง, 2552, น. 18)

อ้างอิงครั้งต่อไป (สีดา สอนศรี และคนอื่นๆ , 2552, น. 18) 

บรรณานุกรม
สีดา สอนศรี, วิทยา สุจริตธนารักษ์, โคริน เฟื่องเกษม, ชปา จิตต์ประทุม และดอน สุขศรีทอง. (2552). การจัดการสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อ้างอิงครั้งแรก (Monroe, Evana, Smith, & Hensly, 2003, p. 5)

อ้างอิงครั้งต่อไป (Monroe, et al., 2003, p. 5)

บรรณานุกรม
Monroe, R. L., Evona, D. J., Smith, C. T., & Hensly, Brown. (2003). Co-Management of Natural Resource in Asia: A Comparative Perspective. Nias Press.

- กรณีผู้แต่งมากกว่า 6 คน 
อ้างอิง (จรวย บุญยุบล และคนอื่นๆ , 2536, น. 11)

บรรณานุกรม
จรวย บุญยุบล และคนอื่นๆ.  (2536). พลังงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้างอิง (Cramer, R. L., et al., 1984, p. 17)

บรรณานุกรม
Cramer, R. L., et al. (1984). Language: Structure and use (2nd ed). Illinois: Scott.

- บรรณาธิการ ผู้รวบรวม ผู้เรียบเรียง
อ้างอิง (อุกกฤษฎ์ ปัทมานนท์, 2548, น. 352)

บรรณานุกรม
อุกกฤษฎ์ ปัทมานนท์ (บก.). (2548). เอเชียรายปี 2548. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้างอิง (Smith, 1983, Chap. 5)

บรรณานุกรม
Smith, A. D. (Ed.). (1983). Psychology: Principle and Practice. New York: Thieme.

2. การอ้างอิงบทความ
อ้างอิง
(ชัยโชค จุลศิริวงศ์, 2548, น. 293-420)

บรรณานุกรม
ชัยโชค จุลศิริวงศ์. (2548). ผู้นำมาเลเซีย.ในสีดา สอนศรี (หัวหน้าโครงการ) ผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย. (น. 293-420). กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อ้างอิง (McLennan, 2001, p. 49)

บรรณานุกรม
McLennan, G. (2001). Maintaining Marx. In G. Ritzer and B.Smart (Eds.). Handbook of Social Theory. (pp. 43-53). London: Sage.

3. การอ้างอิงรายงานการวิจัย
อ้างอิง
(ฉันทนา บรรณ และศิริโชติ หวันแก้ว, 2535, น. 75)

บรรณานุกรม
ฉันทนา บรรณ และศิริโชติ หวันแก้ว. (2535). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส: เด็กทำงาน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้างอิง (Deming, 2008)

บรรณานุกรม
Deming, D., & Dynarski, S. (2008). The lengthening of childhood (NBER Working Paper 14124). Cambridge, MA: National Bureau of Economic Research. Retrieved October 24, 2008, from http://www.nber.org/paper/w1424

4. การอ้างอิงวิทยานิพนธ์
อ้างอิง (วิภาสพล ชินวัฒนโชติ, 2550, น. 59)

บรรณานุกรม
วิภาสพล ชินวัฒนโชติ. (2550). ความพึงพอใจและแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีขายในเซเว่นอีเลฟเว่น. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อ้างอิง (Darling, 1976, p. 5)

บรรณานุกรม
Darling, C. W. (1976). Giver of due regard: the poetry of Richard Wilbur. Unpublished doctoral dissertation, University of Connecticut, Storrs, CT.

5. การอ้างอิงวารสาร
อ้างอิง
(ประมูล  สัจจิเศษ, 2541, น. 50)

บรรณานุกรม
ประมูล  สัจจิเศษ. (2541). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 19(2), 30-39.

อ้างอิง (Opasa, 1998, pp. 11-20)

บรรณานุกรม
Oposa, Antonio. (1998). Environmental Conflict and Judicial Resolution in the Philippines. Asian Journal of Environmental Management, 6(1), 11-20.

6. การอ้างอิงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อ้างอิง (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2551)

บรรณานุกรม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2551). คู่มือการศึกษาปีการ ศึกษา 2551. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2551, จาก http://www.psu.ac.th/handbook

อ้างอิง (Brown, 1994)

บรรณานุกรม
Brown, H. (1994). Citing computer references. Retrieved April 3, 1995, from http://neal.ctstateu.edu/history/cite.html

Privacy Statement

mbasbj@gmail.com