ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ว่าที่ร้อยตรี ประพนน์ ชูจำปา
รองศาสตราจารย์เวธนี กรีทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกปัจจัยที่ศึกษาเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านส่วนตัว ได้แก่ อายุ ระดับชั้น แรงจูงใจในการสมัครเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษา นิสัยทางการเรียน และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง และการส่งเสริมนักเรียนในความเป็นพุทธมามกะของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพภายในวัด ลักษณะทางกายภาพภายในโรงเรียน และการเลียนแบบพระสงฆ์ที่ศรัทธา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2551 จำนวน 297 คน ประกอบด้วย นักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี จำนวน 190 คน นักเรียนธรรมศึกษาชั้นโท จำนวน 55 คน
และนักเรียนธรรมศึกษาชั้นเอก จำนวน 52 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้ระดับชั้นเป็นชั้น (Strata) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .9328)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 3 ด้าน 8 ปัจจัย ดังนี้ 1.1 ปัจจัยด้านส่วนตัว มี 3 ปัจจัย ได้แก่แรงจูงใจในการสมัครเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษา (X5) นิสัยทางการเรียน (X6) และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา (X7) 1.2 ปัจจัยด้านครอบครัว มี 2 ปัจจัย ได้แก่สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง (X8) และการส่งเสริมนักเรียนในความเป็นพุทธมามกะของผู้ปกครอง (X9) 1.3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มี 3 ปัจจัย ได้แก่ลักษณะทางกายภาพภายในวัด (X10) ลักษณะทางกายภาพ
ภายในโรงเรียน ( X11) และการเลียนแบบพระสงฆ์ที่ศรัทธา (X12)
2. ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มี 1 ด้าน 4 ปัจจัย ได้แก่ อายุ (X1) ระดับชั้น :ธรรมศึกษาชั้นตรี (X2) ระดับชั้น : ธรรมศึกษาชั้นโท (X3) และระดับชั้น : ธรรมศึกษาชั้นเอก (X4)
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ การเลียนแบบพระสงฆ์ที่ศรัทธา (X12) ลักษณะทางกายภาพภายในวัด (X10) แรงจูงใจในการสมัครเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษา (X5) การส่งเสริมนักเรียนในความเป็นพุทธมามกะของผู้ปกครอง (X9) และลักษณะทางกายภาพภายในโรงเรียน (X11) ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความ
แปรปรวนของเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 55.70
4. สมการพยากรณ์เจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีดังนี้ 4.1 สมการพยากรณ์เจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 1.179+.284X12+.162X10+.131X5+.085X9+.054X11
4.2 สมการพยากรณ์เจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .344X12+.287X10+.249X5+.110X9+.105X11

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชูจำปา ว. ป., กรีทอง ร., & จุลรัตน์ ผ. ด. (2009). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนในหลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/834
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)

<< < 1 2