ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
ต่อความสามารถในการรับรู้วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ
ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชดำ ริ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ ปัจจัย
ด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ อายุ ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ และนิสัยทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ การ
สนับสนุนการสนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง และ ฐานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัว ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
กายภาพ ชีวภาพ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และ
สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนช่วง
ชั้นที่ 4 ยกเว้นแผนวิทย์-คณิตปีการศึกษา 2549 โรงเรียนราช
ดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้นจำนวน 250 คน
เป็นนักเรียนชาย 111 คน และนักเรียนหญิง 139 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่
ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
ชีวภาพของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การ
วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple
Regression Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชดำ ริ เขต ประเวศ
กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 มี 2
ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัย
ที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเรียนของ
ผู้ปกครอง(X5) และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู( X7)
ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน
ของความสามารถในการรับรู้วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ
ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชดำริ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 22 จึงนำค่า
สัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในรูป
คะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 1.756 + .300 X5+ .159 X7
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานครในรูป
คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .400 X5 + .189 X7
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการ
รับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ราชดำ ริ เขตประเวศกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี
2 ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหา
ปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้าน
การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ (X6) และการ
สนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง(X5) ซึ่งปัจจัยทั้ง 2
ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของ
ความสามารถในการรับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชดำริ เขต
ประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 23.6 จึงนำค่า
สัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในรูป
คะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 1.632+.288 X6 +.214 X5
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานครในรูป
คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .341X6 +.326X5
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชดำ ริ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 3
ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่
ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้านการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ(X6) สัมพันธภาพระหว่าง
นักเรียนกับครู(X7) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ(X2) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยนี้
สามารถร่วมกันอธิบาย ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ
52.60 จึงนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการ
ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในรูป
คะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = .115 +.502 X6 +.323 X7 +.192 X2
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 6 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานครในรูป
คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .402 X 6+.349 X7+.193 X2
ต่อความสามารถในการรับรู้วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ
ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชดำ ริ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ ปัจจัย
ด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ อายุ ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ และนิสัยทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ การ
สนับสนุนการสนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง และ ฐานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัว ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
กายภาพ ชีวภาพ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และ
สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนช่วง
ชั้นที่ 4 ยกเว้นแผนวิทย์-คณิตปีการศึกษา 2549 โรงเรียนราช
ดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้นจำนวน 250 คน
เป็นนักเรียนชาย 111 คน และนักเรียนหญิง 139 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่
ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
ชีวภาพของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การ
วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple
Regression Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชดำ ริ เขต ประเวศ
กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 มี 2
ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัย
ที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเรียนของ
ผู้ปกครอง(X5) และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู( X7)
ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน
ของความสามารถในการรับรู้วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ
ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชดำริ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 22 จึงนำค่า
สัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในรูป
คะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 1.756 + .300 X5+ .159 X7
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานครในรูป
คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .400 X5 + .189 X7
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการ
รับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ราชดำ ริ เขตประเวศกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี
2 ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหา
ปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้าน
การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ (X6) และการ
สนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง(X5) ซึ่งปัจจัยทั้ง 2
ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของ
ความสามารถในการรับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชดำริ เขต
ประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 23.6 จึงนำค่า
สัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในรูป
คะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 1.632+.288 X6 +.214 X5
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานครในรูป
คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .341X6 +.326X5
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชดำ ริ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 3
ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่
ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้านการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ(X6) สัมพันธภาพระหว่าง
นักเรียนกับครู(X7) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ(X2) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยนี้
สามารถร่วมกันอธิบาย ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ
52.60 จึงนำค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์มาเขียนสมการ
ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในรูป
คะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = .115 +.502 X6 +.323 X7 +.192 X2
สมการพยากรณ์ความสามารถในการรับรู้วิชา
วิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 6 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานครในรูป
คะแนนมาตรฐาน ได้แก่
Z = .402 X 6+.349 X7+.193 X2
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
สนโต อ., กรีทอง ร., & จุลรัตน์ อ. ด. (2009). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(3). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/469
Section
บทความวิจัย (Research Articles)