นวัตกรรมและความปลอดภัยของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล INNOVATIONS AND THE SCHOOL SAFETY OF DIGITAL AGE

Main Article Content

เตชินท์พัฒน์ โชติวัชรธนานนท์
เฉลิมพล มีชัย
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

Abstract

การสร้างนวัตกรรมบนฐานภูมิปัญญาและการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กร โดยความหมายของนวัตกรรม มี 7 ประการ ได้แก่ 1) สิ่งใหม่ 2) ความคิดใหม่ 3) กระบวนการใหม่ ๆ 4) สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ 5) ยังไม่เคยมีมาก่อน 6) มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และ 7) มีการพัฒนาต่อยอดการนำนวัตกรรมมาใช้กับความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ ครู และนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการนำนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างมาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษา ให้ได้รับการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานสากล โดยใช้การบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษาตามรูปแบบของ ICBA MODEL เพื่อกำหนดเป็นนโยบายด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือการค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ (Identity) การควบคุมสาเหตุทางวัตถุ (Control) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Behavior) และการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย (Activity) ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีทักษะชีวิตในการดำรงชีพอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วทุกที่ทุกเวลาในยุคดิจิทัล 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โชติวัชรธนานนท์ เ. ., มีชัย เ., & พัฒนกุลชัย ว. . (2024). นวัตกรรมและความปลอดภัยของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล: INNOVATIONS AND THE SCHOOL SAFETY OF DIGITAL AGE. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 272–287. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16266
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญยาภรณ์ กิ่งไทร. (2564). การศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กิตติมา สาธุวงษ์. (2564). พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2564 : ความตระหนักและแนวทาง การดำเนินงานของสถานศึกษา. วารสารแพทย์นาวี. วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือกรุงเทพมหานคร.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็น ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์. (2562). นวัตกรรมการศึกษา. สืบค้น 20 กันยายน 2567,จาก https://bit.ly/374guxv.

ถนอมพร ตันพิพัฒน์ เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสาม ดีไซน์.

ธัญญาภรณ์ นาจำปา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนชัย ศิริญาณ. (2560). รูปแบบที่ส่งเสิรมให้เกิดองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัย ของสถานศึกษาฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552. กรุงเทพ ฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยสถานศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค จำกัด.

สุกัญญา แช่มช่อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม.พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

สุชีรา ใจหวัง. (2561). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไอริน โรจน์รักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การ นวัตกรรมกับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม : กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2 (2), 46 - 60.

Diamond, Jared. (1997). Guns, Germs and Steel: The Fates of Human Societies. Brockman,Inc.

Kitamuru Yuto. (2014). The possibility of holistic safety education in Japan: From the perspective of Education for Sustainable Development (ESD). International Association of Traffic and Safety Science.

Schumpeter, J. A. (1942). Capitalism, Socialism and Democracy: New York: Haper & Brothers publishers, 1942. 2nd ed.

Smith, D. (2006). Exploring innovation. London: McGraw-Hill, c2006., 2nd ed.

Schilling, M.A. (2008). Strategic Management of Technological Innovation. 2nd ed. NY: McGraw-Hill Education.

Sonayia, S. (2012). Safe topics: School safety training. The Electronic Journal of Safe Havens International.

Yuduo, Lu and et al. (2011). “Implications of I Ching on Innovation Management.” Chinese Management Studies, 5: 394 - 402.