การเตรียมส่งบทความเพื่อตีพิมพ์

              เตรียมบทความวิจัยหรือบทความวิชาการของท่าน ดำเนินการกรอกรายละเอียดของบทความลงใน Template บทความให้ถูกประเภท จากนั้น ส่งเข้าระบบ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/submissions (ดำเนินการลงทะเบียน (Register) ก่อนใช้งานระบบ หากท่านเป็นผู้ใช้ระบบรายใหม่ หรือ ลงชื่อเข้าใช้ (Log In) หากท่านมีบัญชีอยู่แล้ว ) พร้อมทั้งส่งบทความไฟล์ต้นฉบับ นามสกุล .pdf  และ .doc และแบบฟอร์มสมัครขอส่งบทความตีพิมพ์ทาง E-mail : journal.edswu@gmail.com 

ใบสมัครและแบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง ท่านสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและแบบฟอร์ม ดังนี้
           1) JEd-01 แบบฟอร์มใบสมัครขอนำส่งบทความวิจัย
           2) JEd-02-R Template บทความวิจัย
           3) JEd-02-A Template บทความวิชาการ

* ปล.ขณะนี้ กองบรรณาธิการวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ ขอปิดรับบทความชั่วคราว เนื่องด้วยวารสารมีบทความที่ส่งเข้าร่วมตีพิมพ์ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้ว โดยการตีพิมพ์บทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2568) จะมีการเปลี่ยนแปลง Template รูปแบบการเตรียมบทความ ใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ Template ใหม่ หากเปิดรับบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะนำ Template อัปโหลดลงระบบใหม่อีกครั้ง ขอขอบคุณ 

กระบวนการพิจารณาบทความ

กรุณาอ่านคำชี้แจงและรายละเลียดการเตรียมส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ดังนี้

หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์  ศรีนครินทรวิโรฒ

วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์  ศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับบทความจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  บทความที่เสนอมาเพื่อตีพิมพ์อาจเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ จัดพิมพ์ปีการศึกษาละ 2 ฉบับ คือ มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม ผู้สนใจสามารถส่งบทความต้นฉบับได้โดยตรงที่บรรณาธิการวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ ตามที่อยู่ในฉบับ

 

นโยบายวารสาร

นโยบายและวัตถุประสงค์การจัดพิมพ์วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทั้งในลักษณะที่เป็นบทความวิชาการและบทความวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นสาระความรู้ใหม่จากการทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย การสรุปอภิปราย และหรือการนำไปใช้เพื่อความน่าเชื่อถือและประโยชน์เชิงวิชาการในศาสตร์ของศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยที่บทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเสนอ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอาจถูกดัดแปลงแก้ไขรูปแบบและสำนวนตามที่เห็นสมควร ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต่อไป ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์

 

ข้อตกลงเบื้องต้นในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์

     1. ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ใดมาก่อน ทั้งนี้ บทความที่ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติ สามารถนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ได้หากมีการปรับปรุงเพิ่มเติมบทความให้มีความสมบูรณ์
     2. ผู้เขียนต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเพื่อป้องกันการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น ก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ผ่านเว็บไซต์ http://www.akarawisut.com/โดยแนบผลการตรวจสอบที่ได้มาพร้อมกับบทความที่ต้องการตีพิมพ์
     3. บทความเขียนด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และหลักการใช้ภาษา รวมถึงมีการตรวจพิสูจน์อักษรมาแล้วเป็นอย่างดี ด้วยกระดาษขนาด A4 อักษร Cordia New ขนาด 16 pt. ความยาวของต้นฉบับรวมทั้งตาราง แผนภูมิ และเอกสารอ้างอิง ไม่ควรเกิน 15 หน้า ส่งบทความในลักษณะของไฟล์ PDF ทางที่อยู่ที่กำหนด พร้อมแนบแบบฟอร์มการขอส่งบทความตีพิมพ์ 
     4. ผู้เขียนบทความจะต้องดำเนินการปรับแก้ไขบทความตามผลการประเมินของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเคร่งครัด พร้อมส่งต้นฉบับสุดท้ายในลักษณะของไฟล์เวิร์ด (DOC)
     5. กองบรรณาธิการจะออกใบรับรองการตีพิมพ์เมื่อบทความผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเท่านั้น
     6. ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์จำนวน 3,500 บาท /บทความ กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่ากรณีใดๆ
     7. หากผู้เขียนบทความไม่ปฏิบัติตามระเบียบการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการสามารถแจ้งยกเลิกการตีพิมพ์บทความ และจะไม่ได้รับเงินค่าธรรมเนียมคืน
     8. กองบรรณาธิการขอใช้สิทธิในการนำบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์เผยแพร่ลงเว็บไซต์

 

รูปแบบการเขียน

ก) บทความวิชาการ มีส่วนประกอบทั่วไปดังนี้
     1. ชื่อเรื่อง :กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
     2. ชื่อผู้เขียนบทความ :ระบุชื่อ นามสกุล พร้อมระบุหน่วยงานที่สังกัด
         ชื่อที่ปรึกษา (ถ้ามี) : ระบุชื่อ นามสกุล พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ(ถ้ามี) และหน่วยงานที่สังกัด
     3. บทคัดย่อ :ระบุความสำคัญ วัตถุประสงค์ ประเด็นและแนวคิด และบทสรุป โดยย่อไม่เกิน 300 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
     4. คำสำคัญ : 2 – 3 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
     5. บทนำ :กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของประเด็นและแนวคิดที่จะนำเสนอกระชับ ชัดเจน
     6. เนื้อหา :นำเสนอประเด็นและแนวคิดหลักโดยมีรายละเอียดสนับสนุนถูกต้องสมบูรณ์ มีความเชื่อมโยงและการจัดเรียงลำดับเนื้อหา แสดงถึงแนวคิด ทัศนะ หรือข้อค้นพบของผู้เขียนอย่างชัดเจน
     7. บทสรุป :กระชับ ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่ชัดเจน
     8. References (บรรณานุกรม): การอ้างอิงส่วนท้ายเล่มโดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในบทความ จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) 6 th edition

ข) บทความวิจัย มีส่วนประกอบทั่วไปดังนี้
     1. ชื่อเรื่อง :กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
     2. ชื่อผู้เขียนบทความ :ระบุชื่อ นามสกุล พร้อมระบุหน่วยงานที่สังกัด
         ชื่อที่ปรึกษา (ถ้ามี) : ระบุชื่อ นามสกุล พร้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ(ถ้ามี) และหน่วยงานที่สังกัด
     3. บทคัดย่อ :ระบุความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย และบทสรุปโดยย่อไม่เกิน 300 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
     4. คำสำคัญ : 2 – 3 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
     5. บทนำ :กล่าวถึงความสำคัญ ที่มา รวมถึงการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     6. วัตถุประสงค์การวิจัย :สอดคล้องกับชื่อเรื่อง
     7. กรอบความคิดในการวิจัย (ถ้ามี)
     8. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
     9. วิธีดำเนินการวิจัย
          -  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย/กรณีศึกษา (ระบุรายละเอียดของการได้มาและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย/กรณีศึกษา)
          -  ตัวแปรที่ศึกษา
          -  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
          -  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ระบุวิธีการตรวจสอบและระบุคุณภาพของข้อมูล)
          -  การวิเคราะห์ข้อมูล
     10. ผลการวิจัย :เสนอตามวัตถุประสงค์ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลหรือผลการวิจัยได้ทั้งในลักษณะการเขียนบรรยาย และหรือตารางประกอบ (มีคำอธิบายประกอบตาราง)
     11. อภิปรายผล :อภิปรายข้อค้นพบที่เกิดจากผลการวิจัย หรือกระบวนการวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับการทบทวนวรรณกรรม วัตถุประสงค์หรือความสำคัญของการวิจัย
     12. ข้อเสนอแนะ :ข้อเสนอแนะในการผลการวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
     13. References (บรรณานุกรม): การอ้างอิงส่วนท้ายเล่มโดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในบทความ จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) 6 th edition

โปรดศึกษารายละเอียดการเขียนอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) 6 th edition ได้ที่ https://lib.swu.ac.th/th/images/guides/bibliography.pdf

 

การติดต่อวารสาร

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ  เขตวัฒนา  กรุงเทพฯ 10110
โทร. (02) 649-5000 ต่อ 11123
E-mail. journal.edswu@gmail.com