วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu <p>วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ 2565</p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ en-US วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2774-0188 กองบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15560 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ Copyright (c) 2023 2023-08-05 2023-08-05 24 1 สารบัญ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15561 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ Copyright (c) 2023 2023-08-05 2023-08-05 24 1 กระบวนการพิจารณาบทความ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15562 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ Copyright (c) 2023 2023-08-05 2023-08-05 24 1 คู่มือสำหรับผู้เขียนบทความวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15563 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ Copyright (c) 2023 2023-08-05 2023-08-05 24 1 TIKTOK กับผู้เรียนประถมศึกษา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15163 <p>TikTok เป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมทั่วโลกในหมู่คนรุ่นใหม่รวมถึงนักเรียนประถมศึกษา ซึ่งมีจุดเด่นในการสร้างคลิปวิดีโอสั้น มีเนื้อหาที่หลากหลาย และกลายเป็นช่องทางในการสร้างพื้นที่สื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ มีการนำ TikTok มาใช้ในหลากหลายแง่มุมในปัจจุบัน รวมไปถึงในแง่ของการศึกษา อีกทั้งผู้เรียนในปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงเจนเนอเรชันเเอลฟ่า (Generation Alpha) มีรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปคือจะเรียนรู้จากเรื่องที่ตนเองสนใจและตอบสนองต่อได้ดีผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามหากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน อาจเกิดผลเสียต่อผู้เรียนประถมศึกษาได้ เช่น (1) ผลเสียต่อสุขภาพจิตของผู้เรียน (2) ความเข้าใจที่ถูกต้อง (3) ผลเสียต่อร่างกาย (4) ผลเสียต่อด้านสมาธิในการเรียนรู้ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียนประถมศึกษาทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครอง จึงควรช่วยกันดูแลผู้เรียนประถมศึกษาให้มีการใช้ TikTok รวมไปถึงโซเชียลมีเดียอื่น ๆ อย่างเหมาะสมตามวัยของผู้เรียน</p> อิทธิกร บุนนาค นวพร อัจฉริยะเกียรติ ภาวิณี โสธายะเพ็ชร กีรติ คุวสานนท์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-17 2023-07-17 24 1 126 138 แนวคิดการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีกับการบูรณาการวิชาต่างๆ โดยใช้เพลงภูเก็ตเป็นฐาน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15260 <p>การศึกษาในปัจจุบัน เป็นการศึกษาที่เน้นการผสมผสานความรู้ เนื้อหาสาระต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการที่สัมพันธ์กัน ในบทความที่นำเสนอนี้ “ต้นทาง”ของเนื้อหา เริ่มต้นจาก “เพลง” แล้วเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้สาระเนื้อหาในศาสตร์อื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งในลักษณะบูรณาการแบบองค์รวม (Holistic)</p> <p>แนวคิดกระบวนการในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับเพลงภูเก็ตนั้น ได้วางเป้าหมายต้องการให้ผู้ศึกษาได้นำสาระความรู้ในวิชาหรือศาสตร์ต่างๆที่ปรากฏในเพลงเชื่อมโยงกันภายใต้เรื่องเดียวกัน และใช้บทเพลงเป็นตัวกำหนดหัวข้อและเนื้อหาต่างๆ ทั้งนี้เริ่มต้นจาก 1. เลือกบทเพลงที่สนใจในการศึกษา 2. ศึกษาวิเคราะห์ตามศาสตร์ของดนตรี 3. ศึกษาวิเคราะห์ตามศาสตร์และความรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับมาตรการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาระการเรียนรู้นั้น ๆ 4. วิเคราะห์เนื้อหา เพื่อกำหนดกิจกรรม เช่นการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชา เป็นการกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษาและปฏิบัติ และการประเมินผล</p> ประโมทย์ พ่อค้า Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-17 2023-07-17 24 1 139 162 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรมศึกษา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15154 <p>จากความตระหนักในความสำคัญของหลักสูตรทางด้านอุตสาหกรรมศึกษา ที่จะมีบทบาทต่อสังคมและประเทศชาติในอนาคตนั้น สถาบันการผลิตครูที่จัดการเรียนการสอนทางด้านอุตสาหกรรมศึกษาจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบุคลากรให้มีสมรรถนะทางอุตสาหกรรมศึกษา และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น กระบวนการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นการให้ความรู้ กรอบคิดหลัก และทักษะที่สำคัญอันหลากหลาย พร้อมทั้งการบูรณาการข้ามศาสตร์ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ และการฝึกปฏิบัติทั้งในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ เพื่อนำผู้เรียนซึ่งอยู่ในช่วงของการได้รับการพัฒนาความสามารถในระดับสูงไปสู่ความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็นครูมืออาชีพและเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีพลังของประเทศชาติต่อไปในอนาคต</p> โอภาส สุขหวาน ชมพูนุท สุขหวาน Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-17 2023-07-17 24 1 163 173 ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15174 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 88 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา โดยการเลือกแบบวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (<em>M)</em> ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>Modified</sub>) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม ในภาพรวม คือ 0.545 (PNI<sub>Modified</sub> = 0.545) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI<sub>Modified</sub>= 0.550) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI<sub>Modified</sub> = 0.545) และด้านการวัดประเมินผลมีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNI<sub>Modified</sub> = 0.542) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม พบว่า การเข้าใจความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของผู้อื่น มีความต้องการจำเป็นสูงสุดทั้ง 3 ด้านของการบริหารวิชาการ</p> ทิพย์สุดา คฤห์ดี ธีรภัทร กุโลภาส Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 1 14 การเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15100 <p>การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการใช้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัย เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐานและ 2) ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน กับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 18 - 22 ปี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 16 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการเผชิญอุปสรรค 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคหลังการทดลอง สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาความเป็นจริงเป็นฐานสามารถเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาได้</p> อัมรินทร์ แก้วมณี ณัฐวุฒิ อรินทร์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 15 30 การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15155 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model และศึกษาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลงานวิจัย คืออาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูพี่เลี้ยง และผู้บริหารโรงเรียน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ได้มาจากการใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) พบว่า 1) ด้านบริบทหลักสูตร (C) พบว่าด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องตามความมุ่งหมายทางการศึกษา และความต้องการของสังคมปัจจุบัน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ควรเพิ่มสมรรถนะที่สามารถนำไปปฏิบัติกับความต้องการของสังคม 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (I) ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านคุณสมบัติผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอาจารย์ และด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.55, 4.48 และ 4.34 ตามลำดับ 3) ด้านกระบวนการ (P) ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยประเด็นด้านกระบวนการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.45 4.37 และ 4.27 ตามลำดับ 4) ด้านผลกระทบ (I) พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านประสิทธิผล (E) ด้านความยั่งยืน (S) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T) ครูพี่เลี้ยงมีความเห็นว่าอยู่ในระดับมากที่สุด นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และผู้บริหารโรงเรียน/หัวหน้าสายชั้นระดับอนุบาล มีความเห็นว่าอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรประกอบด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่ทันสมัยและเป็นสากลสอดคล้องกับบริบทของโลกและการเปลี่ยนแปลง การกำหนดรายวิชาที่เน้นสมรรถนะที่นำไปปฏิบัติได้จริง การปรับปรุงหน่วยกิตรายวิชาให้มีจำนวนเหมาะสม</p> พรรษา ตระกูลบางคล้า นัยทิพย์ ธีรภัค วิมลัก สรรคพงษ์ จุฬารัตน์ รุณจักร ญาณิกา สกุลกลจักร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 31 48 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15200 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 2) การดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในสถานศึกษาและระดับการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และ 4)สร้างสมการพยากรณ์ของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 183 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99และการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .72 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เรียงตามลำดับได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ </p> <p> y = 0.557Z<sub>x1</sub>+0.511<sub>x6</sub></p> สุธีรา บุญพรวงศ์ อรรณพ จีนะวัฒน์ จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 49 74 ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ และทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/14856 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของทักษะการคิดแก้ปัญหา ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ <br />1) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจในสาระเศรษฐศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .65 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ .33-.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .23-.65 2) แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาในสาระเศรษฐศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .69 และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีพัฒนาการของคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้น ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยภาพรวม และรายด้านสูงขึ้นตามลำดับ ระยะเวลาการวัดผลทั้ง 8 ครั้ง</p> ชยพร พันทอง กานต์รวี บุษยานนท์ กิตติศักดิ์ ลักษณา Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 75 89 การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยหลัก 7R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15098 <p>การศึกษาการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วยหลัก 7R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความตระหนักต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และด้านความพึงพอใจต่อการ์ตูนแอนิเมชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 80 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้วิธีการจับฉลากแผนการเรียนละ 1 ห้อง มี 4 แผนการเรียน คือ วิทย์ – คณิต, ศิลป์ – คำนวณ , ศิลป์ – ภาษา , ศิลป์ – ทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วยหลัก 7R , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , แบบวัดความตระหนักต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยหลัก 7R และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วยหลัก 7R สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test for dependent samples ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วยหลัก 7R ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.91 / 81.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความตระหนักต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วยหลัก 7R หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนด้วยหลัก 7R พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการ์ตูนแอนิเมชันอยู่ในระดับดี</p> พรทิพย์ วันสม Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 90 109 การเสริมสร้างความเข้าใจของนักเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย ชุดการทดลองเคมีย่อส่วน เรื่อง ปฏิกิริยาการฟอกจางสีย้อม https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15265 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความเข้าใจ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยกิจกรรมการทดลองเรื่อง ปฏิกิริยาการฟอกจางสีผสมอาหารโดยใช้ชุดการทดลองเคมีย่อส่วนร่วมกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนติดตามการเปลี่ยนแปลงสีของสารละลาย กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 45 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การออกแบบการทดลองใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลัง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยชุดการทดลองเคมีย่อส่วน แบบทดสอบวัดความเข้าใจเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ชุดการทดลองเคมีย่อส่วน ตามระดับของลิเคิร์ท การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนร้อยละ 60.00 มีพัฒนาการความเข้าใจในเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีระดับกลาง และนักเรียนร้อยละ 28.89 มีพัฒนาการความเข้าใจในระดับสูง นักเรียนมีระดับพัฒนาการความเข้าใจที่สูงขึ้นอย่างมากในเรื่องปัจจัยการเกิดปฏิกิริยาเคมีหลังทำการทดลองด้วยชุดทดลอง จากแบบสอบถามนักเรียนมีความพึงพอใจอย่างมากในการใช้ชุดทดลองเคมีย่อส่วน (ค่าเฉลี่ย 4.71 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และเห็นว่ากิจกรรมการทดลองเรื่องปฏิกิริยาการฟอกจางสีผสมอาหารช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยา และปัจจัยการเกิดปฏิกิริยาเคมี (ค่าเฉลี่ย 4.62 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53)</p> <p> </p> บัญชา ก้อนทรัพย์ เอมอร ศักดิ์แสงวิจิตร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 2023-07-16 2023-07-16 24 1 110 125