https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/issue/feed
วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
2024-09-23T10:01:28+00:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี เชื้อชัย
sumaleech@g.swu.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทั้งในลักษณะที่เป็นบทความวิชาการ และบทความวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นสาระความรู้ใหม่จากการทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัยผลการวิจัย การสรุปอภิปราย และหรือการนำไปใช้เพื่อความน่าเชื่อถือและประโยชน์เชิงวิชาการ ในศาสตร์ของศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่วารสาร</strong> ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ </strong>เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และอยู่ใน <strong>วารสารกลุ่มที่ 2</strong> (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567)<br /><br /><strong>กองบรรณาธิการวารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ</strong> มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ จำนวน 3,500 บาท / บทความ </p> <p>การพิจารณาบทความ จะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน / บทความ </p>
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16074
การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างด้วยการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น
2024-04-23T11:10:41+00:00
อรอุมา ทำบุญ
64920658@go.buu.ac.th
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
journal.edswu@gmail.com
เพ็ญนภา กุลนภาดล
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้การปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้าง โดยประชากรในการวิจัยคือพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2566 จำนวน 4,248 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมวิจัยจำนวน 20 คน แล้วใช้วิธีจับคู่ (matched pair) เพื่อจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความความยืดหยุ่นทางจิตใจที่พัฒนามาจากแนวคิดความยืดหยุ่นทางจิตใจของ Grotberg (1995) และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งประกอบด้วยการปรึกษา 8 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษา กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการวัดความยืดหยุ่นทางจิตใจ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบคู่โดยใช้วิธี Bonferroni ผลการวิจัยพบว่าพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างที่ได้รับการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นในกลุ่มทดลองมีคะแนนความยืดหยุ่นทางจิตใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในกลุ่มทดลองมีความยืดหยุ่นทางจิตใจในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นสามารถเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างได้</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16179
การเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกิจกรรมแนะแนว
2024-06-17T07:32:46+00:00
จิดาพัฒน์ เลิศอริยกฤตย์
mayjidapat@gmail.com
สกล วรเจริญศรี
journal.edswu@gmail.com
ครรชิต แสนอุบล
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และ (3) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และนักเรียนกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .98 และกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วยเทคนิคเชิงสร้างสรรค์ บทบาทสมมติ การใช้สถานการณ์จำลอง เกม และเทคนิคตัวแบบ โดยผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวมีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16117
ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
2024-05-26T04:33:07+00:00
กติญา บุญสวน
katii.b@pcru.ac.th
<p>งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ และศึกษาแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยกลุ่มที่ศึกษา คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 34 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 คือผลกระทบที่ต่อเนื่องมาจากช่วงการเรียนแบบออนไลน์ ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากการเรียนรู้แบบออนไลน์ส่งผลให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ทางเดียว จึงทำให้ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น นักศึกษาไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือตั้งคำถามในเรื่องที่กำลังเรียนอยู่ รวมถึงขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และเพื่อนในชั้นเรียนไปอีกด้วย ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ทั้งระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง หรือนักศึกษากับผู้สอนให้มากที่สุด เพราะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ การทำงานเป็นทีมคือสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16130
กิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ กับทักษะสมองอีเอฟของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น
2024-05-28T03:44:13+00:00
ศรัณยา หนูใหญ่ศิริ
6380163927@student.chula.ac.th
ชาริณี ตรีวรัญญู
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะสมองอีเอฟ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการกำกับตนเองในกิจกรรมนาฏศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการคัดเลือกข้อมูลที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของทักษะสมองอีเอฟของนักเรียนในแต่ละทักษะจากแบบบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน ผลวิจัยปรากฏว่า 1) ชุดกิจกรรมนาฏศิลป์ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะสมองอีเอฟ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 5 กิจกรรมหลัก ซึ่งมี 10 กิจกรรมย่อย ที่เป็นการจัดกิจกรรมนาฏศิลป์ที่ผสมผสานกับหลักของการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ 4 ด้าน คือ (1) ด้านร่างกาย (2) ด้านพื้นที่ (3) ด้านแรงกาย และ (4) ด้านความสัมพันธ์ โดยกิจกรรมมีการลำดับกิจกรรมตามลักษณะการเคลื่อนไหวจากการเคลื่อนไหวเพียงบางส่วนของร่างกาย หรือที่มีความซับซ้อนน้อย ไปสู่กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายในหลายส่วน ทั้งหมด หรือซับซ้อนขึ้น 2) หลังการใช้ชุดกิจกรรม ปรากฏว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีทักษะสมองอีเอฟ กลุ่มทักษะกำกับตนเองสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามทักษะ พบว่า ทุกทักษะมีคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16308
การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2024-07-12T11:27:09+00:00
แสงเพชร คูณประเสริฐ
sengphet.kec@gmail.com
บุญรัตน์ แผลงศร
journal.edswu@gmail.com
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม ก่อนและหลัง ได้รับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน 3) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู หลังได้รับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครู หลังการใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เทศบาลแขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 30 คน ตัวแปรที่ศึกษาคือ 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสาน 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครู และความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ด้านความรู้ และความเข้าใจ ด้านสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรม ด้านวิทยากร และด้านรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐานมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2) คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์หลังการอบรม สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หลังได้รับการอบรม สูงกว่าร้อยละ 70 และ 4) ความพึงพอใจของครู หลังการใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการปฏิบัติเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M </em>= 4.76)</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16121
การศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู ในสังคมยุคหลังสมัยใหม่ (ดิจิทัล)
2024-05-26T05:06:35+00:00
ภาราดา สังข์ทอง
sangthongva@gmail.com
สมยงค์ สีขาว
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการสร้างความร่วมมือ ปัญหาและอุปสรรคของร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู 2) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู 3) ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูของนักศึกษาวิชาชีพครูในการเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู ผู้บริหารองค์กรผลิตครู อาจารย์ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คน และนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความคิดเห็น 2) แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) แบบประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอน 4) แบบบันทักการสะท้อนคิดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงปริมาณ ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1พบว่า ความต้องการสร้างความร่วมมือ ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนบุคลากรในการปฏิบัติงานร่วมกัน 2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม 3) การร่วมมือพัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูร่วมกัน 4) การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาและการพัฒนาผลงานทางวิชาการ โดยมีรูปแบบความร่วมมือที่สำคัญ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) เครือข่ายทางวิชาการ 2) ความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ 3) รูปแบบเชิงปฏิบัติการ 4) ความร่วมมือแบบพันธะสัญญา ด้านปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือระหว่างองค์กร ได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 2) ลักษณะวิถีชีวิตของบุคคลในการปฏิบัติงาน 3) การตระหนักในคุณค่าของเวลาแตกต่างกัน 4) ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และ 5) มีวิสัยทัศน์และนโยบายการสร้างความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 นวัตกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาของนักศึกษาชีพครู นวัตกรรมในลักษณะกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า <strong>“SPIRITUALITY’s TEACHER”</strong> ซึ่งขั้นตอน การจัดกิจกรรมตามลักษณะของนวัตกรรมมุ่นเน้นให้ฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิด ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ 2) ขั้นตอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิด ความรู้สึก 3) ขั้นตอน การประเมินประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ 4) ขั้นตอนการวิเคราะห์กรอบความคิด ความรัก ความศรัทธาในวิชาชีพครู 5) ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู 6) ขั้นตอนการสรุปผลและแบ่งปันการเรียนรู้ 7) ขั้นตอนบูรณาการความรู้สู่ชีวิตประจำวัน 8) ขั้นตอนประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน มีผลการประเมินในเกณฑ์ดีที่สุด ในภาพร่วมอยู่ระหว่างคะแนน 4.60–4.88 ส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีผลลัพธ์การเรียนรู้ และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.005)</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16245
รูปแบบผู้นำการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่บูรณาการกับศักยภาพเชิงพื้นที่ภายใต้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2024-07-23T06:45:37+00:00
ศิลป์ชัย สุวรรณมณี
journal.edswu@gmail.com
สุนทรี วรรณไพเราะ
suntaree@tsu.ac.th
ชัชวาล ชุมรักษา
journal.edswu@gmail.com
จินตนา กสินันท์
journal.edswu@gmail.com
สิงหา ประสิทธิ์พงศ์
journal.edswu@gmail.com
ขรรค์ชัย แซ่แต้
journal.edswu@gmail.com
วรินธร เบญจศรี
journal.edswu@gmail.com
ธนิยา เยาดำ
journal.edswu@gmail.com
เมธี ดิสวัสดิ์
journal.edswu@gmail.com
วิไลพิน แก้วเพ็ง
journal.edswu@gmail.com
จงกลวรรณ พิสิฐพันพร
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดแบบและพัฒนา 2) ขยายผล และ 3) ประเมินการขยายผล รูปแบบผู้นำการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่บูรณาการกับศักยภาพเชิงพื้นที่ ภายใต้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยใช้ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านคาโต อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานีเป็นต้นแบบ และมีสถานศึกษาเครือข่ายเป็นเป้าหมายในการขยายผลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบผู้นำการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่บูรณาการกับศักยภาพเชิงพื้นที่ ภายใต้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ I<sup>7</sup> ประกอบด้วย (1) Idealized Influence (2) Inspirational Motivation (3) Intellectual Stimulation (4) Individualized Consideration (5) Identity Awareness (6) Integrated Operation และ (7) Innovative Developer 2) การขยายผลไปสู่สถานศึกษาเครือข่าย พบว่า มีผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ 44 คน และได้นวัตกรรมเบื้องต้น 10 นวัตกรรม และ 3) หลังการขยายผลพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่าย ใน 4 โรงเรียนสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษา จำนวน 4 นวัตกรรม</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16260
การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน
2024-07-12T06:12:47+00:00
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
drsiriwankief@pkru.ac.th
ธนพร บริบูรณ์
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเข้าร่วมวิจัย และ 2) เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 47 คน ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และอนุทินการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ร่วมกับการวิเคราพชะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยแสดงการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเทื่อเข้าร่วมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนมีแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร จัดได้ 3 กลุ่ม ที่มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน โดยอยู่ในกลุ่มความเข้าใจมโนมติในระดับที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (Partial Understanding with Specific Alternative Conception: PS) ร้อยละ 2.77 ความเข้าในมโนมติในระดับที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (Partial Understanding: PU) ร้อยละ 10.53 และความเข้าใจมโนมติในระดับที่สมบูรณ์ (Complete Understanding: CU) ร้อยละ 86.17 โดยนักเรียนสามารถระบุความหมายอย่างสมบูรณ์และการให้เหตุผลถูกต้องครบถ้วน ครบองค์ประกอบที่สำคัญของแต่ละแนวคิดมากขึ้น ระหว่างการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนมีการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสูงสุดในกิจกรรมที่ 6 เรื่อง การผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ของสาร มีคะแนนเฉลี่ย 4.67 อีกทั้งผลวิจัยแสดงถึงการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05สอดคล้องกับระดับความสามารถของนักเรียนที่เชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเลือกใช้ตัวแทนของแนวคิดเป็นแบบจำลองเพื่อให้การนำเสนอแนวคิดได้ชัดเจนขึ้น</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16145
ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโตที่มีต่อ พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
2024-06-18T06:45:58+00:00
สุวิจักขณ์ พลเดช
suwijak.phondet@gmail.com
รุ่งระวี สมะวรรธนะ
rungrawee1113@gmail.com
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
aimutchaw@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และคะแนนการเคารพหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive selection) สุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก (Simple random sampling) เป็นนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโต จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปกติจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโต จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.87 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพ จำนวน 2 ฉบับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.94 และ 1 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยง 0.86 และ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพ กลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16139
แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
2024-06-17T07:07:09+00:00
จิรารัตน์ วงศ์โยธา
jirarat.w@kkumail.com
บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.857 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติค่าความถี่ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระดับสภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นในการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่าย(PNI<sub>Modified</sub>= 0.281) ลำดับที่ 2 ได้แก่ ด้านการประเมิ นผลและการปรับปรุงงาน(PNI<sub>Modified</sub> =0.276) และลำดับที่ 3 ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย(PNI<sub>IModified</sub> = 0.267) ผลการศึกษาแนวการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ พบว่าประกอบไปด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของเครือข่าย โดยการสร้างวิสัยทัศน์ของเครือข่ายร่วมกัน มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและส่งเสริมให้เครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและการส่งต่อเด็กที่มารับบริการไปยังโรงเรียนเรียนรวม หรือโรงเรียนเฉพาะความพิการ และการติดตามความก้าวหน้าและการบริหารทรัพยากรร่วมกัน 2) ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย ได้แก่ การพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านเทคนิคการสอน และนวัตกรรมใหม่ในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบนิเทศภายใน การส่งเสริมให้ครูเก่งให้พัฒนาเพื่อนครูด้านการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมและประสบการณ์ความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการแบบองค์รวม 3) ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ได้แก่ การเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เครือข่ายร่วมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานและปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนเป็นรายกรณี (Case Conference) อย่างเป็นกัลยาณมิตรและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 4) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสาร ได้แก่ การพัฒนาร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านความรู้ ทักษะที่จำเป็นเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้ครู การระดมทุน การส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดเก็บสารสนเทศของเด็กพิการ และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจและการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษา 5) ด้านการประเมินผลและการปรับปรุงงาน ได้แก่ การร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายส่งเสริมระบบนิเทศภายใน การนิเทศ ติดตาม การประเมินผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16242
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
2024-07-02T03:41:47+00:00
วิศิษฏ์ มาแย้ม
s63561802033@ssru.ac.th
ธดา สิทธิ์ธาดา
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จํานวน 59 แห่ง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูล สถานศึกษาละ 3 คนประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และ 3) ครูสายงานการสอนรวมทั้งสิ้น จำนวน 177 คน และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เพื่อกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษาอย่างเหมาะสมตามจุดเด่นของสถานศึกษา 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดสรรทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในปฏิบัติงาน 3) ด้านการคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร และพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา 4) ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารมีการตั้งเป้าหมายขององค์กรและมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนที่สามารถถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติงานสู่บุคลากรได้ และ 5) ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงนวัตกรรม ผู้บริหารสร้างค่านิยมในองค์กรที่มีอัตลักษณ์ขององค์กรชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวของบุคลากร</p>
2024-09-23T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16235
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
2024-07-12T11:37:23+00:00
เอมอร ปันทะสืบ
journal.edswu@gmail.com
พศิน หงษ์ใส
phasin.hon@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 จำนวน 8 คน ที่เรียนในรายวิชานิทานและวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบวัดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษา มีค่าคะแนนของแบบวัดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบเท่ากับ 2.41 และ 3.63 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 0.67 และ 0.70 ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนจากแบบวัดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและผลคะแนนมีการเกาะกลุ่มกันมากขึ้น</p>
2024-10-03T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16160
การเสริมสร้างสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษาด้วยรูปแบบการปรึกษาเชิงผสานเทคนิควิธี
2024-06-27T11:28:12+00:00
สุทธิมาศ อภิรักษ์วณิชย์
sutimas2521@gmail.com
เพ็ญนภา กุลนภาดล
journal.edswu@gmail.com
ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
journal.edswu@gmail.com
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการให้การปรึกษาของครูที่ปรึกษา 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วย โปรแกรมการปรึกษากลุ่ม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษาด้วยการปรึกษาเชิงผสานเทคนิควิธี และบทเรียนออนไลน์ เรื่อง สมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา และระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา โดยใช้แบบวัดสมรรถนะการปรึกษาทั้งในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 10 คน ซึ่งมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนสมรรถนะการปรึกษาตั้งแต่ระดับปานกลางลงมา สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำแบบทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการให้การปรึกษาของครูที่ปรึกษา เป็นการผสมผสานเทคนิคการให้การปรึกษา ซึ่งเป็นการบูรณาการทางเทคนิคของทฤษฎีการให้การปรึกษา ประกอบด้วย การฟังอย่างตั้งใจและการรับรู้ การยอมรับ การเข้าใจ การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นจริงใจ การปรับความคิด การมอบหมายการบ้าน การพูดในใจ สํารวจตัวเอง การจินตนาการ และการปรับความคิดมีขั้นตอนการปรึกษา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติ ซึ่งประกอบด้วยการให้การปรึกษาทั้งหมด 10 ครั้ง ระยะเวลา ครั้งละ 60-90 นาที โดยครั้งที่ 1-2, 5, 8-10 เป็นการปรึกษากลุ่มแบบพบหน้า โดยครั้งที่ 3 และ 6 เป็นการปรึกษากลุ่มแบบพบหน้าและมีการศึกษาบทเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง ครั้งที่ 4 และ 7 เป็นการปรึกษากลุ่มแบบพบหน้าและมีการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองร่วมด้วย ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเองและสอบถามความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้แบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา 2. ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการให้การปรึกษาของครูที่ปรึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา มีสมรรถนะการปรึกษาของครูที่ปรึกษา ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา มีสมรรถนะการปรึกษาของครูที่ปรึกษา หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างค่าเฉลี่ย .231 สมรรถนะการปรึกษาของครูที่ปรึกษาติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างค่าเฉลี่ย .213 ส่วนในระยะหลังการทดลองและติดตามผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-10-29T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ