การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน The Development of Fifth Grade Students’ Scientific Concepts of Substance Change through Problem-based Learning and Model-based Learning

Main Article Content

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
ธนพร บริบูรณ์

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเข้าร่วมวิจัย และ 2) เพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 47 คน ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และอนุทินการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ร่วมกับการวิเคราพชะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยแสดงการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเทื่อเข้าร่วมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนมีแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร จัดได้ 3 กลุ่ม ที่มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน โดยอยู่ในกลุ่มความเข้าใจมโนมติในระดับที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (Partial Understanding with Specific Alternative Conception: PS) ร้อยละ 2.77 ความเข้าในมโนมติในระดับที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (Partial Understanding: PU) ร้อยละ 10.53 และความเข้าใจมโนมติในระดับที่สมบูรณ์ (Complete Understanding: CU) ร้อยละ 86.17 โดยนักเรียนสามารถระบุความหมายอย่างสมบูรณ์และการให้เหตุผลถูกต้องครบถ้วน ครบองค์ประกอบที่สำคัญของแต่ละแนวคิดมากขึ้น  ระหว่างการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนมีการพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสูงสุดในกิจกรรมที่ 6 เรื่อง การผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ของสาร มีคะแนนเฉลี่ย 4.67 อีกทั้งผลวิจัยแสดงถึงการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05สอดคล้องกับระดับความสามารถของนักเรียนที่เชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเลือกใช้ตัวแทนของแนวคิดเป็นแบบจำลองเพื่อให้การนำเสนอแนวคิดได้ชัดเจนขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฉัตรมณีรุ่งเจริญ ศ. ., & บริบูรณ์ ธ. (2024). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน: The Development of Fifth Grade Students’ Scientific Concepts of Substance Change through Problem-based Learning and Model-based Learning. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 123–139. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16260
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ณัฐมน สุชัยรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

เนตรนพิธ คำอ่อนสา. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนชีววิทยาและการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(1), 34-44.

โพธิศักดิ์ โพธิเสน. (2558). การพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

วิชนีย์ ทศศะ. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำยากภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้เกมกับการใช้แบบฝึก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สิทธิศักดิ์ พสุมาตร์. (2558). การใช้การเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย เพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องพันธะโคเวเลนต์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

Akaygun, S. (2016). Is the oxygen atom static or dynamic? The effect of generating animations on students’ mental models of atomic structure. Chemistry Education Research and Practice, 17(May), 788-807.

Clement, J. (2007). Visual influence on in-store buying decisions: An eye-track experiment on the visual influence of packaging. Business Systems Research: International Journal of the Society for Advancing Innovation and Research in Economy, 11(3), 1–13.

Coll, R. K., & Eames, C. (2006). Sociocultural views of learning: A useful way of looking at learning in cooperative education. Journal of Cooperative Education and Internships, 40, 1-12.

Corrigan, D., Mansfield, J., Ellerton, P., & Smith, T. (2022). Principles of Problem-Based Learning (PBL) in STEM Education: Using Expert Wisdom and Research to Frame Educational Practice. Education Sciences, 12(10), 728.

Gobert, J. D., O’Dwyer, L., Horwitz, P., Buckley, B. C., Levy, S. T., & Wilensky, U. (2011). Examining the relationship between students’ understanding of the nature of models and conceptual learning in biology, physics, and chemistry. International Journal of Science Education, 33(5), 653-684.