การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านเชิงรุกและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ศักดิ์ดา เปลี่ยนเดชา
กิตติชัย สุธาสิโนบล
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (one group pretest – posttest design) มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุก2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุก ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1การสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุก (Research: R1) จากเอกสารงานวิจัยและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและการหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุก (Development: D1) จากการประเมินความสอดคล้อง (IOC) และการประเมินความเหมาะสมด้วยแบบประเมินมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับจากผู้เชี่ยวชาญ และการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ขั้นตอนที่ 3 การใช้และการหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุก (Research: R2) จากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ รวม 18 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาและการขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุก (Development: D2) โดยขยายผลให้ผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงรุก เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.83 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เป็นแบบเขียนตอบ จำนวน 3 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.76 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การหาประสิทธิภาพรูปแบบใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และการหาประสิทธิผลรูปแบบโดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการเรียนใช้ค่าสถิติทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-testdependent) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงรุกและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจและท้าทายความสามารถในการอ่าน 2) ขั้นกำหนดเป้าหมายและวางแผนการอ่าน 3) ขั้นการฝึกปฏิบัติการอ่านอย่างมีส่วนร่วม 4) ขั้นสะท้อนผลและการประเมินการอ่าน 5) ขั้นสร้างสรรค์ความรู้จากการอ่านสู่การเขียนและการนำไปใช้ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้ ความสามารถในการอ่านเชิงรุก 83.83/89.17 และ ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 80.08/80.50 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงรุกและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านเชิงรุกและคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้/ การอ่านเชิงรุก /การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ABSTRACT The purpose of this research aimed to create an instruction model to (1) enhance the active reading abilities and creative writing abilities of secondary student; (2) to study the effectiveness of the instructional model to enhance the active reading abilities and creative writing abilities of secondary school students. The sample was comprised of secondary students. The research instrumentsemployed in this study included the following: (1) an instruction model of active reading; (2) a checklist on inclusive students; and (3) a guidebook for teachers. The data were statistically analyzed using Frequency Distribution, Percentage, Mean (x̅) and Standard Deviation (S.D)t-test dependent, content analysis. The findings of this study were as follows: A model of instruction to enhance the active reading abilities and creative writing abilities of secondary school students with an IOC of 1.00; a learning model and guidebook for teachers for the inclusive active reading abilities and creative writing abilities, with a significant difference of 0.01; a validity of the guidebook for teachers with an IOC of 1.00 and a specific learning model for inclusive students and their active reading and creative writing improvements. As a result of the effectiveness of the research instrument led to the implementation of a model to enhance secondary school students through the active reading process, according to the first hypothesis of the study was rate at a good level. The effectiveness of model to enhance active reading abilities and creative writing abilities among secondary students were as follows. The abilities of secondary school students regarding the implementation of a model to enhance active reading ability and creative writing ability were rated at higher level. The model appropriateness obtained from the application of model to enhance the active reading abilities and finally, the creative writing abilities of secondary school students was rated at a good level. Keywords : Instruction model / Active reading / Creative writing

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เปลี่ยนเดชา ศ., สุธาสิโนบล ก., สุเสารัจ ป., & เกษมเนตร ล. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านเชิงรุกและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10387
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)