การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนววิถีพุทธ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครนายก

Main Article Content

กิตติชัย สุธาสิโนบล

Abstract

วิทยาศาสตร์ช่วยมนุษย์เข้าใจธรรมชาติและตนเองทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาวิธีคิด และนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตมากมาย ปัจจุบันวิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และได้ถูกบรรจุให้มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับ อุดมศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอที่จะนำวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างมีคุณภาพ สามารถวินิจฉัย และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ในสภาพปัจจุบันพบว่า การจัดการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์ มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย ซึ่งได้แก่ การมอง และคิดแบบแยกส่วน เพราะวิทยาศาสตร์เน้นที่การวัดได้แม่นยำ และไปเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือรูปธรรม โดยทิ้งนามธรรมไปเลยประดุจว่าไม่มี แต่ในความเป็นจริงธรรมชาติมีทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เชื่อมโยงกันอยู่ ซึ่งนามธรรม เป็นเรื่องของจิตใจ คุณค่าหรือจิตวิญญาณ มีอยู่จริงแต่วัดไม่ได้แม่นยำ เมื่อวัดไม่ได้แม่นยำ โลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นโลกทัศน์ที่เอียงหรือบกพร่อง คือ ขาดมิติทางนามธรรม ดังนั้น อารยธรรมใหม่ ที่มีฐานอยู่ในวิทยาศาสตร์ จึงเป็น อารยธรรมวัตถุนิยม ขาดความเข้าใจในมิติ ทางจิตวิญญาณ แต่เนื่องจากมิติทางจิตวิญญาณ เป็นเรื่องที่ขาดมิได้ในความเป็นมนุษย์โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ที่แยกส่วนแม้จะดลบันดาลความก้าวหน้าทางวัตถุต่างๆ ก็นำไปสู่วิกฤตการณ์การมองไม่ครบ หรือทัศนะแบบแยกส่วน จะนำไปสู่การเสียสมดุล และวิกฤตเสมอ (ประเวศ, 2546: 17) นอกจากนี้ ปัญหาทางด้านสังคมซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าศีลธรรมได้เสื่อมถอยลง เห็นได้จากข่าวอาชญากรรมตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีให้พบเห็นกันอยู่ทุกวันเป็นผล สืบเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศตามแบบอย่างตะวันตก ทำให้ผู้คนละทิ้งความคิด และคุณธรรม จึงส่งผลให้คุณธรรมทางด้านจิตใจลดต่ำลงเกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย (พระธรรมปิฎก, 2545: 124)  นอกจากนี้ จากการศึกษารายงานการวิจัยและเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์ (วิชัย, 2542: 2; รุ่ง, 2543: 35-37) สรุปได้ว่าครูผู้สอนจำนวนมากยังใช้วิธีการสอนแบบยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย มุ่งเน้นสอนเนื้อหาส่งเสริมการท่องจำมากกว่ามุ่งให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ หรือสืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนคิดไม่เป็น ขาดความเข้าใจในการเรียนรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่วนการประเมินผลการเรียน พบว่ายังพิจารณาจากผลการสอบเท่านั้นไม่ได้พิจารณาจากหลักฐานผลการเรียนรู้ทั้งหมดที่ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ในขณะที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากมาย และความรู้ที่แยกส่วนเฉพาะด้านเกิดใหม่ตลอดเวลา อันมีผลจากการวิจัยและทดลอง ทำให้ผู้เรียน ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สุธาสิโนบล ก. (2009). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนววิถีพุทธ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครนายก. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/831
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)