กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

Authors

  • Supasiri Posiri Faculty of Management Science, Phetchaburi Rajabhat University
  • Watchara Wetprasit Faculty of Management Science, Phetchaburi Rajabhat University

Keywords:

กลยุทธ์ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ

Abstract

การศึกษาเรื่องกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และการดำเนินงานของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย คณะกรรมการสมาคมส่งเสริมธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ นักวิชาการ และผู้ประกอบการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 400 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ   ทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ด้านสภาพปัญหา อุปสรรค และการดำเนินงานของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ผู้ประกอบการไม่ใช่ผู้ที่มาจากสายการทำงานด้านการดูแลผู้สูงอายุโดยตรง บุคลากรในธุรกิจดูแลผู้สูงอายุมีอัตราการเข้าออกงานสูง บุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุมีจำนวนไม่เพียงพอหรือขาดแคลน ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีการกำกับดูแลโดยเฉพาะ บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุมีอัตราค่าจ้างสูง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า ได้องค์ประกอบทั้งหมด 10 องค์ประกอบ รวม 41 ตัวแปรซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.505 – 0.910 ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1) กลยุทธ์ความได้เปรียบทางด้านต้นทุน 2) กลยุทธ์ด้านคุณภาพการให้บริการ 3) กลยุทธ์ด้านการตลาด 4) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจ 5) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง 6) กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด 7) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์  8) กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ 9) กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม และ10) กลยุทธ์ด้านสถานที่  และเมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าดัชนีวัดความสอดคล้องดังนี้ CMIN/ DF = 1.632, Root Mean Square Residual (RMR) = 0.020, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.992, Normal Fit Index (NFI) = 0.984, Comparative Fit Index (CFI) = 0.991 และ Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.026

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

27-02-2022

How to Cite

Posiri, S., & Wetprasit, W. (2022). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 12(2), 20–37. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/14270