ความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเกษตรกรน้อย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย (วัดหวายกรอง) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากนั้นสุ่มเลือกเด็ก จำนวน 15 คน โดยวิธีการจับฉลาก ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อย และแบบทดสอบกำหนดสถานการณ์ความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One – group Pretest – Posttest Designสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อยความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 44.20) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความสัมพันธ์ของความยาวและระยะทาง ( = 14.73) ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ( =15.07) และ ความสัมพันธ์ของทิศทาง ( = 14.40) อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมและรายด้าน มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : พหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์, การจัดกิจกรรมเกษตรกรน้อย, เด็กปฐมวัย
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
พลสมบัติ ป., & ภิญโญอนันตพงษ์ ส. (2015). ความสามารถทางพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเกษตรกรน้อย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6654
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)