ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการทำ งานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

มนัสวี วัชรวิศิษฏ์
รศ.เวธนี กรีทอง
ดร. พาสนา จุลรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึกสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ อายุ บุคลิกภาพ สุขภาพจิต ลักษณะมุ่งอนาคตและความศรัทธาต่อวิชาชีพครู ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวและสัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับสมาชิกในครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพในที่ทำงาน สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับเพื่อนร่วมงานและสัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 298 คน เป็นข้าราชการครูชาย 128 คน และข้าราชการครูหญิง 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึกสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า
1.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 11 ปัจจัย ได้แก่ เพศ : หญิง (X2) อายุ (X3) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว (X4)บุคลิกภาพ (X5) ลักษณะมุ่งอนาคต (X7) ความศรัทธาต่อวิชาชีพครู (X8) สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับสมาชิกในครอบครัว (X9) ลักษณะทางกายภาพในที่ทำงาน (X10) สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับผู้บังคับบัญชา(X11) สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับเพื่อนร่วมงาน (X12)
และ สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับนักเรียน (X13)
2.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 2 ปัจจัย ได้แก่ เพศ : ชาย (X1) และสุขภาพจิต (X6)
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 6 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปยังปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับนักเรียน (X13) ความศรัทธาต่อวิชาชีพครู (X8) สุขภาพจิต (X6) อายุ (X3) สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการครูกับเพื่อนร่วมงาน (X12) และลักษณะมุ่งอนาคต (X7) และปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย ร่วมกันพยากรณ์การปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 58.10
4. สมการพยากรณ์การปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้ 4.1 สมการพยากรณ์การปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอนอำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Ŷ = -.002 + .404 X13 + .187 X8 - . 168 X6+ .113 X3 + . 007 X 12 +.005 X7
4.2 สมการพยากรณ์การปรับตัวในการทำงานของข้าราชการครูสายผู้สอนอำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = .388 X13+ . 176 X8 - . 169 X6 + .131 X3 + . 128 X 12 + . 112 X7

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วัชรวิศิษฏ์ ม., กรีทอง ร., & จุลรัตน์ ด. พ. (2009). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการทำ งานของข้าราชการครูสายผู้สอน อำเภอสตึก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/557
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)