องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.องค์ประกอบที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ คณะ รายได้ของนักศึกษา บุคลิกภาพ ลักษณะมุ่งอนาคต และการใช้เวลาว่าง องค์ประกอบด้านครอบครัว ได้แก่อาชีพของผู้ปกครอง ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง และ การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียนของนักศึกษา และองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเลียนแบบอาจารย์ และ
การเลียนแบบเพื่อนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 472 คน เป็นนักศึกษาชาย จำนวน 174 คน และนักศึกษาหญิง จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า
1. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ เพศหญิง และองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาชีพ:ผู้ปกครองพนักงานบริษัทเอกชน บุคลิกภาพ และลักษณะมุ่งอนาคต
2. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการวางแผนด้านการเงิน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ เพศชาย และองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รายได้ของนักศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง การใช้เวลาว่างการเลียนแบบอาจารย์ และการเลียนแบบเพื่อน
3. องค์ประกอบที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มี 6องค์ประกอบ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ อาชีพ: ผู้ปกครองรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาชีพ:ผู้ปกครองค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียนของนักศึกษา
4. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดไปหาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต การเลียนแบบอาจารย์ ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง และการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียนของนักศึกษา ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 41.80
5. สมการพยากรณ์การวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ 5.1 สมการพยากรณ์การวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 2.488 + .374 X14 - .072 X17 - 5.514X12 - .071X16
5.2 สมการพยากรณ์การวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = .514 X14 - .178 X17 - .133X12 - .093X16
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.องค์ประกอบที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ คณะ รายได้ของนักศึกษา บุคลิกภาพ ลักษณะมุ่งอนาคต และการใช้เวลาว่าง องค์ประกอบด้านครอบครัว ได้แก่อาชีพของผู้ปกครอง ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง และ การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียนของนักศึกษา และองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเลียนแบบอาจารย์ และ
การเลียนแบบเพื่อนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 472 คน เป็นนักศึกษาชาย จำนวน 174 คน และนักศึกษาหญิง จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า
1. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ เพศหญิง และองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาชีพ:ผู้ปกครองพนักงานบริษัทเอกชน บุคลิกภาพ และลักษณะมุ่งอนาคต
2. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการวางแผนด้านการเงิน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ เพศชาย และองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รายได้ของนักศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง การใช้เวลาว่างการเลียนแบบอาจารย์ และการเลียนแบบเพื่อน
3. องค์ประกอบที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มี 6องค์ประกอบ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ อาชีพ: ผู้ปกครองรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาชีพ:ผู้ปกครองค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียนของนักศึกษา
4. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดไปหาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต การเลียนแบบอาจารย์ ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง และการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียนของนักศึกษา ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 41.80
5. สมการพยากรณ์การวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ 5.1 สมการพยากรณ์การวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่
Ŷ = 2.488 + .374 X14 - .072 X17 - 5.514X12 - .071X16
5.2 สมการพยากรณ์การวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = .514 X14 - .178 X17 - .133X12 - .093X16
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
จันทร์แช่มช้อย ส., กรีทอง ร., & แสนคำเครือ ผ. พ. (2009). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนด้านการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/559
Section
บทความวิจัย (Research Articles)