ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครปัจจัยที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านส่วนตัว ได้แก่สถานภาพ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา บุคลิกภาพ นิสัยทางการเรียนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียนปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ การสนับสนุนการเรียนของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพทางการเรียน สัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับอาจารย์ และสัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับเพื่อนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นพระนิสิตคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2549 จำนวน 342 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษา พบว่า1.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 7 ปัจจัย ได้แก่บุคลิกภาพ(X8) นิสัยทางการเรียน(X9) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน(X10) ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน(X11) ลักษณะกายภาพทางการเรียน(X13) สัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับอาจารย์(X14) และสัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับเพื่อน (X15)2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 1 ปัจจัย ได้แก่ การสนับสนุนทางเรียนของผู้ปกครอง(X12)3. ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มี 7 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพ : พระภิกษุ(X1) สถานภาพ : สามเณร(X2) อายุ(X3) ชั้นปีที่ศึกษา : ชั้นปีที่ 1(X4) ชั้นปีที่ศึกษา : ชั้นปีที่2(X5) ชั้นปีที่ศึกษา : ชั้นปีที่ 3(X6) และชั้นปีที่ศึกษา : ชั้นปีที่ 4(X7)4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน(X11) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน(X10) นิสัยทางการเรียน(X9) สัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับอาจารย์(X14) และการสนับสนุนการเรียนของผู้ปกครอง(X12) ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 53.905. สมการพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 5.1 สมการพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนของพระนิสิต คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Ŷ = .644 + .635 X11 - .304 X10 + .284X9+ .201X14- .100 X12Ŷ = .644(ค่าคงที่ของการพยากรณ์) +.635X11 (ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน) -.304 X10(แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์) +.284X9 (นิสัยทางการเรียน) +.201X14(สัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับอาจารย์) - .100 X12(การสนับสนุนการเรียนของผู้ปกครอง) 5.2 สมการพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนของพระนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = .590X11 - .292 X10 + .226X9+ .215X14- .149 X12Z = .590X11(ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน) - .292 X10 (แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์) +.226X9(นิสัยทางการเรียน) +.215X14(สัมพันธภาพระหว่างพระนิสิตกับอาจารย์) -.149X12 (การสนับสนุนการเรียนของผู้ปกครอง)
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ใหมอ่อน พ., แสนคำเครือ ผ. พ., & กรีทอง ร. (2009). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของพระนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/555
Section
บทความวิจัย (Research Articles)