การวิจัยประเมินผลการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบ ต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี PERFORMANCE EVALUATION RESEARCH OF SUCCESS AND IMPACT FACTORS ON EDUACTIONAL MANAGEMENT OF ASSUMPTION THONBURI SCHOOL

Main Article Content

รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
สุวิชา วันสุดล
ชนันภรณ์ อารีกุล
วิไลลักษณ์ ลังกา
อรอุมา เจริญสุข
ศุภวรรณ สัจจพิบูล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยที่ส่งเสริม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อของกลุ่มผู้ปกครอง และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ประกอบด้วย ตัวแทนคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองและศิษย์เก่า เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและสถิติอ้างอิงใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งเสริม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ได้แก่ ความหลากหลายและทันสมัยของหลักสูตร การมีแผนการเรียน STEM ที่เป็นรูปธรรม การผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ การจัดรายวิชาและกิจกรรมเสริมศักยภาพผู้เรียน ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การสรรหาผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง และการขาดความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรของนักเรียนใหม่ 2) ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และการดำเนินงานตามแผน การบริหารงาน แบบกระจายอำนาจและใช้ข้อมูลเป็นฐาน การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการ ความยึดมั่นผูกพันต่อสถานศึกษาของบุคลากรและการวางระบบความปลอดภัยในโรงเรียน ส่วนผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ได้แก่ อัตราการเข้าเรียน การคงอยู่ของนักเรียน และการจัดสวัสดิการและค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับภาระงานของบุคลากร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อของกลุ่มผู้ปกครอง ได้แก่ ชื่อเสียงของโรงเรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่สะดวกและปลอดภัย การออกแบบหลักสูตร แผนการเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน หลากหลาย ตอบสนองความสนใจของนักเรียน การรับรู้ประสบการณ์จากเพื่อน และความผูกพันระหว่างเพื่อน ครูและสถานศึกษา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ศึกษาต่อ ได้แก่ ความต้องการหรือค่านิยมของผู้ปกครอง อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและความต้องการลองประสบการณ์ใหม่ของนักเรียน และ 4) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ประกอบด้วยมิติ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนานักเรียน ด้านการพัฒนาครู ด้านสื่อ อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการประชาสัมพันธ์

Downloads

Article Details

How to Cite
แย้มรุ่ง ร. ., วันสุดล ส., อารีกุล ช. ., ลังกา ว. ., เจริญสุข อ. ., & สัจจพิบูล ศ. (2024). การวิจัยประเมินผลการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จและผลกระทบ ต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี: PERFORMANCE EVALUATION RESEARCH OF SUCCESS AND IMPACT FACTORS ON EDUACTIONAL MANAGEMENT OF ASSUMPTION THONBURI SCHOOL. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 49–68. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15627
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นาทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก. อัดสำเนา.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559, ตุลาคม-ธันวาคม). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4): 334-348.

ณัฐวัชร จันทโรธรณ (2565, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 9(1): 336-347.

นิธิดา พระยาลอ. (2558, มกราคม-เมษายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.). 3(1): 38-39.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การอุดมศึกษา). ปทุมธานี: มหาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อัดสำเนา.

เมธาวี คำภูลา และวันทนา อมตาริยกุล. (2564, กุมภาพันธ์). แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(2): 355-367.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: นามีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง. (2563). การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร. ปทุมธานี: Online

โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี. (2563). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร: Online

โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี. (2564). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพมหานคร: Online

ลชนา ชมตระกูล. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

เหม หมัดอาหวา และคณะ. (23 มิถุนายน 2559). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาเอกชนระดับอนุบาลเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Dale Ernest. (1968). Management: Theory and Practice. New York: McGraw-Hill Book Company,

Drucker, Peter F. (1998). Management: Tasks & Responsibilities. Practices.

Simon, Herbert A. (1965). Administrative Behaviour. New York: The McMillen Company.

Most read articles by the same author(s)