อนาคตภาพของการผลิตครูวิทยาศาสตร์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560-2569)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพของการผลิตครูวิทยาศาสตร์ในทศวรรษหน้า(พ.ศ. 2560-2569)ขั้นตอนดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1)การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวกับการผลิตครูวิทยาศาสตร์ และการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตครูวิทยาศาสตร์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 472 คน และ 2) การศึกษาอนาคตภาพของการผลิตครูวิทยาศาสตร์ ใช้วิธีวิจัยแบบอีดีเอฟอาร์ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 27 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างเป็นแบบสอบถาม นำแบบสอบถามไปสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 รอบ เพื่อหาฉันทามติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ของกลุ่มพิจารณาหาแนวโน้มที่เป็นปัจจัยในการผลิตครูวิทยาศาสตร์ กระบวนการผลิตครูวิทยาศาสตร์ ผลการผลิตครูวิทยาศาสตร์ การประเมินและติดตามผลการผลิตครูวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปได้มากที่สุด นำมาสรุปและเขียนเป็นภาพอนาคตของการผลิตครูวิทยาศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า1) ปัจจัยในการผลิตครูวิทยาศาสตร์ควรมีหน่วยงานร่วมผลิตมีมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะควรผลิตเป็นทั้งระบบปิดและระบบเปิด ควรมีการให้ทุนการศึกษา การประกันการมีงานโดยผู้เข้าศึกษาต้องจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 มีความต้องการเป็นครูและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครูผ่านการวัดระดับความรู้ ความถนัดทางวิชาชีพครู ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านการทดสอบทางจิตวิทยา การใช้ภาษา บุคลิกภาพมีคะแนนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) กระบวนการผลิตครูวิทยาศาสตร์ควรมีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานการผลิต สถาบันการผลิตและผู้ใช้บัณฑิตมีหลักสูตรแกนกลางที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและเป็นหลักสูตรเพื่ออนาคตโดยโครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย 3 หมวดวิชา คือ หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะด้าน และหมวดวิชาเลือกเสรี ควรมีกระบวนการในการหล่อหลอมจิตวิญญาณความเป็นครู ส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการฝึกปฏิบัติควรจัดทดสอบวัดคุณสมบัติด้านวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และจัดประเมินสมรรถนะ3)ผลการผลิตครูวิทยาศาสตร์ การผลิตครูวิทยาศาสตร์ในอนาคตควรตั้งเป้าหมายการผลิตอย่างชัดเจน โดยมีคุณลักษณะสำคัญของบัณฑิต ดังนี้ พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาตนเองตลอดเวลา ทันสมัยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีความรู้ดี มีความสามารถ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความเป็นครู รักในวิชาชีพครู มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีสมรรถนะเป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร และ 4)การประเมินและติดตามผลการผลิตครูวิทยาศาสตร์ควรมีการประเมินและติดตามผลการปฏิบัติงานและสมรรถนะของบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งในการจัดการเรียนรู้การประเมินและติดตามผลควรเป็นความรับผิดชอบของเครือข่ายสถาบันการผลิตร่วมมือกับองค์กรทางการศึกษา คำสำคัญ : อนาคตภาพ, การผลิตครูวิทยาศาสตร์,ทศวรรษหน้า ABSTRACT The objective of this research was to study future scenarios for science teacher production over the next decade, from (B.E.2017 to 2026). The two steps of research process were as follows: 1) a study of the basic information of research on the production of science teachers by document analysis and asking four hundred and seventy two people involved in the production of science teachers; 2) to study future scenarios of science teacher production, using the EDFR technique. The interviews were conducted by twenty seven experts and the data was analyzed and synthesized as a questionnaire before being taken from questionnaires to two qualified experts for a consensus on trends in factors in the production of science teachers, the science teachers production process, the science teacher production results, evaluation and follow-up of the most likely science from of teacher production. The data were analyzed by percentage, median and interquartile ranges and were summarized as follows: 1) Factors in the production of science teachers should be a co-produced unit and specialized universities that produce science teachers in both open and closed systems, should have a scholarship, be guaranteed employment. The applicants must have completed a high school education in science with a GPA of at least 3.00 and there is a need for teachers and developing a good attitude towards teachers. They have to pass the measurement of knowledge, teacher proficiency, scientific skills, psychological and language testing. 2) The science teacher production process should be knowledge that links production agencies, institutes that produce and graduate users, a core curriculum which is in line with basic education core curriculum and suitable for a future course, such as government agencies and institutes that produce science teachers. Mentor development and the structure of the curriculum is divided into three categories: general education, special topics and free choice. There should be a process of molding the spirit as a teacher, to promote good attitudes towards the profession of science teachers, scientific processing skills and practice and it should be a test of the qualification of teachers in science and English aptitude. 3) The results of future production of science teachers should be explicitly detail the main features of the graduates as follows; constant self development modern know-how change, good knowledge, good scientific processing skills, the morale of teachers, love for the teacher profession and morality and ethics. 4) Continuous evaluation and follow-up on performances and aptitude. This should create science teacher network, with strength in learning management and should be the co-responsibility of the production network in educational organizations which establish the criteria. Keywords : The scenario, Pre-service science teacher education, The next decade.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
วันสุดล ส., แย้มรุ่ง ร., & ด่านสิริสุข ว. (2017). อนาคตภาพของการผลิตครูวิทยาศาสตร์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560-2569). วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9859
Section
บทความวิจัย (Research Articles)