ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดบริการและกิจกรรมของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี

Main Article Content

กฤษณา อยู่พวง
เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง
ศุมรรษตรา แสนวา

Abstract

บทคัดย่อ                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อ
การจัดบริการและกิจกรรมของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ใช้บริการของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกจากผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างประกอบด้วยข้อคำถามที่พัฒนาจากแนวปฏิบัติเกี่ยวกับบริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ (Guidelines for library and information service to older adults) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการบริการและกิจกรรมของห้องสมุด แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ (1) ด้านบริการห้องสมุด ได้แก่ บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป หนังสือนิยาย หนังสือพิมพ์ นิตยสารและสื่อโสตทัศน์ และมีเนื้อหาด้าน สุขภาพ ธรรมะ ประวัติศาสตร์ วัตถุโบราณและพระเครื่อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี งานประดิษฐ์ วรรณคดีและภาษา บริการยืม-คืน บริการช่วยค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ
บริการรายการหนังสือใหม่ บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ บริการเครื่องคอมพิวเตอร์
บริการอินเทอร์เน็ตและบริการแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น บริการฉายภาพยนตร์ บริการข้อมูลข่าวสารของ ห้องสมุดผ่านช่องทางจดหมาย ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือโดยการส่งข้อความขนาดสั้น เว็บไซต์  ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ สื่อสังคมออนไลน์ และประกาศเสียงตามสาย บริการถ่ายเอกสาร บริการกระดาษจดบันทึกเพื่อใช้ในการจดหรือคัดลอกสารสนเทศที่มีขนาดสั้น บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของห้องสมุด ได้แก่ ที่นั่งอ่าน ห้องน้ำ ป้ายแสดงเนื้อหา/หมวดหมู่หนังสือและป้ายบอกทาง คอมพิวเตอร์ช่วยค้นหรือรายการหนังสือที่ให้บริการ จุดจอดจักรยาน จุดใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน บริการน้ำดื่ม และบริการติดต่อ ประสานงานการจัดกิจกรรมของกรุงเทพมหานคร (2) ด้านกิจกรรมห้องสมุด ได้แก่ การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ เทศกาลหนังสือ นิทรรศการหมุนเวียนในห้องสมุด เช่น นิทรรศการแนะนำหนังสือดีที่น่าสนใจ เป็นต้น กิจกรรมกลุ่มตามความสนใจ ได้แก่ การทำงานฝีมือและงานศิลปะ การช่วยเหลือสังคม การศึกษาดูงาน กิจกรรมเกมเกี่ยวกับสุขภาพ กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมส่งเสริมความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและการใช้อินเทอร์เน็ต สุขภาพ ธรรมะ ภาษา สมุนไพร การแปล เทคนิคการเขียนและการซ่อมหนังสือ ได้แก่ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุต่อห้องสมุด เช่น ด้านการให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดบริการและกิจกรรมของห้องสมุด การเป็นอาสาสมัคหรือจิตอาสา การจ้างผู้สูงอายุเข้ามาทำงานในห้องสมุด และการถ่ายทอดความรู้ของผู้สูงอายุด้วยการเป็นวิทยากรให้กับห้องสมุด เป็นต้น และกิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานในชุมชนเพื่อจัดบริการและกิจกรรมในชุมชนบริเวณใกล้ที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ   Abstract                    This qualitative research was aimed at studying needs of the elderly in Bangkok for library services and activities for their knowledge acquisition, a case study of Suan Lumpini Discovery Learning Library. The sample number was 30, and the instrument used included semi-structured interview containing questions developed from the guidelines for library and information services to older adults. The findings indicate that the needs of the elderly for library’s services and activities could be classified into two categories: (1) Library services – These include service of information comprising general books, novels, newspapers, magazines and audio-visual materials, the contents of which are in health, dharma, history, antiques, Buddha small icons, computer and technology, art and craft, literature and language.
The circulation service includes information resource retrieval, technology and information service, computer, internet, computer use instruction, film projection, library news and information service via mailboxes, electronic mail, and mobile phone by means of short texts, websites, public relation board, brochures, social network, wired radio announcement service, photocopying, notepad for scribbling or copying short information. Library facilities required consist of reading areas, toilets, banners for content / book classifications/ directions, computer for retrieving books or other documents, a bicycle parking lot, personal computer service, activity area, drinking water, and coordination service linking with Bangkok Metropolitan. (2) Library activities – The activities reported to be required include discussion and exchange of opinions, lectures by experts, book festival, circulation of exhibitions within the library such as introduction to good books. Group activities suggested are art and craft training, social assistance, study trip, health-related games, important day activities, knowledge-enhancement activities related to introduction to computer, internet use, health, dharma, language, herbs, translation, writing technique, book repair. Participation of
the elderly include giving suggestion for library’s services and activities, doing volunteer work, hiring
the elderly to work at the library, the elderly knowledge transfer by being a guest expert for the library and cooperating with community organizations to organize services and activities in the community where
the elderly live.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อยู่พวง ก., ไม้เท้าทอง เ., & แสนวา ศ. (2014). ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดบริการและกิจกรรมของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี. บรรณศาสตร์ มศว, 7(1), 24–38. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/4417
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)

<< < 1 2