พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์
ขจร ฝ้ายเทศ
ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์
วัลลภา จันทรดี

Abstract

 The purposes of this research were to study the use behaviors, the application, the attitude and the opinions toward an impacts of an online social media uses; the relationship between personal characteristics and the application and the attitude towards using online social media; and lastly the relationship between attitude and opinion toward the impact of the online social media usage. This survey research used questionnaire to collected data from 410 undergraduate students at Kasetsart University (Bangkean Campus) during October to December 2016. The data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviationand the hypothesis were analyzed using t-test, f-test, One-Way ANOVA, and Pearson Correlation, respectively. The findings revealed that most students had more than seven years of online social media using experience. Most of them used Line, Facebook, and YouTube and none never used LinkedIn. Most respondents accessed online social media via smartphones throughout the whole day, mostly used during 6 pm to 8 pm. The purposes of using online social media were for learning beyond daily life, such as: to communicate in group work, to communicate with friends or lecturers, to download learning materials, and to submit homework. Online social media has also been used for the recreational purpose of watching movies and listening to music. The hypostheses testing revealed thatthe respondents had postivie attiute and opinions toward impact of online social media especially in communication aspect.The respondents with different gender and faculties had no statistical different in the usage for learning mean score but had statistical different in the usage for daily life mean score at the significance level.05.The respondents from different year level had statistical different in the usage for learning but had no statistical different in the usage for daily life at the significance level.05. Furthermore, the respondents with different gender, faculties, and year level had no statistical different and there was statistical relationship between attitude and opinions toward impacts from using online social media at significance level .01.การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ การประยุกต์ใช้ ทัศนคติและความคิดเห็นต่อผลกระทบของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการประยุกต์ใช้และทัศนคติต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับความคิดเห็นต่อผลกระทบของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 410 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test,F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลวิจัยพบว่านิสิตส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า  7 ปี ขึ้นไป ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุดคือ Line,Youtube,Facebook และไม่เคยใช้ LinkedIn  นิสิตส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟนโดยใช้งานทั้งวันและใช้มากที่สุดในช่วงเวลา 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม วัตถุประสงค์การใช้เพื่อการเรียนรู้มากกว่าเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่ เพื่อทำงานกลุ่ม ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน/อาจารย์ ดาว์นโหลดสื่อการสอน และส่งการบ้าน รวมทั้งใช้เพื่อการบันเทิงด้วยการดูหนังและฟังเพลง ทัศนคติและความคิดเห็นต่อผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์เป็นเชิงบวกโดยเฉพาะด้านการสื่อสาร ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าตัวแปรเพศและคณะที่สังกัดต่างกันมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน แต่ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนนิสิตที่เรียนในชั้นปีที่ต่างกันมีการใช้เพื่อการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ตัวแปรเพศ คณะและชั้นปีที่ต่างกันมีทัศนคติต่อสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน ตัวแปรทัศนคติกับความคิดเห็นต่อผลกระทบของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศราวณะวงศ์ จ., ฝ้ายเทศ ข., เงินพูนทรัพย์ ด., & จันทรดี ว. (2018). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บรรณศาสตร์ มศว, 10(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9954
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)