การดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุดกับการกำหนดนโยบายของห้องสมุด กลุ่มสถาบันที่ห้องสมุดสังกัด และงบดำเนินการ รวมถึงแนวปฏิบัติของห้องสมุดในการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 97 คน ที่สุ่มแบบแบ่งชั้นตามกลุ่มสถาบัน และสัมภาษณ์ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 7 คน ที่คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคสแควร์ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ห้องสมุดมีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับน้อยและปานกลาง ระดับละ 27 แห่ง เท่ากัน ห้องสมุดที่มีการดำเนินงานในระดับมาก มีจำนวน 25 แห่ง ระดับมากที่สุดมีจำนวน 13 แห่ง และระดับน้อยที่สุดมีจำนวน 5 แห่ง 2) ระดับการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุดมีความสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบายของห้องสมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ระดับการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุดไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มสถาบันที่ห้องสมุดสังกัดและงบดำเนินการ 3) ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับมากที่สุดยังไม่มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร The objective of this research is to study the environmentally-friendly management of university libraries in Thailand, by studying the relationships between the environmental activities and their respective policies, the organization group where the libraries belong, and the operation budget. The samples used in this study are the 97 managers of university libraries, randomly sampling from different groups of libraries in Thailand. The 7 sample cases are specifically chosen based on a given set of criteria. The research applied a combination of quantitative and quantitative methods, using questionnaires and in-depth interviews. Quantitative analysis applied percentage, mean, and hi-squares, while the qualitative part applied the content analysis method. As a result, the study found: 1) the number of university libraries in Thailand that fall into the range of low level and moderate level of eco-library are 27 each. There are 25 universities rated high eco-library and 13 libraries received the highest eco-library rating. Five university libraries are rated lowest level. 2) The policy of the library has a significant impact, at 0.5 confidence level, on the environmentally-friendly management of the library. The study found no relationship between the operation and the group of library it belongs and the budget. 3) The study found that most of those libraries having the ‘very high’ scores in eco-library do not have written policy about eco-library.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
อุ่นเสนีย์ ม., ไม้เท้าทอง เ., & แสนวา ศ. (2014). การดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. บรรณศาสตร์ มศว, 6(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/4083
Section
Research Articles