การใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้และปัญหาการใช้ห้องสมุดประกอบการสอน รวมทั้งเปรียบเทียบการใช้และปัญหาการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา จำแนกตามตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์การสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 288 คน โดยวิธีการสุ่มแบบโควตาแบ่งชั้น ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า ครูโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าระดับมาก คือ กำหนดให้นักเรียนค้นคว้าความรู้ในห้องสมุดเพื่อทำรายงานตามหัวข้อในรายวิชาที่เรียน การเปรียบเทียบการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนตามตัวแปรกลุ่มสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์การสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ครูที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้แตกต่างกันในภาพรวมมีการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และครูที่มีประสบการณ์ในการสอนแตกต่างกันมีการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนไม่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ครูประสบปัญหาการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนในภาพรวม รายด้าน และรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการเปรียบเทียบปัญหาการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนตามตัวแปรกลุ่มสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์การสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบความแตกต่างในทั้ง 2 ตัวแปร โดยที่ครูที่สอนในกลุ่มสาระฯ ศิลปะ และกลุ่มสาระฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยีประสบปัญหามากกว่าครูที่สอนในกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระฯ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และที่ครูที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 11 ปี ประสบปัญหามากกว่าครูที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 11 ปีThe purposes of this research were to examine the effectiveness of library usages and the effectiveness of library usage the problems that may occur in classrooms by secondary school teachers and to compare their use based on variables, learning areas and teaching experience. The samples were two hundred and eighty eight secondary school teachers under the authority of the Bangkok Metropolitan Administration and were selected by the stratified quota sampling method. The instrument of the research were questionnaire and interview. The statistics used for data analysis were percentage, mean score, standard deviation, t-test and F-test. The findings indicated found that teachers under the Bangkok Metropolitan Administration incorporated library usage in the classroom at a moderate level. Only the sub-facet of making use of library to support doing homework and assignments was rated at high level. The comparison of incorporating the library in to the classroom were related to the variables of learning area and teaching experience. Overall library use by different teachers in different learning areas was statistically significant at a .05 level. And the factor of teachers with different years of teaching experience were found to be statistically insignificant. The problems which occurred in classroom were rated at a moderate level and the comparison of incorporating the library in to the classroom were related to the variables of learning area and teaching experience that found the difference in two variables is that the teacher in learning areas of Art, Occupations and Technology encountered greater problems than that of teachers in learning area of Foreign Languages and Social Studies Religion and Culture. And teachers who have more than eleven years of teaching experience face more problems than teachers with less than eleven years of teaching experience.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
คำหล้า ส., แสนวา ศ., & พันธุ์เมฆา พ. (2018). การใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา. บรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 77–91. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10138
Section
Research Articles