บรรณศาสตร์ มศว https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis วารสารบรรณศาสตร์ มศว en-US dussadee@g.swu.ac.th (Dussadee Siwongkhom) songyot@g.swu.ac.th (ทรงยศ ขันบุตรศรี) Thu, 23 Jan 2020 14:27:20 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12215 <p>วารสารบรรณศาสตร์ มศว มีการเปลี่ยนเลข ISSN สำหรับฉบับพิมพ์ เพื่อเปลี่ยนชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ จากเดิม Warasan Manutsat เป็น Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University ในระบบ e-Service ของหอสมุดแห่งชาติ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทำให้วารสารเป็นสากลและสะดวกในการเผยแพร่วารสารในระดับนานาชาติ นอกจากนี้วารสารได้เน้นการนำเสนอเนื้อหาแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร คือ http://ejournals.swu.ac.th/index/jlis.php มากขึ้นโดยลดจำนวนเล่มของฉบับพิมพ์ลง<span> </span></p><p><span> </span>วารสารบรรณศาสตร์ มศว แรกเริ่มที่จัดทำเพื่อรองรับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่ปัจจุบันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การกระจายขอบเขตของสาขาวิชานี้กว้างขวางขึ้น ดังเช่นการเกิดสาขาวิชาใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ได้แก่ สารสนเทศศึกษา สารสนเทศศาสตร์ การจัดการสารสนเทศ สารสนเทศและการสื่อสาร สารสนเทศและนิเทศศาสตร์ นอกจากนี้การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้แก่ตนเองหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นพันธกิจหนึ่งของสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จึงทำให้มีวิทยาการเกี่ยวกับการรู้ (Literacy) ต่าง ๆ เช่น การรู้สารสนเทศ (Information literacy) การรู้ดิจิทัล (Digital literacy) การรู้สุขภาพ (Health literacy) การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) เป็นต้น รวมทั้งเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคคล ทำให้การประกอบอาชีพของสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่เดิม ได้แก่ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ภัณฑารักษ์ และนักจดหมายเหตุนั้น เกิดมีอาชีพใหม่ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล นักจัดการความรู้ นักจัดการข้อมูล นักสารสนเทศวิทยาศาสตร์ นักสารสนเทศสุขภาพ เป็นต้น</p><p><span> </span>ความก้าวหน้าของสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อวารสารในสาขาวิชานี้ที่ต้องปรับตัวให้รับมือกับวิทยาการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวารสารบรรณศาสตร์ มศว ได้รับความร่วมมือทั้งจากผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการ ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของบทความเป็นอย่างดี ทั้งนี้การตีพิมพ์บทความที่มีคุณค่าจากผู้เขียนทำให้สังคมและผู้เขียนได้รับผลลัพธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ได้รับความรู้ ได้เผยแพร่องค์ความรู้ สร้างผลกระทบต่อสังคม เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพิ่มประวัติผลงานทางวิชาการ ได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง สำเร็จการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ วารสารบรรณศาสตร์ มศว ตระหนักเสมอว่า คือ ความสำเร็จและกำลังใจของผู้จัดทำวารสารอย่างแท้จริง</p> - - Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12215 The Data Librarian’s Handbook https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12224 หนังสือเรื่อง คู่มือบรรณารักษ์ข้อมูล (The data librarian’s handbook) เขียนจากประสบการณ์ของบรรณารักษ์ข้อมูลที่ทำงานด้านนี้มากกว่า 30 ปี คือ Robin Rice บรรณารักษ์ข้อมูลแห่งห้องสมุด EDINA มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก และ John Southall บรรณารักษ์ข้อมูลแห่งห้องสมุด Bodleian มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทั้งสองออกตัวว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเล่มแรก แต่ก็นับว่าเป็นหนังสือจำนวนไม่กี่เล่มที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งตรงกับความสนใจในปัจจุบันที่วิทยาการข้อมูล (Data Science) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เป็นที่สนใจ The Data Librarian’s Handbook เล่มนี้สามารถเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์และการเรียนการสอนในรายวิชา Data Librarianship ของสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เป็นมิติใหม่ของอาชีพบรรณารักษ์ ที่เน้นการทำงานเกี่ยวกับ “ข้อมูล” แทน ”สารสนเทศ” ที่วงการบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานกัน โดยเน้นการจัดการข้อมูลวิจัยสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยของการศึกษาระดับสูง ดังคำกล่าวว่า “future of data librarianship lies with academic libraries” แววตา เตชาทวีวรรณ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12224 การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการในสำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Online Databases Use by Lecturers and Students at the Office of Academic Resources and Information Technology, Surindra Rajabhat ...) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12216 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <ul> <li><strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์</strong></li> </ul> <p><sup>และ</sup>แนวทางการพัฒนาบริการฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 527 คน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์และนักศึกษาส่วนใหญ่สืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากห้องทำงานและสำนักวิทยบริการฯ โดยผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ใช้ในช่วงเวลา 10.01 - 12.00 น. ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ ThaiLIS และต้องการใช้เอกสารฉบับเต็มรูปแบบ PDF นอกจากนี้ยังพบว่าอาจารย์และนักศึกษามีความแตกต่างในการใช้ฐานข้อมูลในด้านความถี่ในการใช้ วัตถุประสงค์การใช้และช่องทางการรับทราบข้อมูลการบริการฐานข้อมูลออนไลน์ ส่วนปัญหาการใช้ฐานข้อมูลของอาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาระบบเครือข่าย และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการฯ นักศึกษาประสบปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่ตรงความต้องการ แนวทางในการพัฒนาบริการฐานข้อมูลออนไลน์ คือ การจัดระบบการบริการห้องสมุด การปรับปรุงดูแลระบบเครือข่ายและสมรรถนะเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p> </p> <p>The research aimed to study current status and difficulties of online databases use and guideline development for online database service at the Office of Academic Resource and Information Technology, Surindra Rajabhat University. The sample group included 527 lecturersand students. This was a quantitative research method. Data were collected through a questionnaire and analyzed for percentage, mean, and standard deviation values. The research results revealed that most lecturers and students searched data from online databases through the university’s network from their offices and Office of Academic Resource and Information Technology,mostly during 10.01 - 12.00 am. The most database used was ThaiLIS and full papers were needed. It was also found that frequency, purpose of database use and channel of information service receiving between lecturers and students were different. Difficulties on data uses of lecturers were found at the moderate level, including network system and computers provided in the Office of Academic Resource and Information Technology. The difficulty found by students, at the high level was that online databases were not relevant to their needs. The development guidelines for online databases service include establishment of library service system, improvement and maintenance of network system as well as capacity of computers provision with more efficiency.</p> ชลิตา คำหอม Copyright (c) 2022 บรรณศาสตร์ มศว https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12216 Tue, 13 Sep 2022 00:00:00 +0000 การพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในศตวรรษที่ 21 (Development of Self-Care Innovation for The Elderly in the 21st Century) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12217 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดกิจกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และเพื่อประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างนวัตกรรม บนฐานแนวคิดของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เป็นแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ส่วนระยะที่ 2 เป็นการประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 79 ปี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมจำนวน 7 กิจกรรม ซึ่งผ่านการหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงพินิจ นอกจากนี้แบบวัดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรม ซึ่งแบบวัดทั้ง 2 ชุด ผ่านการหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมที่เป็นชุดกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต จำนวน 7 กิจกรรมดังกล่าว มีประสิทธิผลทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 มีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองในประเด็นต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ในระดับดี และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก</p><p> </p><p><br /><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p><span> </span>The objective of study was to develop a set of innovative physical and mental self-care activities for the elderly and to assess their effectiveness. It was carried out in two phases. The first phase was creation of innovative activities based on Buddhist principle and psychological theory in cognitive behavioral modification. The second phase was an assessment of effectiveness of those activities. The sample consisted of 32 elderly persons aged between 60 to 79 years. The research instrument was a set of seven innovative activities, all of which had gone through face validity for their quality testing. In addition, the two measures; self-care activity, and satisfaction toward innovative activities, had also reached their quality testing through content validity. The research brought about of innovative physical and mental self-care activities for the elderly, effectively enabling over 80% to take care of themselves in various areas at a good level, and the elderly were very satisfied with them.</p> ประทีป จีนงี่, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, ชูศรี วงศ์รัตนะ, ประณต เค้าฉิม, ยุทธนา ไชยจูกุล, ทัศนา ทองภักดี, พวงรัตน์ เกษรแพทย์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12217 พฤติกรรมการเข้าถึงความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้: กรณีความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย (Users’ Access Behaviors of Intangible Cultural Heritage Knowledge: A Case of Folk Gajasastra Inherited Wisdom of the Kui in Surin Province) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12218 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ในการเข้าถึงความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กรณีความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้ใช้ความรู้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ กลุ่มผู้มีความรู้ ความทรงจำ และประสบการณ์ด้านคชศาสตร์ชาวกูยโดยตรง และกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าและบริการด้านคชศาสตร์ชาวกูย ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบอกต่อ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลและการบรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้ความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูยมีวัตถุประสงค์การใช้ ความถี่ แหล่งความรู้และประเภทของความรู้ที่ใช้แตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ พฤติกรรมการเข้าถึงความรู้ด้านภูมิศาสตร์ชาวกูย ประกอบด้วย การกำหนดความต้องการ การกำหนดระดับเนื้อหา การกำหนดแหล่งความรู้ การสืบค้นความรู้และการนำไปใช้ ส่วนปัญหาการเข้าถึงความรู้ ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งรวบรวมความรู้มีน้อย ไม่หลากหลายและเข้าถึงได้ยาก ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงความรู้ที่เป็นสารสนเทศดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากจุดเข้าถึงที่เจาะจงและมีความหลากหลายตามคุณลักษณะของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้</p><p> </p><p><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p><span> </span>The purpose of this research was to study users’ behavior in accessing intangible cultural heritage knowledge, a case of folk Gajasastra inherited wisdom of the Kui in Surin province, by using qualitative research method, data were collected thrugh using a semi-structuredinterview with 25 key informants which is a group of three knowledge users, including a group of professors, researchers, scholars, knowledge’s owner, memory and experience in a folk Gajasastrainherited wisdom, and products and service providers. Using the snowball sampling method, data analysis and qualitative description. The result showed that the users had different objectives,frequency, sources of knowledge, and type of knowledge according to their roles and duties. The access behaviors to folk Gajasastra inherited wisdom of the Kui knowledge consisted of determining information requirements, content level determination, knowledge sources, defining knowledge sources, searching for knowledge and applying. As for the problems of accessing knowledge, there are few on information resources and knowledge sources and access difficulty, users want to access digital knowledge through the Internet from specific and diverse access points according to the characteristics of the intangible cultural heritage.</p> สุภาสินี วิเชียร, ลำปาง แม่นมาตย์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12218 สภาพปัจจุบันของการจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย (Current Situation of E-book Management in Thai Academic Libraries) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12219 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บรรณารักษ์ จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทยมีนโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ในนโยบายการจัดหา มีการจัดหา 3 วิธี คือ การจัดซื้อ การผลิตเอง และการรวบรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบได้เปล่าจากแหล่งที่ให้บริการ การจัดเก็บและจัดระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จัดซื้อหรือบอกรับจะจัดเก็บที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของสำนักพิมพ์หรือผู้จัดจำหน่าย ส่วนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตเอง จะดำเนินการในรูปแบบคลังความรู้สถาบัน การเข้าถึงและค้นคืนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องมือสืบค้นของห้องสมุด ได้แก่ WebOPAC และ Discovery service ซึ่งมีการส่งเสริมการใช้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบการจัดอบรม กิจกรรมและโครงการ โดยการประเมินการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากสถิติของผู้ขาย</p><p> </p><p><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p>The purpose of this research was to study the current situation of electronic book management in Thai academic libraries. The qualitative research method was used. Data collection was done by interviewing 15 key informants from four university libraries using the semi-structured interview as a research tool. Results found that the e-book acquisition policy of academic libraries was included in the collection development policy ordinarily by purchasing, creating, and collecting free e-book from other sources. In the case of storage and organization, e-books by purchasing were stored on the host computer of the publisher or distributor, by creation were stored in the library server as Institute Repository. Access and retrieval of e-books through the library tools included WebOPAC, or Discovery Service. Usage promotion was done by promoting the usage by training or other activities about e-books. The library mainly evaluated t electronic books use based on statistics provided by the dealer.</p> ธิดารัตน์ สาระพล, ลำปาง แม่นมาตย์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12219 การพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการแก้ปัญหา อย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 (Development of the STEM Curriculum Enhancing the Critical Problem-Solving Skill and Life Skill Compliance for Sixth...) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12220 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 70 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบ One-group pretest posttest ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรสะเต็มศึกษาที่พัฒนามีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.92/92.00 สามารถเสริมสร้างทักษะด้านการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรสะเต็มศึกษาก่อนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรสะเต็มศึกษาในระดับมากที่สุด (= 4.55, SD = 0.54) โดยนักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และกิจกรรมของหลักสูตรช่วยทำให้นักเรียนมีความมั่นใจ กล้าคิดและกล้าแสดงออก เพราะสะท้อนการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนและการปฏิบัติจริง</p><p> </p><p><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p>The research aims to develop a STEM curriculum aiming at facilitating critical problem-solving and life skills in sixth grade students through Research and Development (R&amp;D). The participants were 70 sixth grade students selected through purposive sampling method. This research followed the one-group pretest-posttest quasi-experimental design. The findings revealed that the developed STEM curriculum gained efficiency (E1/E2) of 82.92/92.00. Compared with the pre-test scores, there was a statistical significant difference between the average post-test(p = .5) scores and scores on strategic problem-solving and essential life skills (p = .01) of the participants. The participants also reported the highest level of satisfaction towards the STEM curriculum (= 4.55, SD = 0.54) by citing the useful application of the curriculum activities in their daily life and the increase of self-confidence, creatively and assertiveness as a result of the reflective learning through the exchange of knowledge and authentic practice.</p> กมลฉัตร กล่อมอิ่ม Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12220 การประเมินความต้องการจำเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพในศูนย์การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12221 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพของผู้สูงอายุ และสร้างแนวทางการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 434 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ด้านผู้สูงอายุ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNImodified) ผลการวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในด้านการมีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.69) เมื่อพิจารณารายข้อของความต้องการจำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในเรื่องการใช้โปรแกรมในสมาร์ตโฟนหาความรู้สุขภาพเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.97) ส่วนลักษณะของศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพ พบว่า ช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าใช้บริการ คือ ช่วงเวลา 10.00 -12.00 น. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ คือ 1 ชั่วโมง และผู้สูงอายุต้องการเข้าใช้ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยต้องการความรู้ดูแลสุขภาพตนเอง พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สูงอายุชอบการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ชอบเรียนรู้จากการดูโทรทัศน์ และใช้อุปกรณ์สมาร์ตโฟน</p><p> </p><p><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p><span> </span>This research aims to assess the needs for information and communication technology to support health literacy in the learning center for the elderly and to create a guideline of the learning center for the elderly by using a mixed research method. The research was conducted by surveying through the use of a questionnaire on 434 elderly people living in Bangkok and its vicinities and a structured interview tool with health experts, as well as experts on the elderly,information and communication technology, and on learning center, totaling 6 persons. The research statistics include frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and the modified Priority Needs Index to assess needs. The results of the needs assessment found that the primary need of the elderly was to have a learning center in the community (PNImodified = 0.69). When considering the list of needs regarding information and communication technology, it was found that the primary need of the elderly was the need for using smartphone applications to find health-related information (PNImodified = 0.97). In terms of the characteristics of the learning center, most of the elderly accessed the services from 10:00 a.m. to 12:00 p.m. The appropriate duration of time for organizing health education activities is one hour, and need to use the health learning center at least one time per week, and need knowledge on how to take care of one’s health, meet, chat and exchange knowledge. The elderly prefer group learning and like to learn from televisions and smartphone devices.</p> ศรีไพร โชติจิรวัฒนา, พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12221 ความสัมพันธ์ของการจัดหาและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Correlation of Information Resources Acquisition and Using at Ramkhamhaeng University Library) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12222 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์การจัดหาและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศในด้านจำนวน ภาษาและหมวด รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดหาและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีพฤติกรรม ได้แก่ เวลาที่ใช้บริการมากที่สุด คือ 9.00-12.00 น. มีวัตถุประสงค์การใช้สำนักหอสมุด เพื่อเสริมความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ/จรรโลงใจ และเพื่อทำรายงานประกอบการเรียน ลักษณะการเข้าใช้ห้องสมุด คือ นาน ๆ ครั้งและไม่เคยยืมทรัพยากรสารสนเทศ ใช้ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยมากกว่าภาษาต่างประเทศ และหมวดที่ใช้มากที่สุด คือ หมวด K (กฎหมาย) และหมวด J (รัฐศาสตร์) 2) การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า สำนักหอสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยมากกว่าภาษาต่างประเทศ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศหมวด H สังคมศาสตร์ มากที่สุด 3) การใช้ทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ผู้ใช้บริการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยมากกว่าภาษาต่างประเทศ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศหมวด K (กฎหมาย) และหมวด Fic(นวนิยาย) มากที่สุด และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดหากับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2560 มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ส่วนปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง</p><p> </p><p><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p><span> </span>The research aimed to investigate the behaviors of information resources usage’ behavior; to analyze the acquisition and use of information resources in terms of the number, language, and subject; and to study the relationship of acquisition and use of information resources of Ramkhamhaeng University Library during the fiscal year 2015 to 2017 through quantitative research. The sample group included 393 users. The research instrument was a questionnaire. The research results revealed as follows: 1) Most users spent time in the library from 9.00-12.00 a.m. The objectives were to enhance their own efficacy, leisure and to work upon the courses. They rarely used the library and have never borrowed information resources. They use information resources in Thai more than foreign languages and the most used subjects were Law (Class K) and Political Science (Class J). 2) The library acquired Thai Information resources more than foreign languages as well as most information resources in Social Science (Class H). 3) The use of information resources found that Thai information resources have been used more than foreign languages, especially in Law and fictions. 4) The correlation between acquisition and use of information resources was a low-level during the fiscal year 2015 and 2017 and a moderate-level in the fiscal year 2016.</p> เสาวรส อนุรักษ์โชคชัย Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12222 วิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์: ความหมาย ขอบเขต และความเกี่ยวข้อง (Data Science and Information Science: Meaning, Scope and Relations) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12223 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><span> </span></p><p><span> </span>วิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์เป็นสหวิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและสารสนเทศตามวงจรข้อมูลและสารสนเทศ วิทยาการข้อมูลศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นพบคุณค่าที่ซ่อนอยู่และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ สารสนเทศศาสตร์ศึกษาการจัดการสารสนเทศตามวงจรสารสนเทศเพื่อเตรียมพร้อมใช้งาน ทั้ง 2 ศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ได้ในหลายสาขาวิชา เช่น การบริหารธุรกิจ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น บทความนี้กล่าวถึงความหมาย ขอบเขต การประยุกต์ของวิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง และความเกี่ยวข้องกันของวิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์</p><p> </p><p><strong>Abstract</strong><span> </span></p><p><span> </span>Data science and Information science are interdisciplinary studies about the management of data and information according to the data and information life circle. Data science is how to study data analysis in order to discover insight value and application. Information science is how to study information management according to the information life cycle as a ready application. At present, data and information science have been applied in many disciplines, such as business administration, medicine, engineering, social science, etc. This article presents the meaning, scope, and application of data science and information science in some fields, as well as differences, and the relationship between data science and information science.</p> ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์ Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12223