ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ

Main Article Content

ธัญญ์นรี ชานิกรประดิษฐ์
ราชันย์ บุญธิมา
กุลยา ตันติผลาชีวะ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนกิ่งเพชร สำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ได้มาโดยวิธีการเลือกนักเรียน 1 ห้องเรียนจากจำนวน 2 ห้องเรียนแล้วสุ่มนักเรียนจำนวน 15 คน จากห้องเรียนที่เลือก โดยการจับฉลาก ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแผนการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการและแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ t - test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 37.60) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการแก้ปัญหาเกี่ยวกับตนเอง (  = 18.73) อยู่ในระดับมากและด้านการแก้ปัญหาที่สัมพันธ์กับผู้อื่น (  = 18.87) อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับความสามารถในการแก้ปัญหาในภาพรวมและรายด้าน พบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   คำสำคัญ : ความสามารถในการแก้ปัญหา, การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ, เด็กปฐมวัย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชานิกรประดิษฐ์ ธ., บุญธิมา ร., & ตันติผลาชีวะ ก. (2015). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6653
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)

Most read articles by the same author(s)