ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นุจรี มุราชัย
รองศาสตราจารย์ เวธนี กรีทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วง
ชั้นที่3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัด
มหาสารคาม โดยจำแนกปัจจัยที่ศึกษาเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัย
ด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ อายุ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นิสัย
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ เจตคติต่อการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ สัมพันธภาพ
ระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง และการสนับสนุนด้านการเรียน
ของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่
ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียนสัมพันธภาพระหว่างนักเรียน
กับครู และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน
ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัด
มหาสารคาม ปีการศึกษา 2550 จำนวนทั้งสิ้น 327 คน
เป็นนักเรียนหญิง 199 คน และนักเรียนชาย 128 คน เป็น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน121คน เป็นนักเรียน
หญิง 76 คน และนักเรียนชาย 45 คน นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน102 คน เป็นนักเรียนหญิง 66 คน
และนักเรียนชาย 36 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 104 คน เป็นนักเรียนหญิง 57 คน และนักเรียนชาย
47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่
แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนตัว
ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การ
ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัว
ด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัย ได้แก่ นิสัยทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ (X5) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (X6)
สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง (X7) การ
สนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง (X8) ลักษณะทาง
กายภาพของโรงเรียน (X9) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับ
ครู (X10) และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน (X11)
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัว
ด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ.01 มี 1 ปัจจัย คือ อายุ (X3)
3. . ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้าน
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน มี 3 ปัจจัย ได้แก่ เพศ
ชาย (X1) เพศหญิง (X2) และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X6)
4.ปัจจัยที่ส่งผลการปรับตัวด้านการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่
ระดับ.01 มี 1 มี 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผล
มากที่สุดไปหาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (X6) นิสัยทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ (X5) และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู
(X10) ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความ
แปรปรวนของการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้
ร้อยละ 54.7

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มุราชัย น., กรีทอง ร. เ., & จุลรัตน์ ผ. ด. (2009). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/449
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)