ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อัจฉรา เพ่งเล็งผล
รองศาสตราจารย์ เวธนี กรีทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ
นิสัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4
โรงเรียนเบญจมราชาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดย
จำแนกปัจจัยที่ศึกษาเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านส่วนตัว ได้แก่
ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์ บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์
ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
และการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการเรียน และปัจจัยด้าน
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพด้านการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และ
สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 4
โรงเรียนเบญจมราชาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปี
การศึกษา 2550 จำ นวน 244 คน ได้แก่ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 83 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
จำนวน 85 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 76 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่
ส่งผลต่อนิสัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับนิสัยในการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียน
เบญจมราชาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 7
ปัจจัย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (X6) บุคลิกภาพ (X7) ความ
ฉลาดทางอารมณ์ (X8) การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านการ
เรียน (X9) ลักษณะทางกายภาพทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
(X10) และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู (X11)
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับนิสัยในการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียน
เบญจมราชาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 1
ปัจจัย ได้แก่ ระดับชั้น : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (X3)
3. ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับนิสัยในการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชา
ลัย มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ระดับชั้น : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (X1)
ระดับชั้น : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (X2) ฐานะทางเศรษฐกิจของ
ครอบครัว (X5) และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
(X12)
4. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์นิสัยในการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชาลัย
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .01 มี 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลมาก
ที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์ (X6) บุคลิกภาพ (X7) และสัมพันธภาพ
ระหว่างนักเรียนกับครู (X11) ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัย นี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนนิสัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ได้ร้อยละ 63.7

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เพ่งเล็งผล อ., กรีทอง ร. เ., & จุลรัตน์ ผ. ด. (2009). ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/448
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)