การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ณักษ์ กุลิสร์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศิริวรรณ เสรีรัตน์ รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
  • สุพาดา สิริกุตตา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อุดม สายะพันธุ์ ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อรทัย เลิศวรรณวิทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

Keywords:

การพัฒนาอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผ้าไหมไทย และแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยในอนาคต โดยคณะผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการแจกแบบสอบถามแก่ผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 400 คน และผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน รวมทั้งสิ้น 800 คน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย แรงจูงใจด้านอารมณ์ คุณค่าที่รับรู้ต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ประโยชน์หลักของผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับ ผ้าทั่วไป และคุณภาพที่รับรู้ต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านภูมิลำเนาปัจจุบัน และบุคลิกภาพด้านความแข็งแรงทนทาน มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สามารถอธิบายแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 55.8 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดขอนแก่น มีดังนี้ แรงจูงใจด้านอารมณ์ คุณค่าที่รับรู้ต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ประโยชน์หลักของผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับผ้าทั่วไป คุณค่าที่คาดหวังจากการสวมใส่ผ้าไหม และอัตลักษณ์ของร้านที่จำหน่ายผ้าไหมที่ซื้อเป็นประจำ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สามารถอธิบายแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 65.1 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านจำนวนชุดที่สวมใส่เป็นผ้าไหมในปัจจุบันของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด มีดังนี้ เพศ บุคลิกภาพด้านความจริงใจ และคุณค่าที่รับรู้ต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สามารถอธิบายพฤติกรรมด้านจำนวนชุดที่สวมใส่เป็นผ้าไหมในปัจจุบันของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 12.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านจำนวนชุดที่สวมใส่เป็นผ้าไหมในปัจจุบันของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดขอนแก่น คือ แรงจูงใจด้านอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายพฤติกรรมด้านจำนวนชุดที่สวมใส่เป็นผ้าไหมในปัจจุบันของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ไหมไทยในจังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 9.5 3. พฤติกรรมด้านจำนวนชุดที่สวมใส่เป็นผ้าไหมในปัจจุบัน และจำนวนเงินของการซื้อมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ พฤติกรรมด้านจำนวนครั้งต่อสัปดาห์ของการแต่งกายด้วยผ้าไหมภายใน 1 ปีที่ผ่านมา และด้านจำนวนชุดที่สวมใส่เป็นผ้าไหมในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการซื้อผ้าไหมไทยของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในจังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

09-09-2015

How to Cite

กุลิสร์ ณ., เสรีรัตน์ ศ., สิริกุตตา ส., สายะพันธุ์ อ., เลิศวรรณวิทย์ อ., & โพธิ์ไพจิตร น. (2015). การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 6(1), 26–38. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/6019