พฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่นไทย: อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมต่อความตั้งใจ ในการเป็นผู้ประกอบการในบริบทวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม ENTREPRENEURIAL BEHAVIOR OF THAI TEENAGER: THE INFLUENCES OF PERCEIVED SELF-EFFICACY,
Keywords:
วัยรุ่นไทย ความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ พฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการ การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมAbstract
การวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่นไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่นไทยในบริบทวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method) แบบคู่ขนานเข้าหากัน (Convergent Parallel Design) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 15-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจหรือกำลังศึกษาด้านการเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือแบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและแบบสโนว์บอล ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 15-24 ปี และมีประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 15 คน เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและแบบสโนว์บอล รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกที่มีลักษณะคำถามเป็นปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อตัวแปรพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่น คือการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม และวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม โดยมีอิทธิพลผ่านความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการโดยความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญคือความต้องการและความตั้งใจแน่วแน่ซึ่งหากพิจารณาถึงการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกัน โดยพิจารณาจากค่า c2 (Chi-Square) มีค่าเท่ากับ 63.01 ที่องศาอิสระเท่ากับ 52 ระดับความมีนัยสำคัญเท่ากับ 0.14 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนจากการประมาณค่า เท่ากับ 0.024 ค่าไคสแควร์ต่อองศาอิสระ (c2/ df) มีค่าเท่ากับ 1.21 และ CFI มีค่าเท่ากับ 0.99 และ GFI มีค่าเท่ากับ 0.97 สำหรับการศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และ อิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมการการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่น พบว่า ความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลรวมสูงสุด รองลงมาคือวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถของตนเองDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ