การรับรู้บรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐ
Keywords:
การรับรู้บรรยากาศ ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ บุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้บรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมทำงานเชิงสร้างสรรค์ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ขั้นที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง 450 ตัวอย่าง และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) จากคณะและวิทยาลัยตามลำดับไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขั้นที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน หัวหน้าสาขาวิชา จำวน 7 คน และอาจารย์สายวิชาการ จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 17 คน การเก็บรวบรวมใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้รูปแบบวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้บรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง (หลังปรับ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 39.98 ที่องศาอิสระ(df) เท่ากับ 35 ระดับความมีนัยสำคัญ (P-Value) = 0.25 ค่าไค-สแควร์ต่อค่าองศาอิสระ (Chi-square/df) เท่ากับ 1.14 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.01 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของโมเดล พบว่า ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจาก ความผูกพันต่อองค์การ (0.85) รองลงมา การรับรู้บรรยากาศองค์การ (0.79) ตามลำดับDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ