ผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบายร่วมกับการสาธิตอย่างง่ายต่อความคิดรวบยอดเรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุน

Main Article Content

นัชชา แดงงาม
สุระ วุฒิพรหม

Abstract

The Effect of Predict–Observe–Explain Teaching Technique with Simple Demonstration on the Students’ Conceptual Understanding of Rotational Motion
 
Natcha Daengngam and Sura Wuttiprom
 
รับบทความ: 18 กุมภาพันธ์ 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 4 พฤษภาคม 2557
 
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดของนักเรียนโครงการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบายร่วมกับการสาธิตอย่างง่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน การวิจัยเป็นแบบ one–group pretest–posttest เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบสาธิตร่วมกับเทคนิคการทำนาย–สังเกต–อธิบาย แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอดเรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุนแบบสองลำดับขั้น และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และ normalized gain ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความคิดรวบยอดเรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุนสูงขึ้นหลังจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าโดยภาพรวมนักเรียนมีการพัฒนาความคิดรวบยอดรายชั้นอยู่ระดับปานกลางเท่ากับ 0.65
คำสำคัญ:  นิสิตการเคลื่อนที่แบบหมุน  โครงการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบาย
 
Abstract
The purpose of this research was to study and compare the students’ conceptions on rotational motion before and after participating with the predict–observe–explain technique incorporated with the simple demonstration sets. The participants were 30 science and mathematics gifted program students from grade 8 Kanlayanee sithammarat School, Nakhon Si Thammarat. The research was conducted in the second semester of academic year 2012. The one–group pretest–posttest design was employed in carrying out the study. The research tools consisted of lesson plans based on demonstration teaching method and predict–observe–explain technique, the two tier test about rotational motion concept and the semi-structured interview form. The data were analyzed into the average percentage, standard deviation, t-test and normalized gain. The finding indicated that there was statistically significant mean difference between the pre-test and post-test at significant level of 0.01. The class average normalized gain was in the medium gain <g> = 0.65.
Keywords:  Rotational motion, Science and mathematics gifted program, Predict–observe–explain technique

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย.

กอบแก้ว สิงหเนตรวัฒน์ และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2555). การศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อในแรงจูงใจกับการเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict–Observe–Explain (POE). วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35(2): 7-15.

ทิศนา แขมณี. (2544). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน: การศึกษาพหุกรณี. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนา พันสนิท และไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ. (2555). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องงานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบการทำนาย–สังเกต–การอธิบาย. วาร-สารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 35(2): 87-92.

วิชัย ลาธิ และศักศรี สุภาษร. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 24(1): 29-52.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). การพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุระ วุฒิพรหม. (2556). การเปรียบเทียบรูปแบบการสอนระหว่างวีดีโอเทปกับการทดลองสาธิตเพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่องแรงลอยตัว. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 4(1): 9-19.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่นยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

Champagne, A., Klopfer, L., and Anderson, J. (1980). Factors influencing the learning of classical mechanics. American Journal of Physics 48(12): 1074-1079.

Kearny, M., Treagust, D. F., Yeo, S., and Zadnik, M.G. (2001). Student and teacher perceptions of the use of multimedia support predict–observe–explain tasks to probe understanding. Research in Science Education 31: 589-615.

Mabout, S. (2006). The Use of a Constructivist Labo-ratory to Improve Students’ Conceptual Understanding of Motion in Tertiary Physics in Thailand. Ph.D. Dissertation. Australia: Science Education, Curtin University of Technology.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement versus traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics 66(1): 64-72.

White, R., and Gunstone, R. (1992). Probing Under- standing. London: The Falmer.

Most read articles by the same author(s)