การจัดการเรียนรู้จากปฏิบัติการทดลองเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางวิทยาศาสตร์
Main Article Content
Abstract
Natthanicha Phongam and Sura Wuttiprom
รับบทความ: 10 กรกฎาคม 2553; ยอมรับตีพิมพ์: 18 สิงหาคม 2553
บทคัดย่อ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้จากการลงมือปฏิบัติการทดลองเป็นการเพิ่มพูนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การปฏิบัติ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์และความสนใจทางการเรียนสูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการทดลองทางอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และวงจรไฟกระพริบ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 33 คน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (p < .01) และมีความก้าวหน้าทางการเรียน (normalized gain) เท่ากับ 0.68 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (อยู่ในระดับ 4.02) จากแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ต
คำสำคัญ: สืบเสาะหาความรู้ อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ปฏิบัติการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความก้าวหน้าทางการเรียน
Abstract
Inquiry-based learning in science by doing experiments can improve various students’ skills, e.g., critical thinking, practice, problem solving, and co-operative, including enhancing learning achievement and satisfaction. The objective of this research was to develop the learning achievement and satisfaction. The five laboratories related to basic electronics, capacitor, diode, transistor, and blinker circuits, were designed. The subjects were 33 Mattayom III students in the second semester of academic year 2009 at Srinagarindra the Princess Mother School, Sisaket. The research found that the learning achievement after implementation with the designed laboratories was significantly higher than that before the implementation (p < .01), and average normalized gain was 0.68. By using the 5-point Likert’s scale, the students’ satisfactions in the developed learning process were rated as a very suitable at 4.02.
Keywords: inquiry, basic electronics, laboratory, learning achievement, normalized gain
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ชูจิต สาระภาค. (2547). ผลการใช้ชุดฝึกปฏิบัติการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการใช้เครื่องมือการทดลองในวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ของนักศึกษาสถาบันราชภัฏ. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2543). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ:แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท.
พันศักดิ์ จันทร์จำปี. (2546). การพัฒนาบทปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทคนิคการแยกสารสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ภัทราวรรณ ลาภเทวี. (2546). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะภาคปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้โดยเน้นการฝึกทักษะภาคปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ กุลชา ลี้ไพโรจน์กุล สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ สุภาภรณ์ ศิริโสภณา สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์ วัฒนีย์ โรจนสัมฤทธิ์ และธรรมศักดิ์ รินทะ. (2551). ผลกระทบของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานต่อพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การสัมมนาวิทยาศาสตรศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 3. โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่: CD-ROM.
สมวงศ์ จงกลาง. (2536). การสร้างชุดฝึกปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานสำหรับกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวัฒน์ วรสิทธิ์. (2540). การสร้างชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การ ศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิสิทธิ์ ธงไชย และคณะ. (ม.ป.ป.). การประเมินผลการเรียนรู้แบบใหม่โดยการใช้ผลสอบก่อนเรียนและหลังเรียน. เข้าถึงได้จาก http://www. sc.mahidol.ac.th/scpy/penthai/articles/normalized_gain.pdf accessed on April 16, 2009.
Hake, R. (1998). Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousand survey of mechanics test data for introductory physics courses. Am. J. Phys. 66: 64-74.
Hodson, D. A. (1990). Critical look at practical work in school science. Sch. Sci. Rev. 70(256): 33-40.
Joyce, B., and Weil, M. (1986). Models of Teaching. 3rd ed. Boston, MA: Allyn & Bacon.
John, D. (1973). Group Investigation Model. J. Teacher Educ. 24(1): 66.