https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/issue/feedวารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning)2024-06-30T14:22:53+00:00สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ (Somkiat Phornphisutthimas)somkiat.pswu@gmail.comOpen Journal SystemsAbstrcting and Indexing Informationhttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16183การตรวจติดตามฮอร์โมนความเครียดและฮอร์โมนเพศของช้างเอเชียเพศผู้ (Elephas maximus) ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว2024-06-30T14:22:53+00:00Sopittha Donthapho63030388@go.buu.ac.thChainarong Punkongagist_c@hotmail.comUraiwan RatchayaUraiwan132525@gmail.comYollada TaengphukhieoPongpang_28@hotmail.comKongphob Parunyakulkongphop.pa@buu.ac.thChantima Piyapongchantimap@buu.ac.th<p>Stress Hormone and Sex Hormone Monitoring in Male Asian Elephant (<em>Elephas maximus</em>) at Khao Kheow Open Zoo, Thailand</p> <p> </p> <p>Sopittha Donthapho, Chainarong Punkong, Uraiwan Ratchaya, Yollada Taengphukhieo, Kongphob Parunyakul and Chantima Piyapong</p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong><strong>: </strong>25 พฤษภาคม 2567;<strong> แก้ไขบทความ:</strong> 22 กรกฎาคม 2567; <strong> ยอมรับตีพิมพ์: </strong>25 กรกฎาคม 2567; <strong>Authorproof: </strong>20 พฤศจิกายน 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>ช้างเอเชีย <em>(</em><em>Elephas maximus</em>) จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรองจากช้างแอฟริกา ในปัจจุบันสวนสัตว์เปิดเขาเขียวตระหนักถึงสวัสดิภาพของช้างเอเชียในสภาพแวดล้อมแบบทั้งในส่วนแสดงและในคอกเลี้ยง นอกจากนี้ช้างเอเชียเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างจึงถูกสิ่งเร้าจากนักท่องเที่ยวรบกวนซึ่งอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนความเครียดของช้างเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อการทำงานต่อระบบระดับฮอร์โมนเพศที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรน (corticosterone) และฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) และวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยการนำมูลของช้างเอเชียเพศผู้จำนวน 4 เชือก มาสกัดฮอร์โมนดังกล่าวและตรวจวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนด้วยวิธีการ enzyme immunoassay (EIA) ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่รบกวนตัวสัตว์ (non–invasive method) รวมทั้งใช้สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ในการศึกษานี้ ผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรนของช้างเอเชียเพศผู้ทั้ง 4 เชือกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดช่วงระยะการศึกษาโดยสีดอมงคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 139.91±7.64 นาโนกรัมต่อหนึ่งกรัมของมูลแห้ง ในขณะที่ระดับความเข้มข้นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของช้างเอเชียทั้ง 4 เชือกมีช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนตลอดช่วงการศึกษา โดยพลายเปี๊ยกมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 254.46±48.22 นาโนกรัมต่อหนึ่งกรัมของมูลแห้ง อย่างไรก็ตามการศึกษาความสัมพันธ์ของฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรนและฮอร์โมนเทสโทส-เทอโรนในช้างเอเชียเพศผู้แต่ละเชือกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญในเชิงบวก (<em>p </em>< 0.01) การศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปรับปรุงสภาพแวดล้อมในคอกเลี้ยงและส่วนแสดงของช้างเอเชียในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวและสามารถนำเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ในด้านการส่งเสริมพฤติกรรมของช้างเพื่อสนับสนุนการทำให้ช้างมีสุขภาพและสวัสดิภาพให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ช้างเอเชีย สวนสัตว์ ฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนเพศ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The Asian elephant (<em>Elephas maximus</em>) is the second largest land mammals in the world after the African elephant. Currently, Khao Kheow Open Zoo has concerned the welfare of the Asian elephants in both their exhibition and captive environments. Also, they are very popular for tourists. Stimuli from tourists could increase the level of stress hormones and may affect the functioning of the sex hormone system, which is unsuitable for achievement of reproduction. The purpose of this study was to monitor changes in corticosterone and testosterone levels and analyze the relationship of these two hormones during August 2022 to July 2023. The fecal samples of four male Asian elephants were extracted by using the enzyme immunoassay (EIA) method, which is a non–invasive method. Nonparametric statistics were used in this study. The results revealed that the corticosterone levels of all male Asian elephants showed high trend throughout experimental period. Elephant named “Mongkol” had the highest level of corticosterone (139.91±7.64 ng/g of dry feces). Meanwhile, the testosterone levels of all male Asian elephants showed uncertain trend throughout experimental period. Elephant named “Piek” had a highest level of testosterone (254.46±48.22 ng/g of dry feces). However, the study of the relationship between the corticosterone and testosterone in each male Asian elephant significantly positively correlated (<em>p</em> < 0.01). This study can be used as a guideline for planning to improve the environment in the Asian elephant’s exhibition and captivity at Khao Kheow Open Zoo and can be used to enrichment for better health and welfare in the future.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Asian elephant, Zoo, Stress hormone, Sex hormone</p>2024-11-20T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/15681การออกแบบบอร์ดเกม The Secret of Endocrine System เพื่อส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ2024-04-15T13:46:44+00:00Partorn Phongpaijitpartorn.p@ku.thSuradet Srithas.sritha@gmail.comOrawan Kuhapensangokkruapple@gmail.com<p><strong>Designing the Board Game Titled ‘The Secret of Endocrine System’ for Promoting Grade 12 Students’ Scientific Conceptions </strong><strong>in the Endocrine System</strong></p> <p> </p> <p><strong>Partorn Phongpaijit, Suradet Sritha and Orawan Kuhapensang</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 20 ตุลาคม 2566;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 20 เมษายน 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 23 เมษายน 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 19 มิถุนายน 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของคณะผู้วิจัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกิดการเรียนรู้เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมและกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการออกแบบบอร์ดเกม เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ที่ยินดีเป็นอาสาสมัครจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบตรวจความถูกต้องด้านเนื้อหา และกติกาของบอร์ดเกมเรื่องระบบต่อมไร้ท่อ 2) แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ 3) บันทึกหลังสอนของผู้วิจัยและ 4) ใบบันทึกการรับรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการนำบอร์ดเกมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่า IOC และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ดเกมทุกใบ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.8 ข้อมูลในการ์ดมีความถูกต้องเหมาะสมในด้านเนื้อหา และจากการทดสอบเกมกับผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปว่าบอร์ดเกมมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในด้านกลไก กติกา วัสดุ และภาพรวมของเกม 2) ผลการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการออกแบบบอร์ดเกมมีดังนี้ แนวปฏิบัติที่ 1 การปรับรูปแบบการเล่นโดยแบ่งการเล่นเกมเป็นเกมย่อย ๆ ให้เล่นได้ง่ายขึ้น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาเบื้องต้น และสามารถเล่นเกมตามกติกาเต็มรูปแบบง่ายขึ้น แนวปฏิบัติที่ 2 การสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจกติกาของเกมที่กำหนดไว้ก่อนการเล่นจริงในห้องเรียน ช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้ แนวปฏิบัติที่ 3 การสรุปความรู้ในแต่ละคาบเรียนหลังจากการเล่นเกมจบ ควรใช้วิธีการสรุปความรู้ที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลบริบทของกลุ่มเป็นฐานในการสรุปความรู้ และแนวปฏิบัติที่ 4 การสื่อสารระหว่างการเล่นเกมโดยการให้นักเรียนพูดชื่อฮอร์โมนและข้อมูลในการ์ด ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยมีเกมเป็นสื่อกลางกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>บอร์ดเกม ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This research is a classroom action research conducted by the researchers regarding good practices in developing an educational game to promote grade 12 students to learn about the endocrine system. The objectives were to develop the board game and learning activities titled ‘The Secret of the Endocrine System’ and to examine guidelines in designing the board game for use in game–based learning. The study group was comprised of grade 12 students in the academic year 2022 who volunteered to participate. The research tools consisted of: 1) A content validity check form and the rules of the board game titled ‘The Secret of the Endocrine System’; 2) Scientific conceptual test in the endocrine system 3) Post–teaching notes of the researchers; 4) Students’ perception records regarding the use of the board game in learning management. The data were analyzed by using IOC values and performing content analysis. The results indicated as follows: 1) All game cards had an IOC value of at least 0.80. The content of the information on the cards was accurate and appropriate. In addition, testing with experts revealed that the board game was appropriate for use in learning management in terms of its mechanics, regulations, materials, and overall appearance. 2) The results of the study of best guidelines in designing the board game were as follows: Guideline 1: Adjusting the playing style by dividing the game into smaller games makes it simpler for students to comprehend the fun-damental content and play the game according to the complete rules. Guideline 2: Raising awareness and emphasizing the importance of comprehending the rules of the game before actual play in the classroom facilitates a deeper understanding of the contents and an association to knowledge. Guideline 3: Summarizing each class’s knowledge. After playing the game, multiple summarization techniques should be implemented, and the group context information should serve as the basis for knowledge summarization. Guideline 4: Communicating while playing the game by assigning students to inform one another of the names of hormones and information on cards. This facilitates student learning through interaction with the game as a medium for association to knowledge.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Board game, Endocrine system, Secondary student</p>2024-06-19T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16231หน้าปกใน2024-06-08T14:16:00+00:00Somkiat Phornphisutthimassomkiat.pswu@gmail.com2024-06-08T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16229กองบรรณาธิการ2024-06-08T14:00:24+00:00Somkiat Phornphisutthimassomkiat.pswu@gmail.com2024-06-08T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16230รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับ2024-06-08T14:09:13+00:00Somkiat Phornphisutthimassomkiat.pswu@gmail.com2024-06-08T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning)