วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL Abstrcting and Indexing Information en-US somkiat.pswu@gmail.com (สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ (Somkiat Phornphisutthimas)) somkiat.pswu@gmail.com (สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ) Sat, 08 Jun 2024 00:00:00 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การตรวจติดตามฮอร์โมนความเครียดและฮอร์โมนเพศของช้างเอเชียเพศผู้ (Elephas maximus) ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16183 <p>Stress Hormone and Sex Hormone Monitoring in Male Asian Elephant (<em>Elephas maximus</em>) at Khao Kheow Open Zoo, Thailand</p> <p> </p> <p>Sopittha Donthapho, Chainarong Punkong, Uraiwan Ratchaya, Yollada Taengphukhieo, Kongphob Parunyakul and Chantima Piyapong</p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong><strong>: </strong>25 พฤษภาคม 2567;<strong> แก้ไขบทความ:</strong> 22 กรกฎาคม 2567; <strong> ยอมรับตีพิมพ์: </strong>25 กรกฎาคม 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์: </strong>27 พฤศจิกายน 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>ช้างเอเชีย <em>(</em><em>Elephas maximus</em>) จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรองจากช้างแอฟริกา ในปัจจุบันสวนสัตว์เปิดเขาเขียวตระหนักถึงสวัสดิภาพของช้างเอเชียในสภาพแวดล้อมแบบทั้งในส่วนแสดงและในคอกเลี้ยง นอกจากนี้ช้างเอเชียเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างจึงถูกสิ่งเร้าจากนักท่องเที่ยวรบกวนซึ่งอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนความเครียดของช้างเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อการทำงานต่อระบบระดับฮอร์โมนเพศที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรน (corticosterone) และฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) และวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยการนำมูลของช้างเอเชียเพศผู้จำนวน 4 เชือก มาสกัดฮอร์โมนดังกล่าวและตรวจวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนด้วยวิธีการ enzyme immunoassay (EIA) ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่รบกวนตัวสัตว์ (non–invasive method) รวมทั้งใช้สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ในการศึกษานี้ ผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรนของช้างเอเชียเพศผู้ทั้ง 4 เชือกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดช่วงระยะการศึกษาโดยสีดอมงคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 139.91±7.64 นาโนกรัมต่อหนึ่งกรัมของมูลแห้ง ในขณะที่ระดับความเข้มข้นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของช้างเอเชียทั้ง 4 เชือกมีช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนตลอดช่วงการศึกษา โดยพลายเปี๊ยกมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 254.46±48.22 นาโนกรัมต่อหนึ่งกรัมของมูลแห้ง อย่างไรก็ตามการศึกษาความสัมพันธ์ของฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรนและฮอร์โมนเทสโทส-เทอโรนในช้างเอเชียเพศผู้แต่ละเชือกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญในเชิงบวก (<em>p </em>&lt; 0.01) การศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปรับปรุงสภาพแวดล้อมในคอกเลี้ยงและส่วนแสดงของช้างเอเชียในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวและสามารถนำเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ในด้านการส่งเสริมพฤติกรรมของช้างเพื่อสนับสนุนการทำให้ช้างมีสุขภาพและสวัสดิภาพให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ช้างเอเชีย สวนสัตว์ ฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนเพศ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The Asian elephant (<em>Elephas maximus</em>) is the second largest land mammals in the world after the African elephant. Currently, Khao Kheow Open Zoo has concerned the welfare of the Asian elephants in both their exhibition and captive environments. Also, they are very popular for tourists. Stimuli from tourists could increase the level of stress hormones and may affect the functioning of the sex hormone system, which is unsuitable for achievement of reproduction. The purpose of this study was to monitor changes in corticosterone and testosterone levels and analyze the relationship of these two hormones during August 2022 to July 2023. The fecal samples of four male Asian elephants were extracted by using the enzyme immunoassay (EIA) method, which is a non–invasive method. Nonparametric statistics were used in this study. The results revealed that the corticosterone levels of all male Asian elephants showed high trend throughout experimental period. Elephant named “Mongkol” had the highest level of corticosterone (139.91±7.64 ng/g of dry feces). Meanwhile, the testosterone levels of all male Asian elephants showed uncertain trend throughout experimental period. Elephant named “Piek” had a highest level of testosterone (254.46±48.22 ng/g of dry feces). However, the study of the relationship between the corticosterone and testosterone in each male Asian elephant significantly positively correlated (<em>p</em> &lt; 0.01). This study can be used as a guideline for planning to improve the environment in the Asian elephant’s exhibition and captivity at Khao Kheow Open Zoo and can be used to enrichment for better health and welfare in the future.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Asian elephant, Zoo, Stress hormone, Sex hormone</p> โศภิษฐา ดอนท่าโพธิ์, ชัยณรงค์ ปั้นคง, อุไรวรรณ ราชยา, ยลดา แต่งภูเขียว, ก้องภพ ภรัณยากุล, จันทิมา ปิยะพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16183 Wed, 27 Nov 2024 00:00:00 +0000 การเตรียมเชือกกล้วยน้ำว้าย้อมสีธรรมชาติจากขมิ้นและฝางโดยใช้สารเคลือบกันน้ำไมโครแวกซ์สำหรับงานหัตถกรรม https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16312 <p>The Preparation of Naturally Dyed Banana Rope (<em>Musa</em> ×<em> paradisiaca</em> L.) from <em>Curcuma longa</em> L. and <em>Caesalpinia sappan</em> L. Using Micro–wax Coating for Handicraft Products</p> <p> </p> <p>Pawinee Theamdee,<sup> </sup>Sudarat Khadsai and Waranya Puborom</p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong><strong>: </strong>19 กรกฎาคม 2567;<strong> แก้ไขบทความ: </strong>26 กันยายน 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์: </strong>6 ตุลาคม 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 28 พฤศจิกายน 2567 </p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมเชือกกล้วยน้ำว้าย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้สารเคลือบกันน้ำไมโครแวกซ์สำหรับงานหัตถกรรม โดยเลือกใช้กาบกล้วยน้ำว้าสดในการเตรียมเชือก จากนั้นย้อมสีเชือกกล้วยด้วยสีธรรมชาติจากขมิ้น<em> (Curcuma longa</em> L.) และฝาง (<em>Caesalpinia sappan</em> L.) ศึกษาปริมาณสารเคลือบกันน้ำไมโครแวกซ์ ศึกษาปริมาณสารเคลือบไมโครแวกซ์ โดยใช้ความเข้มข้น 5 ระดับ คือ ร้อยละ 0 0.1 0.3 0.5 และ 0.7 ผสมลงในสารละลายพาราฟินแวกซ์ ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จากนั้นใช้แปรงทาสารเคลือบลงบนเชือกกล้วยที่ย้อมสีธรรมชาติตามอัตราส่วนที่กำหนด เพื่อนำตัวอย่างมาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางกล ได้แก่ ค่าสี ค่าปริมาณน้ำอิสระ การดูดซึมน้ำ การละลายน้ำ การดูดซับความชื้น การต้านทานแรงเจาะ การต้านทานแรงเฉือน และศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและการย่อยสลายโดยธรรมชาติของตัวอย่าง พบว่า ปริมาณน้ำอิสระมีค่าอยู่ระหว่าง 0.35–0.40 เมื่ออัตราส่วนของสารเคลือบไมโครแวกซ์มากขึ้น ค่าความสว่าง (L<em>*</em>) ร้อยละการดูดซึมน้ำ ร้อยละการละลายน้ำ และร้อยละการดูดซับความชื้นของเชือกกล้วยย้อมสีจากขมิ้นและฝางมีค่าลดลง ส่วนความต้านทานแรงเจาะ และความต้านทานแรงเฉือนมีค่ามากขึ้น เมื่อเพิ่มอัตราส่วนสารเคลือบไมโครแวกซ์ร้อยละ 0.7 ความต้านทานแรงเฉือน และความต้านทานแรงเจาะมีค่าลดลง และจากการศึกษาร้อยละการย่อยสลายโดยการฝังดิน พบว่า ร้อยละการย่อยสลายอยู่ในช่วง 16–24 ของเชือกกล้วยย้อมสีธรรมชาติจากขมิ้นและฝางเคลือบด้วยสารกันน้ำที่อัตราส่วนต่าง ๆ ในระยะเวลา 3 เดือน ดังนั้นเชือกกล้วยย้อมสีธรรมชาติจากขมิ้นและฝางเคลือบด้วยสารกันน้ำไมโครแวกซ์ร้อยละ 0.3 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เชือกกล้วย ไมโครแวกซ์ สารเคลือบกันน้ำ สีย้อมธรรมชาติ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This study aimed to prepare naturally dyed banana rope using a micro–wax coating for handicraft products. Fresh banana stalks were used to prepare the rope, which was then dyed with natural colors from <em>Curcuma longa</em> L. and <em>Caesalpinia sappan</em> L. The micro–wax coating was varied at five concentration levels as 0, 0.1, 0.3, 0.5, and 0.7%, mixed into a 1% w/v paraffin wax solution and boiled at 100°C. A brush was used to apply the coating to the naturally dyed rope according to the specified ratios. The samples were then analyzed for physical, chemical, and mechanical properties, including color value, water activity, water absorption, water solubility, moisture absorption, puncture resistance, and shear resistance. Morphology and degradation of samples were also investigated. The water activity values ranged from 0.35 to 0.40. As the micro–wax coating ratio increased, the lightness (L<em>*</em>), the percentage of water absorption, water solubility, and moisture absorption of the samples decreased, while puncture resistance and shear resistance increased. However, when the micro–wax coating ratio was raised to 0.7%, both shear and puncture resistance decreased. A degradation study showed that the samples degraded by 16–24% after three months in the ground. Therefore, the most suitable ratio was determined to be 0.3% micro–wax coating for the banana rope dyed with <em>Curcuma longa</em> L. and <em>Caesalpinia sappan</em> L.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Banana rope, Micro–wax, Waterproof coating, Natural dyes</p> ภาวิณี เทียมดี, สุดารัตน์ ขัดสาย, วรัญญา ภูบรม Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16312 Thu, 28 Nov 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16240 <p><strong>Development of Young Children’s Number Sense </strong><strong>by Guided Play Experience Provision</strong></p> <p> </p> <p><strong>Jarintra Janthaudomsuk and Oraphan Butkatunyoo</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 12 มิถุนายน 2567;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 26 กรกฎาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 29 กรกฎาคม 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 7 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาพัฒนาการของความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัย อายุ 5–6 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะเพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวน และแบบประเมินความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนาที่สูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยรายด้านมีการพัฒนาสูงขึ้นตามลำดับ คือ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการนับ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ ความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนและความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ 2) พัฒนาการของความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยในภาพรวมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1–8 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นตามลำดับ คือ 1.99 2.11 2.33 2.42 2.53 2.71 2.95 และ 2.98 เด็กมีการพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน โดยเด็กสามารถนับจำนวน บอกปริมาณ เข้าใจการรวม การแยก ความสัมพันธ์และการเป็นตัวแทนผ่านการทำกิจกรรมคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ความรู้สึกเชิงจำนวน การจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะ เด็กปฐมวัย พัฒนาการ</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of this study were to 1) study the results of providing guided play experiences to develop young children’s number sense, and 2) study the development of young children’s number sense who received guided play experiences. The target group is 17 young children aged 5–6 years who are studying in kindergarten year 3, semester 2, academic year 2023, a school under the Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 1. The instruments used in this study consisted of 8 guided play experience lesson plans to promote young children’s number sense and the assessment form of young children’s number sense. Quantitative data were analyzed by using mean and standard deviation, and qualitative data were analyzed by content analysis and descriptive description. The results of this study showed that 1) the development of young children’s number sense was higher both overall and, in each aspect, respectively, in the areas of understanding of counting, operations, quantity, representation and relationships, and 2) development of young children’s number sense in order from 1–8 weeks had higher mean scores at 1.99, 2.11, 2.33, 2.42, 2.53, 2.71, 2.95, 2.98, respectively. Young children can develop their number sense such as counting, quantifying, adding, separation, relationship and representation through doing mathematical activities and applying them in situations related to their daily life.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Number sense, Guided play experience provision, Young children, Development</p> จรินทรา จันทอุดมสุข, อรพรรณ บุตรกตัญญู Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16240 Sat, 07 Dec 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการสร้างการ์ตูนช่อง เรื่อง ฮอร์โมนพืช https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/15776 <p><strong>Development of Grade 10 Students’ Creativity and Innovation Competency through Creating Plant Hormone Comics</strong></p> <p> </p> <p><strong>Atthapol Hommai, Santichai Anuworrachai and Pongprapan Pongsophon</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong><strong>:</strong> 28 พฤศจิกายน 2566;<strong> แก้ไขบทความ:</strong> 2 กรกฎาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์: </strong>7 กรกฎาคม 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์:</strong> 6 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้โครงการเป็นฐาน ผ่านการสร้างการ์ตูนช่อง เรื่อง ฮอร์โมนพืช โดยการพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมนั้น วัดจาก 2 ส่วน คือ คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และร้อยละของคะแนนเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งสมรรถนะดังกล่าวมีทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด โดยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้มาจากการใช้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มาวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ในแต่ละตัวชี้วัด ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดที่ 7 การมองความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้ คือ ตัวชี้วัดที่มีผู้เรียนที่มีพัฒนาการสัมพัทธ์ระดับสูงมากเป็นจำนวนมากที่สุด ขณะที่ตัวชี้วัดที่ 3 การพรรณนา วิเคราะห์ และประเมินความคิดของตนเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ ตัวชี้วัดที่มีผู้เรียนที่มีพัฒนาการสัมพัทธ์ทางบวกเป็นจำนวนมากที่สุด ในส่วนของร้อยละของคะแนนเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งได้มาจากการเก็บสะสมคะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมและตรวจสอบชิ้นงานของผู้เรียนที่แสดงถึงแต่ละตัวชี้วัดไว้ โดยใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ชนิด พบว่า ตัวชี้วัดที่ผู้เรียนมีคะแนนสูงที่สุด คือ ตัวชี้วัดที่ 8 การนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมและมีประโยชน์ สำหรับการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีนั้น เก็บเครื่องมือโดยใช้บันทึกหลังสอน และบันทึกการนิเทศ แล้วนำมาสังเคราะห์ พบแนวปฏิบัติที่ดี 2 ประการ ได้แก่ 1) ครูควรให้อิสระทางความคิดแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และ 2) การเพิ่มกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่มทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>สมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม, การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้โครงการเป็นฐาน, การ์ตูนช่อง</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of this classroom action research were to develop creativity and innovation competency and identify the best practices for enhancing creativity and innovation competency in grade 10 students using project–based learning through creating plant hormone comics. The development of creativity and innovation competency was assessed through two measures: relative development scores and the percentage of the score compared to the full score for each of the eight indicators of this competency. The relative development score was derived from a creativity and innovation competency test for each indicator. The results indicated that Indicator 7, “viewing failure as a learning opportunity,” has the highest number of students achieving very high relative development scores. Indicator 3, “describing, analyzing and evaluating one’s own ideas for developing creativity,” shows the highest number of students with positive relative development scores. The percentage scores relative to the full score for each indicator were obtained by observing behavior and evaluating student work that demonstrated the characteristics of each indicator using five research tools. The results revealed that Indicator 8, “using creativity to create concrete and useful innovations,” had the highest percentage score. The best practices were synthesized from lesson plans and feedback notes. The findings suggested two best practices: 1) Teachers should encourage students to think freely to foster creativity development, and 2) Enhancing communication within group activities to increase students’ confidence in presenting and providing quality suggestions.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Creativity and innovation competency, Project–based learning, Comics</p> อรรถพล หอมไม้ , สันติชัย อนุวรชัย, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/15776 Fri, 06 Dec 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16295 <p><strong>Development of an Innovative Learning Media with Augmented Reality Technology to Enhance Scientific Concepts on Lipids for Upper Secondary Students</strong></p> <p> </p> <p><strong>Saovanit Kitcharoenpanya and Sairoong Saowsupa</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong><strong>:</strong> 6 กรกฎาคม 2567;<strong> แก้ไขบทความ: </strong>24 ตุลาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์: </strong>14 พฤศจิกายน 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์:</strong> 10 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and development, R&amp;D) กลุ่มเป้าหมายหลักในงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูสอนเคมีและครูสอนชีววิทยาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 6 ท่าน 2) ผู้ประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนเรื่อง ลิพิด มาแล้วจำนวน 15 คน และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกสัมภาษณ์ออนไลน์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานและลักษณะสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) แบบประเมินความความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scales) 5 ระดับ 4) แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบปรนัย 2 ระดับ ซึ่งตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามชนิดปรนัย และตอนที่ 2 เป็นแบบอัตนัยหรือเขียนอธิบายคำตอบที่เลือกตอบในตอนที่ 1 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่าการประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 (SD = 0.41) และ 4.52 (SD = 0.58) ตามลำดับ จัดอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด และประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5112 แสดงให้เห็นว่าสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมนี้สามารถช่วยให้นักเรียนมีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.12 นอกจากนี้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 (SD = 0.69) จัดอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมีประสิทธิภาพในการพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ลิพิด</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This study aimed to develop innovative learning tools using augmented reality (AR) technology to enhance understanding of lipid–related scientific concepts among upper secondary students. Employing a research and development (R&amp;D) approach, the research engaged three key groups: 1) Six chemistry and biology teachers from upper secondary levels as informants, 2) Three content experts and learning media technicians as evaluators of the innovative learning media, along with fifteen 11th–grade students with prior lipid learning experience, and 3) A 10th–grade classroom as participants. Research instruments included: 1) A structured online interview form to capture foundational information and characteristics of the AR–based learning media, 2) The AR–based Innovative Learning Media itself, 3) Evaluation of the media's suitability and consistency using a 5–level rating scale, 4) A science concept test comprising two–tier multiple–choice questions and subjective explanations for selected answers, and 5) A satisfaction questionnaire utilizing a 5–level rating scale. Results indicated high approval from both experts (average score 4.73, SD = 0.41) and students (average score 4.52, SD = 0.58) regarding the effectiveness of the AR learning media. An effectiveness index (E.I.) of 0.5112 demonstrated a notable 51.12% increase in understanding of lipid concepts. Moreover, student satisfaction with the innovative learning media was notably high, averaging 4.35 (SD = 0.69). This research underscores the efficacy of AR technology in improving lipid concept com-prehension among upper secondary students.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Innovative learning media, Augmented reality technology, Scientific concepts, Lipids</p> เสาวนิตย์ กิจเจริญปัญญา, สายรุ้ง ซาวสุภา Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16295 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0000 การศึกษาความสามารถในการนำเสนอตัวแทนความคิดเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16063 <p><strong>The 11th Grade Students’ Representation Competency </strong><strong>on Chemical Equilibrium</strong></p> <p> </p> <p><strong>Sikareth Ampai</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 28 มีนาคม 2567; <strong>แก้ไขบทความ</strong>: 12 สิงหาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 9 กันยายน 2567; <strong>ตีพิมพ์บทความออนไลน์</strong>: 15 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมุ่งที่จะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเชิงลึกเพื่อศึกษาว่านักเรียนมีความสามารถในการแสดงตัวแทนความคิด 3 ระดับ คือระดับมหภาค จุลภาค และสัญลักษณ์เป็นอย่างไร ผ่านการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาของวิชาเคมี เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลเคมี โดยที่ไม่ได้จัดกระทำสิ่งทดลองใด ๆ ให้กับนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 40 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการอุปนัยจากการอ่านข้อมูลในกระดาษนำเสนอตัวแทนความคิด 3 ระดับ ของทุกกลุ่ม ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีอีก 2 ท่าน พิจารณาความคล้ายและความแตกต่างของคำตอบ เพื่อให้ได้แนวทางการสร้างประเด็นข้อค้นพบตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอตัวแทนความคิด โดยการจัดกลุ่มคำตอบของนักเรียนคำนึงถึงประเด็นที่พบและจำนวนของประเด็น ซึ่งอาจทำให้ผลงานใน 1 กลุ่ม พบประเด็นมากกว่าหนึ่งประเด็น ได้ข้อสรุปจำนวน 5 ประเด็น คือ 1) การนำเสนอตัวแทนความคิดของปฏิกิริยาในระดับจุลภาคที่แสดงกลไกการเกิดปฏิกิริยา (mechanism) ไม่ครบขั้นตอน 2) การไม่ได้แสดงตัวแทนความคิดของความเคลื่อนไหว (movement) ของอนุภาคสาร ทุก ๆ ขั้นตอนในระดับจุลภาค 3) การแสดงตัวแทนความคิดของการเปลี่ยนของสมดุลในระดับจุลภาคโดยไม่คำนึงถึงจำนวน สัดส่วนของอนุภาคที่จะต้องสัมพันธ์กันระหว่างสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ในระบบสมดุลเคมี 4) การนำเสนอตัวแทนความคิดของปรากฏการณ์ในระดับมหภาคโดยใช้การบรรยาย ไม่วาดภาพ หรือวาดภาพแต่แสดงไม่ครบขั้นตอน เลือกตัวแทนสีไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 5) การนำเสนอตัวแทนความคิดของปรากฏการณ์ในระดับจุลภาคโดยใช้รูปเรขาคณิต ไม่ใช้รูปร่างโมเลกุล ไอออน อนุมูลกลุ่มตามความรู้เดิม</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ตัวแทนความคิด ความสามารถในการสร้างตัวแทนความคิด สมดุลเคมี</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This research is qualitative research that focused on explaining the phenomena that occur in depth among students. The objective was to study how students were able to represent ideas at three levels: macroscopic, sub–microscopic and symbolic levels. Through organizing learning in the content of the chemistry subject on factors affecting chemical equilibrium did not conduct any experiments for the students. The participants of this study was 40 students who studied in Grade 11 at a large school in Bangkok. Data were analyzed using an inductive process from reading the information in the paper, presenting representatives of 3 levels of thinking of all groups, together with two experts in chemistry learning management, considering similarities and differences in the answers. To gain guidelines for creating sample findings related to presenting representative ideas. Grouping of student responded considers the issues found and the number of issues. This may cause more than one issue to be found in the work of one group. A total of 5 points were concluded: 1) Presentation of a representative idea of the reaction at the sub–microscopic level that shows the mechanism of the reaction (mechanism) is incomplete. 2) Not representing the idea of the movement of particles at every step at the sub–microscopic level. 3) Conceptual representation of sub-microscopic level in equilibrium shifts regardless of quantity. The proportion of particles that must be related between reactants and products in a chemical equilibrium system. 4) Presenting a representative idea of a macroscopic level phenomenon using a lecture, not drawing, or drawing a picture but not fully showing the steps. Select a color representative not consistent with empirical data. 5) Presenting a conceptual representation of a microscopic phenomenon using geometric figures. The shapes of molecules, ions, and group radicals were not used according to previous knowledge.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Representation, Representation competency, Chemical equilibrium</p> สิขเรศ อำไพ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16063 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0000 การออกแบบบอร์ดเกม The Secret of Endocrine System เพื่อส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/15681 <p><strong>Designing the Board Game Titled ‘The Secret of Endocrine System’ for Promoting Grade 12 Students’ Scientific Conceptions </strong><strong>in the Endocrine System</strong></p> <p> </p> <p><strong>Partorn Phongpaijit, Suradet Sritha and Orawan Kuhapensang</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 20 ตุลาคม 2566;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 20 เมษายน 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 23 เมษายน 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 19 มิถุนายน 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของคณะผู้วิจัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกิดการเรียนรู้เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมและกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการออกแบบบอร์ดเกม เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ที่ยินดีเป็นอาสาสมัครจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบตรวจความถูกต้องด้านเนื้อหา และกติกาของบอร์ดเกมเรื่องระบบต่อมไร้ท่อ 2) แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ 3) บันทึกหลังสอนของผู้วิจัยและ 4) ใบบันทึกการรับรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการนำบอร์ดเกมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่า IOC และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ดเกมทุกใบ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.8 ข้อมูลในการ์ดมีความถูกต้องเหมาะสมในด้านเนื้อหา และจากการทดสอบเกมกับผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปว่าบอร์ดเกมมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในด้านกลไก กติกา วัสดุ และภาพรวมของเกม 2) ผลการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการออกแบบบอร์ดเกมมีดังนี้ แนวปฏิบัติที่ 1 การปรับรูปแบบการเล่นโดยแบ่งการเล่นเกมเป็นเกมย่อย ๆ ให้เล่นได้ง่ายขึ้น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาเบื้องต้น และสามารถเล่นเกมตามกติกาเต็มรูปแบบง่ายขึ้น แนวปฏิบัติที่ 2 การสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจกติกาของเกมที่กำหนดไว้ก่อนการเล่นจริงในห้องเรียน ช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้ แนวปฏิบัติที่ 3 การสรุปความรู้ในแต่ละคาบเรียนหลังจากการเล่นเกมจบ ควรใช้วิธีการสรุปความรู้ที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลบริบทของกลุ่มเป็นฐานในการสรุปความรู้ และแนวปฏิบัติที่ 4 การสื่อสารระหว่างการเล่นเกมโดยการให้นักเรียนพูดชื่อฮอร์โมนและข้อมูลในการ์ด ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยมีเกมเป็นสื่อกลางกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>บอร์ดเกม ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This research is a classroom action research conducted by the researchers regarding good practices in developing an educational game to promote grade 12 students to learn about the endocrine system. The objectives were to develop the board game and learning activities titled ‘The Secret of the Endocrine System’ and to examine guidelines in designing the board game for use in game–based learning. The study group was comprised of grade 12 students in the academic year 2022 who volunteered to participate. The research tools consisted of: 1) A content validity check form and the rules of the board game titled ‘The Secret of the Endocrine System’; 2) Scientific conceptual test in the endocrine system 3) Post–teaching notes of the researchers; 4) Students’ perception records regarding the use of the board game in learning management. The data were analyzed by using IOC values and performing content analysis. The results indicated as follows: 1) All game cards had an IOC value of at least 0.80. The content of the information on the cards was accurate and appropriate. In addition, testing with experts revealed that the board game was appropriate for use in learning management in terms of its mechanics, regulations, materials, and overall appearance. 2) The results of the study of best guidelines in designing the board game were as follows: Guideline 1: Adjusting the playing style by dividing the game into smaller games makes it simpler for students to comprehend the fun-damental content and play the game according to the complete rules. Guideline 2: Raising awareness and emphasizing the importance of comprehending the rules of the game before actual play in the classroom facilitates a deeper understanding of the contents and an association to knowledge. Guideline 3: Summarizing each class’s knowledge. After playing the game, multiple summarization techniques should be implemented, and the group context information should serve as the basis for knowledge summarization. Guideline 4: Communicating while playing the game by assigning students to inform one another of the names of hormones and information on cards. This facilitates student learning through interaction with the game as a medium for association to knowledge.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Board game, Endocrine system, Secondary student</p> ภาธร พงศ์ไพจิตร, สุรเดช ศรีทา, อรวรรณ คูหเพ็ญแสง Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/15681 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0000 คุณภาพและความปลอดภัยของส่วนผสมหรือท็อปปิ้งเม็ดไข่มุกและเจลลี่ในชานม https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16281 <p><strong>Quality and Safety of Tapioca Pearl and Jelly Mixed </strong><strong>or Topped with milk Tea</strong></p> <p> </p> <p><strong>Kanokpan Somyoonsup, Nabilah Hayiawae, Sasithorn Thitipetcharakul, </strong><strong>Siriwan Khwanthongoo and Pornchanok Mueangporn</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong><strong>: </strong>10 กรกฎาคม 2567;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 14 พฤศจิกายน 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 19 พฤศจิกายน 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 18 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษานี้สำรวจตัวอย่างไข่มุกและเจลลี่จำนวน 40 ตัวอย่างในจังหวัดนนทบุรี โดยแบ่ง เป็นตัวอย่างจากร้านที่จำหน่ายถุงปิดผนึกพร้อมรับประทาน 14 ตัวอย่าง และจากร้านชานม 26 ตัวอย่าง พบว่าไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพทางเคมีและทางจุลชีววิทยารวมทั้งสิ้น 15 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 37.5) การวิเคราะห์ทางเคมีตรวจพบสารกันเสียทั้ง 40 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 100) โดยมี 9 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 22.5) เกินเกณฑ์มาตรฐาน ระดับกรดเบนโซอิกอยู่ในช่วง 102–5,546 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมจำนวน 5 ตัวอย่าง โดย 3 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 7.5) เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ส่วนระดับกรดซอร์บิกอยู่ในช่วง 192–231 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมจำนวน 3 ตัวอย่างซึ่งทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พบสารกันเสียทั้ง 2 ชนิดใน 32 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 80) ในช่วง 79.4–3,089 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 6 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 15) เกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยค่าเกินมาตรฐานนั้นเป็นตัวอย่างประเภทบรรจุถุงปิดสนิทแบบพร้อมรับประทานถึง 8 ตัวอย่าง การทดสอบด้านจุลชีววิทยา พบว่า 7 จาก 40 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 17.5) ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560) พบจำนวน 9 ตัวอย่างมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 10 CFU/กรัม จำนวน 31 ตัวอย่างอยู่ระหว่าง 10 ถึง 5.8×10<sup>6</sup> CFU/กรัม และจำนวน 5 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 12.5) อยู่ระหว่าง 1.0×10<sup>6</sup> ถึง 5.8×10<sup>6</sup> CFU/กรัม ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน พบโคลิฟอร์ม (coliforms) ตั้งแต่ 3.6 ถึง &gt;1,100 MPN/กรัมถึง 15 ตัวอย่าง มีจำนวน 2 ตัวอย่างที่มีโคลิฟอร์มจากอุจจาระ (fecal coliforms) ในช่วง 14 ถึง 110 MPN/กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 2.5) มี <em>Escherichia coli</em> เกินเกณฑ์ในปริมาณ 3 MPN/กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 2.5) มีจำนวน 13 ตัวอย่างยีสต์อยู่ในช่วง 20 ถึง 1,100 CFU/กรัม โดย 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.5) เกินเกณฑ์มาตรฐาน 1×10<sup>3</sup> CFU/กรัม มี 1 ตัวอย่างที่พบรา 30 CFU/กรัม และทุกตัวอย่างตรวจไม่พบ <em>Bacillus </em><em>cereus</em> <em>Staphylococcus aureus</em> และ <em>Salmonella</em> spp.</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>เม็ดไข่มุก เจลลี่ คีออส กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The study surveyed 40 tapioca pearl and jelly samples in Nonthaburi Province, including 14 samples from stores selling ready–to–eat sealed bags and 26 samples from milk tea kiosks. Fifteen samples (37.5%) did not pass criteria of the chemical and microbiological qualities. Chemical analysis detected preservatives in all 40 samples (100%) by 9 samples (22.5%) exceeding standard limits. Benzoic acid levels were in a range of 102–5,546 mg/kg with 5 samples and 3 samples (7.5%) exceeding the standard limit. Sorbic acid levels were in a range of 192–231 mg/kg with 3 samples which were in the standard limit. Two types of preservatives were found in 32 samples (80%), with levels ranging from 79.4–3,089 mg/kg and six samples (15%) exceeded the standard. Notably, this excess was observed in 8 ready–to–eat sealed bag samples. Microbiological testing revealed that 7 out of 40 samples (17.5%) did not meet the standards set by the Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health (3rd issue, 2017). The total microbial count was less than 10 CFU/g in 9 samples, between 10 to 5.8×10<sup>6</sup> CFU/g in 31 samples, and between 1.0×10<sup>6</sup> to 5.8×10<sup>6</sup> CFU/g in 5 samples (12.5%), which exceeded the standard criteria. Coliforms ranged from 3.6 to &gt;1,100 MPN/g in 15 samples. Fecal coliforms ranged from 14 to 110 MPN/g in 2 samples. <em>Escherichia coli</em> exceeded the standard limit at 3 MPN/gram in one sample (2.5%). Yeasts ranged from 20 to 1,100 CFU/g in 13 samples, with one sample (2.5%) exceeding the standard limit of 1×10<sup>3</sup> CFU/g. Mold was detected at 30 CFU/g in one sample. <em>Bacillus cereus</em>, <em>Staphylococcus aureus</em> and <em>Salmonella</em> spp. were not detected in all samples.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Tapioca pearl, Jelly, Kiosk, Benzoic acid, Sorbic acid</p> กนกพรรณ สมยูรทรัพย์, นาบีละ หะยีอาแว, ศศิธร ฐิติเพชรกุล, ศิริวรรณ ขวัญทองอ่อน, พรชนก เมืองพรหม Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16281 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0000 ปริมาณฝุ่น PM2.5 ของธูปจากขี้เลื่อยไม้สักและใบมะกรูดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16223 <p><strong>PM2.5 Dust Content of Incense Sticks from Teak Sawdust </strong><strong>and Kaffir Lime Leaves Powder in Different Ratios</strong></p> <p> </p> <p><strong>Thiti Wanishdilokratn, Judtawan Nawan, </strong><strong>Supaporn Tharasukkun and Trairat Neimsuwan</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 5 มิถุนายน 2567;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 29 สิงหาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 2 กันยายน 2567;<strong> ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 22 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่น PM2.5 ของธูปจากขี้เลื่อยไม้สักและผงใบมะกรูดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยได้ทำการหาค่าความชื้นและความหนาแน่นของขี้เลื่อยไม้สักและผงใบมะกรูด รวมถึงทำการผลิตธูปในอัตราส่วนขี้เลื่อยไม้สักต่อผงใบมะกรูด จำนวน 6 สูตร ได้แก่ สูตร A (100: 0) สูตร B (80: 20) สูตร C (60: 40) สูตร D (40: 60) สูตร E (20: 80) และสูตร F (0: 100) จำนวนสูตรละ 10 ซ้ำ รวมทั้งสิ้น 60 แท่ง ผลการทดลองพบว่าค่าความชื้นต่ำที่สุดคือขี้เลื่อยไม้สักซึ่งมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 10.93±0.72 ส่วนค่าความหนาแน่นที่สูงที่สุดคือผงใบมะกรูดซึ่งมีค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 239.06±6.87 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และธูปสูตร A มีปริมาณฝุ่น PM2.5 น้อยที่สุดเฉลี่ย 266.96±9.21 µg/m<sup>3 </sup>โดยปริมาณของผงใบมะกรูดที่เพิ่มขึ้นในธูปจะส่งผลต่อปริมาณความหนาแน่นของธูปทำให้ปริมาณฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ขี้เลื่อยไม้สัก ความหนาแน่น ธูป ผงใบมะกรูด</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>This research aimed to study the PM2.5 dust content of incense sticks from teak sawdust and kaffir lime leaves powder in different ratios. The moisture content and density of teak sawdust and kaffir lime leaves powder were determined, and incense was produced in 6 different ratios of teak sawdust to kaffir lime leaves powder: Formula A (100:0), Formula B (80:20), Formula C (60:40), Formula D (40:60), Formula E (20:80), and Formula F (0:100), with 10 repetitions per formula, totaling 60 sticks. The experimental results showed that the lowest moisture content was found in teak sawdust, with an average moisture content of 10.93±0.72%. The highest density was found in kaffir lime leaves powder, with an average density of 239.06±6.87 kg/m³. Incense made with Formula A had the lowest PM2.5 dust concentration, averaging 266.96±9.21 µg/m³. The increase of kaffir lime leaves powder in the incense affected the PM2.5 dust concentration.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Teak sawdust, Density, Incense sticks, Kaffir lime leaves powder</p> ธิติ วานิชดิลกรัตน์, จุดตะวัน ณวรรณ, สุภาภรณ์ ธราสุขกุล, ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16223 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0000 ผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองเรื่องเคมีไฟฟ้าที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16114 <p><strong>Effects of Model–Centered Instructional Sequence in Electrochemistry</strong><strong> on Scientific Reasoning Abilities of Upper Secondary Students</strong></p> <p> </p> <p><strong>Thitirat Deesamer and Parinda Limpanont Promratana</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 26 เมษายน 2567;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 23 กรกฎาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 28 กรกฎาคม 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 25 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในกระบวนการแก้ปัญหาและการอภิปรายทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายของการศึกษาวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองเทียบกับเกณฑ์ และ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองและแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างจัดการเรียนรู้จากแบบบันทึกกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองเรื่องเคมีไฟฟ้า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 44.74 คะแนน (ร้อยละ 71.02) แต่ไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 69 อย่างมีนัย-สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การสร้างสมมติฐาน และการประเมินหลักฐาน ตามลำดับ และระหว่างจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองเรื่องเคมีไฟฟ้า นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนสูง กลุ่มคะแนนค่อนข้างสูง และกลุ่มคะแนนปานกลาง พบการเปลี่ยนแปลงการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในแต่ละองค์ประกอบมีพัฒนาการดีขึ้นในการจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2 4 และ 5 ตามลำดับ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง เคมีไฟฟ้า</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Scientific reasoning ability is crucial for students’ learning in problem–solving and scientific discussion. It is also a part of the current science education goals. The purposes of this study were to 1) compare the scores of students’ scientific reasoning abilities after learning through model–centered instructional sequence (MIS) compared to the criteria, and 2) investigate changes in scientific reasoning abilities during learning through MIS. The target group was 39 Grade–11 students at a senior secondary school. The research tools were the MIS lesson plans and a scientific reasoning ability test. In addition, activity sheets were used to analyze changes in scientific reasoning during learning activities. The results showed that after learning through MIS in electrochemistry, most students had a relatively high level of scientific reasoning ability. The average score was 44.74 points (71.02%). However, the average score was not statistically higher than the criterion score set at 69%. The components with the highest average scores were hypothesis generation and evidence evaluation, respectively. Students in the high, relatively high, and moderate score groups had shown progressive improvements in their scientific reasoning abilities during the second, fourth, and fifth sessions of the MIS in electrochemistry, respectively.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Scientific reasoning, Model–centered instructional sequence (MIS), Electrochemistry</p> ฐิติรัตน์ ดีเสมอ, ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16114 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0000 ผลการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการรู้จำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16161 <p><strong>Effects of Digital Learning </strong><strong>Sets</strong><strong> for Promoting Numeracy </strong><strong>of Young Children</strong></p> <p> </p> <p><strong>Kunphatson Foithong, Oraphan Butkatunyoo and Piyanan Hirunchalothorn</strong></p> <p> </p> <p><strong>รับบทความ</strong>: 20 พฤษภาคม 2567;<strong> แก้ไขบทความ</strong>: 26 กรกฎาคม 2567;<strong> ยอมรับตีพิมพ์</strong>: 28 กรกฎาคม 2567; <strong>ตีพิมพ์ออนไลน์</strong>: 24 ธันวาคม 2567</p> <p> </p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการรู้จำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5–6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนแห่งหนึ่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการรู้จำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 ชุด และแบบประเมินการรู้จำนวนของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าผลการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการรู้จำนวนของเด็กปฐมวัย มีคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายด้านซึ่งการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลสามารถพัฒนาการรู้จำนวนของเด็กปฐมวัย โดยเด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการสำรวจวัตถุ เข้าใจเกี่ยวกับการนับและบอกจำนวนวัตถุ เข้าใจเกี่ยวกับการมองภาพของวัตถุ เข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์แทนจำนวน เข้าใจเกี่ยวกับการแสดงวิธีการแก้ไขปัญหา วิธีการเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับครูหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการรู้จำนวนให้เด็กปฐมวัย</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>การรู้จำนวน ชุดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เด็กปฐมวัย</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objective of this research was to compare the results of using digital learning media sets to promote numeracy for young children. The target group for this research study are 13 young children aged 5–6 years who are studying in the kindergarten level 3 in the second semester of the academic year 2023 at a school in Nakhon Pathom province, the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office District 2. The tools used in the research include 8 sets of digital learning media to promote number literacy for young children and an assessment form of young children’s numeracy of young children.Quantitative data were analyzed using averages and standard deviation; qualitative data were analyzed by way of content analysis. The research findings showed that the use of digital learning media sets to promote numeracy among young children, both overall and in each aspect, yielded higher post–experiment scores than pre–experiment scores. The use of digital learning media sets can develop young children’s numeracy. Children were able to understand exploring objects, understand counting and telling the number of objects, understand the visualization of objects, understand symbols that represent numbers and understand how to display solutions. These methods can serve as guidelines for organizing activities for teachers or those who are interested in organizing activities using digital learning media sets to promote numeracy in young children.</p> <p><strong>Keywords: </strong>Numeracy, Digital learning sets, Young children</p> กุลภัสร ฝอยทอง, อรพรรณ บุตรกตัญญู, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16161 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0000 ดัชนีผู้แต่ง https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16532 สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16532 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0000 หน้าปกใน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16231 สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16231 Sat, 08 Jun 2024 00:00:00 +0000 กองบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16229 <p><strong>ที่ปรึกษา</strong></p> <p> </p> <p>คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>(ศาสตราจารย์ ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร)</p> <p> </p> <p><strong>บรรณาธิการ</strong></p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ</p> <p> </p> <p><strong>บรรณาธิการจัดการ</strong></p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ แก่นทอง</p> <p> </p> <p><strong>กองบรรณาธิการ</strong></p> <p> </p> <p>ศาสตราจารย์ ดร.วรรณทิพา รอดแรงค้า / สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</p> <p> </p> <p>ศาสตราจารย์ ดร.อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา / มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดือน สุวรรณจินดา / มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม / มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.พัดตาวัน นาใจแก้ว / มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ลีกิจวัฒนะ / สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.พิชาภัค ศรียาภัย / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี สุภาษร /มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ วุฒิพรหม / มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวรัตน์ จันทะโร / จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.โสภณ บุญลือ / มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.อภิเดช แสงดี / มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</p> <p> </p> <p>รองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข / จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา นุกูลธรรม / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ เพียซ้าย / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต เหมะวิบูลย์ /มหาวิทยาลัยนเรศวร</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทิมา ปิยะพงษ์ / มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพต พุ่มศรีภานนท์ / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ดิษเจริญ / มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาวรีย์ อรรถลังรอง / มหาวิทยาลัยศิลปากร</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนียา ร. นพรัตน์แจ่มจำรัส / มหาวิทยาลัยมหิดล</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย / มหาวิทยาลัยแม่โจ้</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยรัตน์ ดรบัณฑิต / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม / มหาวิทยาลัยมหิดล</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย / มหาวิทยาลัยแม่โจ้</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์ / มหาวิทยาลัยนเรศวร</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒินันท์ รักษาจิตร์ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนิษฐาน ศรีนวล / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์ / มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p> <p> </p> <p>อาจารย์ ดร.กานต์ยุพา จิตติวัฒนา / มหาวิทยาลัยมหิดล</p> <p> </p> <p>อาจารย์ ดร.ธีรวัฒนา ภาระมาตย์ / มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p> </p> <p>ดร.สมบัติ คงวิทยา /กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</p> <p> </p> <p>คุณวรรณวิมล เมฆบุญส่งลาภ / ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p> </p> <p>Prof. Dr. Wee Tiong Seah / Melbourne Graduate School of Education, The University of Melbourne 234 Queensberry Street Victoria 3010, Australia</p> <p> </p> <p>Dr. Bin Hong /China Institute of Medical Biotechnology, Chinese Academy of Medical Sciences and Peking Union Medical College, Taintanxili #1, Beijing 100050, China</p> <p> </p> <p>Dr. Vandna Rai / National Research Centre on Plant Biotechnology, Indian Agriculture Research Institute, New Delhi 110012, India</p> <p> </p> <p><strong>ฝ่ายศิลป์และภาพ</strong></p> <p> </p> <p>นายสัญญา พาลุน</p> <p> </p> <p><strong>ฝ่ายจัดการและเลขานุการ</strong></p> <p> </p> <p>นางชลรดา สารทสมัย</p> สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16229 Sat, 08 Jun 2024 00:00:00 +0000 รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16230 สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16230 Sat, 08 Jun 2024 00:00:00 +0000 ถ้อยแถลงบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16537 สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16537 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0000 สารบัญ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16533 สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ Copyright (c) 2024 วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/16533 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0000