จากบรรณาธิการ
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยกำลังตื่นตัวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ใน พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2510 ซึ่งมีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ แบ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บูรไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียตนาม ในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) นี้ประกอบด้วยประชาคมย่อยเพื่อความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่เรียกย่อว่า AEC ที่เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อนำไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single market and single production base) จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรี ซึ่งประเทศไทยรับหน้าที่เป็นฐานการผลิตด้านการท่องเที่ยวและการบิน นอกจากนี้ผู้บริโภคจะสามารถเลือกสรรสินค้าและบริการได้อย่างหลากหลายและเดินทางภายในภูมิภาคได้อย่างสะดวกและเสรีมากขึ้น ในยุคสารสนเทศเช่นปัจจุบันที่ทุกกิจกรรมขับเคลื่อนโดยอาศัยสารสนเทศ ห้องสมุดในฐานะองค์กรสารสนเทศจึงมีส่วนร่วมสำคัญในการสนับสนุนพันธกิจของ AEC โดยกำหนดเป็นนโยบาย การปรับ กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดบริการและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้ ทักษะด้านภาษา การทำงานเป็นทีม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาชีพและระหว่างองค์กรห้องสมุดต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องท้าทายของทุกห้องสมุดที่จะร่วมผลักดันให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ วารสารบรรณศาสตร์ มศว ยินดีรับบทความของนักวิชาการ บรรณารักษ์และนิสิตนักศึกษาที่จะสะท้อนมุมมองต่าง ๆ ในเรื่องนี้ เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ห้องสมุดในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
เตชาทวีวรรณ แ. (2013). จากบรรณาธิการ. บรรณศาสตร์ มศว, 6(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/3211
Section
Editorial