การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทยที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2542 - 2551

Main Article Content

ดวงกมล วงศ์จันทร์
แววตา เตชาทวีวรรณ
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2542-2551 ในด้านสถาบัน ปีที่พิมพ์ ขอบเขตเนื้อหา ประเภทของห้องสมุดเขตภูมิศาสตร์ วิธีวิจัย ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทยที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2542-2551 ของสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอน จำนวน 10 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น614 ชื่อเรื่อง เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันที่มีวิทยานิพนธ์จำนวนสูงสุด 157 ชื่อเรื่อง รองลงมาคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 118 ชื่อเรื่อง ขอบเขตเนื้อหาของวิทยานิพนธ์สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่มีการศึกษามากที่สุด คือ ทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ประเภทของห้องสมุดที่มีการศึกษามากที่สุด คือ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เขตภูมิศาสตร์ที่มีการศึกษามากที่สุด คือ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิธีวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุดคือ กลุ่มอาชีพที่หลากหลาย วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษามากที่สุด คือการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ แบบสอบถามหรือแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัยของวิทยานิพนธ์สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่มีการศึกษามากที่สุด คือ สถิติพรรณนา โดยใช้ค่าร้อยละมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงศ์จันทร์ ด., เตชาทวีวรรณ แ., & วชิรปรีชาพงษ์ ธ. (2013). การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทยที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2542 - 2551. บรรณศาสตร์ มศว, 4(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/2940
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)

1 2 3 > >>