การสูญเปล่าทางการศึกษาส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตของอุดมศึกษาไทย

Main Article Content

จตุพล ยงศร

Abstract

บทคัดย่อ การสูญเปล่าทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตของอุดมศึกษาไทยเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างการศึกษาของประเทศไทย และการบริหารจัดการการศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพ จากข้อมูลพบว่า มีเด็กและเยาวชนไทยใน แต่ละปีกว่าร้อยละ 60 จากจำนวนเด็กและเยาวชนไทยที่เกิดมาราวปีละประมาณ 9 แสนคน ได้หลุดหายออกไปจากระบบการศึกษาช่วงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งจากการคำนวณตัวเลขทางเศรษฐกิจทำให้ชุมชนและท้องถิ่นของเด็กและเยาวชนเหล่านั้นสูญเสียรายได้กว่า 85 ล้านบาทต่อปีที่ควรจะเป็นเงินกระตุ้นการใช้จ่ายและนำเงินมาหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจในชุมชนและท้องถิ่น เด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3  ซึ่งถือเป็นแรงงานขั้นต่ำมีรายได้ตลอดอายุการทำงานในช่วงอายุ 15-60 ปี น้อยกว่าคนจบปริญญาตรีถึง 2 เท่า ทำให้เสียรายได้กว่าปีละ 50 ล้านบาท และส่วนใหญ่จะเข้าไปเป็นแรงงานในเมืองใหญ่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 50% ของรายได้ ในขณะที่ผู้ปกครองเห็นว่าชุมชนและท้องถิ่นของตนเองไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพจึงตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในเมืองใหญ่ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างน้อยเฉลี่ย 2,500 บาทต่อคนต่อเดือน สภาพการณ์ที่กล่าวมานี้จึงนับเป็นการสูญเปล่าทางการศึกษาที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการจัดการศึกษาและคุณภาพการผลิตบัณฑิตของอุดมศึกษาไทยที่จะต้องเผชิญและปรับตัวในยุคของการปฏิรูปการศึกษา คำสำคัญ : การสูญเปล่าทางการศึกษา  คุณภาพบัณฑิตของอุดมศึกษาไ ABSTRACT In each year there were more than 60 percent of about 900,000 Thai children who disappeared from the education system during the lower secondary school (grade 7 - 9). From economy figure calculating, it resulted in lost income more than 85 million baht per year to their communities and locals, instead of bringing this money to stimulate the local economy. They were out of the education system before they finished their education at the lower secondary school (grade 9), that resulted in lower paid jobs affecting their lifetime earnings 15 - 60 years, which less than the earnings of someone with a bachelor’s degree 2 times. That was lost income of more than 50 million baht each year to the local communities. Most of them worked in the big cities, which had to pay the expenses more than 50 percent of their incomes. While their parents thought that their communities and locals could not manage the education well enough, so that they sent their children to study in the big cities, then they had to pay at least 2,500 baht per person and per month.     Keywords :    the waste of education, quality of graduates of Thai higher education  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ยงศร จ. (2017). การสูญเปล่าทางการศึกษาส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตของอุดมศึกษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9152
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)

Most read articles by the same author(s)