การพัฒนาตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทย โดยใช้การจัดการความรู้

Main Article Content

สุทัน มุมแดง
จตุพล ยงศร
จักรกฤษณ์ โปณะทอง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทยโดยใช้การจัดการความรู้ ด้วยระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสอบถามความคิดเห็นต่อตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทยในบริบทมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น กลุ่มในการพัฒนาตัวแบบ ประกอบด้วย กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ระดับคณะ ระดับหลักสูตร และหน่วยบริการของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้ จำนวน 14 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่สอง ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 5 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มในการประเมินตัวแบบ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำโรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม   แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทย ลักษณะมาตรประมาณค่า 5 ระดับ พร้อมหาคุณภาพด้วยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนาโดยอาศัยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ ตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทยประกอบด้วย 9 ด้าน  คือ 1) มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีรากฐานที่มั่นคงและวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้านอาหารไทย 2) กำหนดเป้าหมาย พันธกิจ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมีการเชื่อมโยงทั่วทั้งองค์กร 3) กระบวนการทำงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5) การปรับองค์กรต่อสภาพแวดล้อม 6) การได้รับความเชื่อถือและการยอมรับในชื่อเสียงและผลงาน 7) สืบสาน รักษา และพัฒนาบุคลากร        8) ระบบการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ และ 9) การมุ่งมั่นพัฒนาความเป็นเลิศด้านอาหารไทยของมหาวิทยาลัย และผลการพิจารณาตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทยจากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า อันดับที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีรากฐานที่มั่นคงและวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้านอาหารไทย และรองลงมา ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และผลการประเมินตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทย พบว่า ภาพรวมทั้งหมดมีความคิดเห็นในระดับมาก (= 4.05, S.D. = 0.43) โดยอันดับแรก ได้แก่ การได้รับความเชื่อถือและการยอมรับ ในชื่อเสียงและผลงาน (= 4.13, S.D. = 0.56)  รองลงมา ได้แก่ การมุ่งมั่นพัฒนาความเป็นเลิศด้านอาหารไทย (= 4.10, S.D. = 0.58) คำสำคัญ : ตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทย  การจัดการความรู้ด้านอาหารไทย   ABSTRACT This research aimed to develop and evaluate a model for a university that is excellent in Thai culinary. The mixed-methods research were structured interviews and individual opinion interviews toward SUAN DUSIT University (SDU), that is considered as excellent in Thai culinary. The key informants were chosen by purposive samplings in to 2 main groups. The first group for developing a model consisted of the faculty executives, the curriculum executives, the university service centers and 14 knowledge management experts. The second group for evaluating a model comprised 5 university executives and 48 teachers from the SDU School of Culinary Arts. The data collection were from group discussion records, structured interview forms, face-to-face questionnaires mainly inquiring about models of being a university that is excellent at Thai culinary, Five rating scales were designed by the researcher and its quality was checked in content validity from experts, content analyses, and descriptive statistics i.e. frequencies, averages, and standard deviations. The salient findings were as follows: A model to be a university that is excellent at Thai food comprised 9 aspects. They are (1) Suan Dusit University has a strong base and Thai food learning cultures, (2) goals, duties, policies, and strategies within the organization, (3) working processes in accordance with the university mission, (4) leadership of changes, (5) organizational adjustments to fit environment 6) being accredited and accepted for university reputation and performances 7) maintaining, and improving human resource, 8) knowledge creating and collecting systems, and 9) the SDU determination to develop itself to be a university that is excellent at Thai food. The result of constructing such a moded from the focus group of experts, found that the highest frequency was a stability foundation and a culture learning of Thai food in Suan Dusit University, followed by transformational leadership. The opinions of the informants toward a model and a way to be a university that is excellent at Thai food revealed that they were all highly agreed (= 4.05, S.D. = 0.43)  and said that reputation and performances of SDU is accredited (= 4.13, S.D. = 0.56)  and SDU determines to develop its Thai food excellence   ( = 4.10, S.D. = 0.58).   Keywords: A Models for University Excellence in Thai Food, Knowledge Management in Thai Food  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มุมแดง ส., ยงศร จ., & โปณะทอง จ. (2019). การพัฒนาตัวแบบการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านอาหารไทย โดยใช้การจัดการความรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11847
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)