แนวทางการพัฒนาโรงเรียนวัดสมณานัมบริหารให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตตาม ความต้องการของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัคธีรา พงศ์ศรีตรีเนตร
สนอง โลหิตวิเศษ
กัมปนาท บริบูรณ์

Abstract

บทคัดย่องานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนวัดสมณานัมบริหารให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามความต้องการของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใน 4 ด้าน คือด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านวิชาการ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์ชุมชน 2) เปรียบเทียบความต้องการของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาค จำแนกตามสถานภาพชุมชนที่อยู่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และขนาดของครอบครัว และ 3) รวบรวมข้อเสนอแนะของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนวัดสมณานัมบริหารให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตกลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน และหัวหน้าหลังคาเรือน จำนวน 350 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t- test, F-test, และการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนวัดสมณานัมบริหารให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาค โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ชุมชน และด้านวิชาการ ตามลำดับ เปรียบเทียบความต้องการของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาค จำแนกตามสถานภาพชุมชนที่อยู่ เพศ อายุระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และขนาดของครอบครัว พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนมีความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านวิชาการสูงกว่าผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในชุมชนริมทางรถไฟสายแปดริ้วมีความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านวิชาการสูงกว่าชุมชนวัดญวน–คลองลำปัก และชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายมีความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมสูงกว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 31– 40 ปี มีความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และด้านวิชาการสูงกว่ากลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีต้องการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และวิชาการสูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพรับราชการมีความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมและด้านวิชาการสูงกว่าอาชีพรับจ้าง และค้าขาย กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีรายได้ และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไปมี ความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 2,000 บาท กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดครอบครัวขนาดเล็กมีความต้องการพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และด้านกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าขนาดครอบครัวขนาดกลาง และขนาดใหญ่3. ข้อเสนอแนะของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาคคือ โรงเรียนควรมีลานอ่านหนังสือและสนามเด็กเล่น จัดการศึกษา กศน. และจัดฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นที่มีในท้องถิ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พงศ์ศรีตรีเนตร ภ., โลหิตวิเศษ ส., & บริบูรณ์ ก. (2015). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนวัดสมณานัมบริหารให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตตาม ความต้องการของชุมชนแขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6724
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)