การวิเคราะห์องค์ประกอบของจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสานวิธีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวัดจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ การสอนสังคมศึกษา และจิตวิทยาการศึกษา จำนวน 7 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 187 คน ได้จากการคำนวนขนาดตัวอย่างของโมเดลเพื่อทำแบบวัดจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ มีลักษณะเป็นแบบวัดปรนัยและอัตนัย จำนวน 7 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์เป็นลักษณะหนึ่งของจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิพากษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิพากษ์เรื่องราวในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องได้รับ การพัฒนาให้เกิดกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยมากที่สุด เมื่อสังเคราะห์ออกมาได้ 5 องค์ประกอบ คือ จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ด้านการรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่า และการสร้างคุณลักษณะ ซึ่งโมเดลจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 1.11, df = 4, p = .893, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01 และ CFI = 1.00) โดยองค์ประกอบด้านการจัดระบบคุณค่ามีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างคุณค่า ด้านการสร้างคุณลักษณะ ด้านการตอบสนอง และด้านการรับรู้ คำสำคัญ: จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์, การสอนประวัติศาสตร์, จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ ABSTRACT This mixed method research study aims at synthesizing the elements of critical historical consciousness among high school students; analyzing confirmatory factors of it; and examining the relationship between the critical historical consciousness and empirical data. The target population includes seven experts on history, history instruction and educational psychology who provided in-depth interview information using semi structured questionnaire and 187 high school students who took seven sets of written and multiple-choice critical historical consciousness exam. Content analysis method was applied to analyze the qualitative data while confirmatory factors analysis method was used on quantitative part. The results of the study show that critical historical consciousness should be developed among Thai high school students the most. According to the experts, it should be done in a way that focuses on the criticizing of historical evidence and on the ability to use historical method to criticize the present events. The five elements include receiving critical historical consciousness, responding, value creating, value organizing and characterization. This critical historical consciousness model is found to be related to empirical data (c2 = 1.11, df = 4, p = .893, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01 and CFI = 1.00). The element with the highest weight is value organizing, followed by value creating, characterization, responding and receiving respectively. Keywords: Critical Historical Consciousness, Teaching History, Historical Consciousness
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
อารมย์ชื่น จ., & บริบูรณ์ ก. (2022). การวิเคราะห์องค์ประกอบของจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 19–34. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13386
Section
บทความวิจัย (Research Articles)