การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) สำรวจและศึกษาสภาพลักษณะโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย (2) วิเคราะห์องค์ประกอบและรูปแบบของโรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ และ (3) ทราบแนวทางการพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพลักษณะโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยงานในพื้นที่และมีการดูแลในรูปแบบ ที่แตกต่างกัน สภาพลักษณะของโรงเรียนมีการปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานและความปลอดภัยของผู้สูงอายุ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การเสริมสนับสนุน มีผู้นำ/ผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์ และ มีหน่วยงานสนับสนุนบุคลากรมาเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียน 2. องค์ประกอบของโรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ พบว่า มีองค์ประกอบดังนี้ (1) มีความเข้มแข็งของกลุ่ม แกนนำ สมาชิก (2) มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย (3) มีเป้าหมายร่วมกัน (4) มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง หลากหลาย (5) มีกองทุน งบประมาณ (6) มีการบริหารจัดการที่ดี มีการจัดการตนเอง (7) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (8) มีความเกื้อกูล สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (9) มีคุณค่า ได้รับการยกย่อง มีส่วนร่วมทำประโยชน์ต่อชุมชน และ (10) มีการถ่ายทอดประสบการณ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับรูปแบบของโรงเรียนมี 3 รูปแบบ (1) ชุมชนจัดการตนเอง (2) พึ่งพาหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และ (3) แบบบูรณาการ 3. การพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย มีความสอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนา 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาอัตลักษณ์ของโรงเรียน (2) การพัฒนาโรงเรียนในฐานะของการเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ (3) การเผยแพร่องค์ความรู้ของสมาชิก ในโรงเรียน และ (4) การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างโรงเรียนและคนในสังคม
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
คงเจริญ ม., & บริบูรณ์ ก. (2021). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13527
Section
บทความวิจัย (Research Articles)