การกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (CORPORATE GOVERNANCE AND FIRM PERFORMANCE OF LISTED COMPANIES IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND)
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ยกเว้นบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน) ระหว่าง ปี พ.ศ.2556 - 2558 จำนวน 367 บริษัท โดยเน้นไปที่ปัจจัยของการกำกับดูแลกิจการในเรื่องของสัดส่วนกรรมการสตรีในคณะกรรมการบริหาร หลายประเทศในปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปให้ความสำคัญกับการมีสตรีดำรงตำแหน่งบริหารมากขึ้น โดยเชื่อว่าผู้บริหารสตรีจะช่วยให้การบริหารงานดีขึ้นและประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้ยังได้นำปัจจัยความล่าช้าที่เหมาะสม (Optimal lag length) ของสัดส่วนกรรมการสตรีในคณะกรรมการบริหารมาร่วมศึกษาเพื่อดูว่าระยะเวลามีผลต่อตัวแปรตามหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นของการกำกับดูแลกิจการมาหาความสัมพันธ์ร่วมด้วย ได้แก่ สัดส่วนของกรรมการอิสระ การควบรวมตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร สัดส่วนการถือหุ้นแบบสถาบัน และสัดส่วนการถือหุ้นแบบครอบครัว ผลการศึกษา พบว่า สัดส่วนกรรมการสตรีในคณะกรรมการบริหารมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับผลการดำเนินงานซึ่งวัดจากผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ในขณะที่ความล่าช้าที่เหมาะสมของสัดส่วนกรรมการสตรีในคณะกรรมการบริหาร สัดส่วนการถือหุ้นแบบสถาบัน และสัดส่วนการถือหุ้นแบบครอบครัวมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน สำหรับสัดส่วนของกรรมการอิสระ และการควบรวมตำแหน่งคณะกรรมการบริหารไม่พบว่า มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานในการศึกษาครั้งนี้ คำสำคัญ: การกำกับดูแลกิจการ ผลการดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารสตรี โครงสร้างคณะกรรมการ โครงสร้างผู้ถือหุ้น Abstract The objective of this study is to investigate the relationship between mechanisms of corporate governance and firm performance of listed companies in the Stock Exchange of Thailand (SET). 367 non-financial listed companies in Thailand over the period from 2013 to 2015 are covered in this study. Nowadays, many countries especially in Europe emphasize to increase the number of women in leading positions in business. They believed that executive women are the key to a successful implementation, thus ratio of women on board were focused. Optimal lag length is also included in order to examine if there is any effects from time lag. Other corporate governance factors to consider are ratio of board independence, CEO duality, ratio of institutional ownership and ratio of family ownership. Empirical results imply that ratio of women on board has negative influence while optimal lag length, ratio of institutional ownership and ratio of family ownership have positive influence on firm performance represented by Return on Assets (ROA). Nevertheless, ratio of board independence and CEO duality do not have any influences on firm performance from this study. Keywords: Corporate Governance, Firm Performance, Women on Board, Board Structure, Ownership StructureDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ