ปัจจัยแรงจูงใจในการออม สภาพแวดล้อมในการออม และทัศนคติการออมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (MOTIVATION FACTORS FOR MONEY SAVING ENVIRONMENT SAVING AND ATTITUDES SAVING WHICH AFFECT...)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการออม สภาพแวดล้อมในการออม และทัศนคติการออมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการออม สภาพแวดล้อมในการออม และทัศนคติการออมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยใช้ดัชนีชี้วัดความกลมกลืน ประกอบด้วย ค่าไคสแควร์ ค่า GFI ค่า RMSEA และค่า CFI ผลการศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการออม สภาพแวดล้อมในการออม และทัศนคติการออมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการออมมากที่สุด คือ แรงจูงใจในการออมมีค่าเท่ากับ 0.67 รองลงมา คือ ทัศนคติการออมมีค่าเท่ากับ 0.55 และสภาพแวดล้อมมีค่าเท่ากับ 0.27 สำหรับผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ค่าไคสแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 32.50 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 33 ระดับความมีนัยสำคัญ (P-Value) เท่ากับ 0.72 ค่าไคสแควร์ต่อค่าองศาอิสระ (Chi-square/ df) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.027 คำสำคัญ: พฤติกรรมการออม นักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา Abstract The purpose of this research is to analyse motivation factors for money savings, environment saving and attitudes saving which affect the saving behavior of college of logistics and supply chain Suansunandha Rajabhat University students, and examine the harmony motivation factors for savings, saving environment and saving attitudes with empirical data. The population are 400 students were given by research tools questionnaire about a causal relationship of factors affecting saving behavior. There are 4 statistic techniques consists of frequency, percentage, mean, and standard deviation. For the hypothesis test, the researcher used the index of harmony. The index consisted of chi-square, GFI, RMSEA, CFI, and CFI. The result found that the variables that directly influence on the saving behavior was the motivation for saving was equal to 0.67, the attitude saving was equal to 0.55 and the environment was equal to 0.27. For the results of the empirical data consistency check that the Chi-squared was 32.50, Degree of Freedom was 33, P-Value was 0.72, Chi-square/ df was 0.98, Comparative Fit Index (CFI) was 0.98, Goodness of Fit Index (GFI) was 0.95, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) was 0.95 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.027 Keywords: Saving Behavior, College of logistics and supply chain Suansunandha Rajabhat university studentsDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2017 วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ