ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการรับรู้ของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา อ่าวไร่เล อุทยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่
Keywords:
ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว การรับรู้ อ่าวไร่เล อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาการรับรู้ศักยภาพของนักท่องเที่ยวและศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ในตัวชี้วัดที่รับรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ของอ่าวไร่เลซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคำนึงถึงความยั่งยืนจึงมีแนวคิดในการยกระดับอ่าวไร่เลให้มีการจัดการเชิงอนุรักษ์ แนวทางดังกล่าวจำเป็นต้องสำรวจทรัพยากรท่องเที่ยว เพื่อประเมินคุณค่าความสำคัญและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ว่าเป็นศักยภาพตอบสนองการท่องเที่ยวประเภทใดและนักท่องเที่ยวรับรู้อย่างไร มีเครื่องมือเป็นแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอ่าวไร่เลกำหนด 3 ประเภทการท่องเที่ยว เกณฑ์การท่องเที่ยว 5 ด้าน รวม 30 ตัวชี้วัด ได้ค่าคุณภาพจากการสอบถามตัวแทนพื้นที่ 11 คน และได้ค่าความสำคัญจากตารางที่ Prioritize Matrice ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน วิเคราะห์ด้วยสมการถ่วงน้ำหนัก ในการศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สอบถามกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย 403 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ตัวชี้วัดที่รับรู้ต่ำกว่าเกณฑ์นำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับปัจจัยประสบการณ์และเวลาในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยวิธี Chi-Square ผลการศึกษาพบว่า อ่าวไร่เลมีค่าศักยภาพประเภทการท่องเที่ยวเพื่อผจญภัยสูงสุด รองลงมาคือการท่องเที่ยวธรรมชาติทั่วไปเช่นเดียวกับการรับรู้ของนักท่องเที่ยว โดยตัวชี้วัดส่วนใหญ่ที่สะท้อนการจัดการเชิงอนุรักษ์มีค่าคุณภาพและการรับรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยพบว่าประสบการณ์ในการมาเยือนสัมพันธ์กับการรับรู้ในประเด็นส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาครั้งแรกและการรับรู้มีสัดส่วนต่ำกว่าเกณฑ์ สรุปได้ว่า อ่าวไร่เลเหมาะสมในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติทั่วไปกึ่งผจญภัยผสานการจัดการเชิงอนุรักษ์ โดยนักจัดการควรปรับปรุงคุณภาพตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีคุณค่าเชิงอนุรักษ์ให้มีคุณภาพสูงกว่าเกณฑ์ และแบ่งเขตพื้นที่ย่อยเพื่อกำหนดประเภทการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและส่งเสริมประสบการณ์ตามประเภทที่กำหนดให้นักจัดการสามารถวางแผนการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ