รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียน ระดับประถมศึกษา

Main Article Content

เสมอ สุวรรณโค
ธีรวุฒิ เอกะกุล
สมคิด สร้อยน้ำ

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษา 2) ศึกษาสภาพการดาเนินงาน และ 3) สร้างรูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยศึกษาสภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนต้นแบบด้วยเทคนิควิจัยเชิงคุณภาพและสังเคราะห์แนวคิดด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และสังเกตตัวอย่างเป็นโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ จานวน 2 แห่ง และสอบถามผู้มีความรอบรู้ในองค์ประกอบของรูปแบบ จานวน 10 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง และศึกษาสภาพการดาเนินงาน ตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 115 คนและครูผู้สอนจานวน 115 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ดาเนินการสร้างรูปแบบ สร้างคู่มือการใช้รูปแบบ และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความสอดคล้องของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียน ระดับประถมศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า1. สภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนต้นแบบของเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ดังนี้ 1) องค์ประกอบผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1.1) ด้านภาวะผู้นา 1.2) ด้านหลักการบริหาร 1.3) ด้านการพัฒนาครู 1.4) ด้านชุมชน 2) องค์ประกอบครูผู้สอน ประกอบด้วย 2.1) ด้านหลักสูตร 2.2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 2.3) ด้านสื่อและเทคโนโลยี 2.4) ด้านการวัดและประเมินผล 2.5) ด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2.6) ด้านการวิจัยและพัฒนาผู้เรียน2. สภาพการดาเนินงานของเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบผู้บริหารสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยมากกว่าองค์ประกอบครูผู้สอน โดยองค์ประกอบผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การให้คาแนะนาหรือปรึกษาทางวิชาการ การเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพ องค์ประกอบครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การศึกษาวิจัยพัฒนาการจัดการเรียนรู้3. ผลการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) ระบบและกลไกการดาเนินงาน 4) การดาเนินงาน 5) การประเมินผลและ 6) เงื่อนไขความสาเร็จ ส่วนการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความสอดคล้องของรูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับ ประถมศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และความสอดคล้องอยู่ในระดับมากคำสำคัญ : รูปแบบ, เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ,โรงเรียนประถมศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สุวรรณโค เ., เอกะกุล ธ., & สร้อยน้ำ ส. (2016). รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียน ระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/7247
Section
บทความวิจัย (Research Articles)