รูปแบบการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

สมคิด กอมณี

Abstract

ในสภาพการณ์ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจสังคมการศึกษาและการประกอบอาชีพมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเยาวชนในวัยศึกษาเล่าเรียนซึ่งเป็นวัยที่สำคัญในการวางรากฐานให้กับตนเองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนอันจะนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคตการที่จะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในชีวิตได้นั้นเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะเลือกทิศทางที่เหมาะสมดังนั้นรูปแบบการแนะแนวอาชีพจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่มุ่งส่งเสริมบุคคลในทุกช่วงวัยของชีวิตโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเรียนให้รู้จักตนเองพึ่งตนเอง มีทักษะทางชีวิตสามารถพัฒนาตนและสังคมได้เต็มตามศักยภาพการ แนะแนวอาชีพจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคน โดยองค์รวมทั้งในด้านสติปัญญาอารมณ์สังคมและจิตใจให้เป็นบุคคลที่สามารถในการเลือกดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม  ซูเปอร์ (Super. 1960: 8 – 9) สำหรับการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพนั้น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุธศักราช 2544 (กระทรวงศึกษาธิการ 2545: 1) การเลือกอาชีพที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลนอกจากจะประโยชน์ต่อตนเองและต่อประเทศชาติแล้ว  ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย เพราะการพัฒนาทางการศึกษาและทางด้านเศรษฐกิจของรัฐ หมายถึงการพัฒนาอาชีพของประชาชน หากการเลือกการศึกษาต่อหรือเลือกอาชีพของเยาวชนไม่เหมาะสมยัง ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเด็กและยังส่งผลต่อประเทศชาติด้วยและประวิทย์  อุดมโชติ ( 2559  : 1-2) ได้กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่จะพัฒนาประเทศได้ คือ การจัดการศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการ  ความถนัด และความสนใจของบุคคลนั้นเพื่อให้พัฒนาตนเอง อันจะส่งผลให้เป็นแนวทางการเลือกเรียนเลือกอาชีพได้เหมาะสมกับตนเองต้องอาศัยกิจกรรมการแนะแนวเป็นส่วนในการช่วยเหลือ สำหรับการจัดกิจกรรมแนะแนวควรจัดให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ 1) การแนะแนวด้านการศึกษาซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระบบการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลวิธีการและเทคนิคในการศึกษาเล่าเรียนการวางแผนเลือกการศึกษาต่อตลอดจนทราบถึงคุณสมบัติที่สถานศึกษาต่าง ๆ กำหนดไว้ 2 ) การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม เป็นการให้ข้อมูลในด้านบุคลิกภาพ อารมณ์ สังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และการปรับตัวให้เข้ากับสังคมในปัจจุบันและอนาคตได้  และ 3) การแนะแนวด้านอาชีพเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บุคคลได้รู้จักตนเองในด้านความถนัดความสามารถรู้จักการวางแผนการศึกษาและอาชีพให้สอดคล้องกันได้ ทราบแหล่งข้อมูลทางอาชีพคุณสมบัติประจำตัวของผู้ประกอบอาชีพรายได้และโอกาสในการประกอบอาชีพ และวิธีการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จการแนะแนวด้านชีวิตและสังคม เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บุคคลได้รู้จักเข้าใจบุคลิกภาพของตนเอง เข้าใจพฤติกรรมบทบาทการวางแผนการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต การเข้าศึกษาต่อในสาขาที่ตนเองเลือกได้อย่างไรซูเปอร์ (Super. 1960: 71 – 80)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กอมณี ส. (2017). รูปแบบการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/8533
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)