การเยียวยาภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียพ่อหรือแม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยการให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ HEALING DEPRESSION OF YOUTH AFFECTED BY THE LOSS OF PARENTS DUE TO THE COVID-19 OUTBREAK THROUGH PROVIDING ONLINE COGNITIVE BEHAVIORAL THEORY COUNSELING

Main Article Content

ธิติยา กองแก้ว
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ชนัดดา แนบเกษร

Abstract

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของ การให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์เพื่อเยียวยาภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจาก การสูญเสียพ่อหรือแม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลัง การทดลองและระยะติดตามผล 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ เพื่อเยียวยาภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียพ่อหรือแม่จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คาถาม (9Q) จากกรมสุขภาพจิต แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังการสูญเสียพ่อหรือแม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จานวน 32 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปี ที่สูญเสียพ่อหรือแม่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีคะแนนจากการทาแบบแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) อยู่ในระดับปานกลาง จานวน 20 คน โดยผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ จานวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และกลุ่มควบคุม ไม่ได้ได้รับโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ กลุ่มละ 10 คน โดยการจับคู่คะแนน (Matching pair) และวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า คะแนน ภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลต่ากว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าเยาวชนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์ สามารถทำให้ภาวะซึมเศร้าในเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียพ่อหรือแม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มีอาการดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กองแก้ว ธ., กุลนภาดล เ. ., & แนบเกษร ช. (2024). การเยียวยาภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียพ่อหรือแม่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยการให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยมออนไลน์: HEALING DEPRESSION OF YOUTH AFFECTED BY THE LOSS OF PARENTS DUE TO THE COVID-19 OUTBREAK THROUGH PROVIDING ONLINE COGNITIVE BEHAVIORAL THEORY COUNSELING. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 32–44. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15974
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมควบคุมโรค. (2567). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.

กรมสุขภาพจิต. (2564). กรมสุขภาพจิต เผย ญาติผู้เสียชีวิตโควิด-19 เครียดใช้บริการสายด่วนมากขึ้น. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30972

กรมสุขภาพจิต. (2564). คู่มือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตจาก COVID-19. เข้าถึงได้จาก https://www.mhc10.go.th/myinfo/20210818155718.pdf

ญาณิน ทิพากร. (2564). การดูแลจิตใจ เมื่อสูญเสียบุคคลที่รักจากโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://citly.me/jgcZW

พรทิพย์ พันธ์นรา. (2549). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของหญิงม่ายที่สามีเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีหญิงม่ายที่อยู่ในศูนย์รอตันบาตู จังหวัดนราธิวาส. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชคณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

มาโนช หล่อตระกูล. (2566). โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

รันยา รอดเจริญ. (2562). ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สถิตย์ วงศ์สุรประกิต, ฉันทนา แรงสิงห์ และเจนนารา วงศ์ปาล. (2564). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 11(2): 47-58.

Winer, J.B., Brown, R.D., & Michels, M.K. (1991). Statistically principles in experimental design. (3rd ed.) U.S.A.: McGraw-Hill.

Worldometers. (2024). COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC. Retrieved from https://www.worldometers.info/coronavirus/

Most read articles by the same author(s)