การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นด้วยการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ STRENGTHENING TEENAGE MOTHERS’ RESPONSIBILITY FOR CHILDREARING THROUGH ONLINE BEHAVIORAL THEORY COUNSELING

Main Article Content

รวีวรรณ โกศลานันท์
เพ็ญนภา กุลนภาดล

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นระหว่างกลุ่มที่ได้รับการให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์และกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่น ที่ได้รับการให้การปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ระหว่างระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่น 2)โปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ มารดาวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชลบุรีและเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัย และมีความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรด้วยแบบวัดความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ (1-90) จำนวน 20 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางที่มีการวัดซ้ำ (Two-way ANOVA repeated measurement) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลมีค่าเป็น 122.20 และ 125.60 สูงกว่ามารดาวัยรุ่นที่ไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบวัดความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลมีค่าเป็น 109.60 และ 113.40 สรุปได้ว่าโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์สามารถเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นให้เพิ่มขึ้นได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โกศลานันท์ ร., & กุลนภาดล เ. (2024). การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นด้วยการปรึกษาทฤษฎีพฤติกรรมนิยมออนไลน์: STRENGTHENING TEENAGE MOTHERS’ RESPONSIBILITY FOR CHILDREARING THROUGH ONLINE BEHAVIORAL THEORY COUNSELING. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 45–60. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15976
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง. (2563). การพัฒนาการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนในประเทศไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 43(2): 90-103.

กรมอนามัย. (2565). รายงานประจำปี 2565 สำนักงานอนามัยการเจริญพันธุ์. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/FsYoG

เทียนทิพย์ ไชยฉัตรเชาวกุล. (2543). บทบาทของบิดาในทัศนะของบุตรวัยรุ่น. [มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/101472

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2564). รายงานประจำปี 2564 สำนักงานอนามัยการเจริญพันธุ์. เข้าถึงได้จาก https://www.shorturl.asia/CLagX

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. (2556). สถานการณ์ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. https:// www.hitap.net/wpcontent/uploads/2014/09/adolescent_pregnancy_rep_online.pdf

ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี. (2563). สรุปผลตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 กรณีปกติ รอบ 2/2563. เข้าถึงได้จาก https://www.shorturl.asia/LNTCm

ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ ,วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และอนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2558). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออก. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Most read articles by the same author(s)