การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างด้วยการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น THE RESILIENCE ENHANCEMENT OF THE LAID OFF EMPLOYEES THROUGH SOLUTION-FOCUSED BRIEF THERAPY ONLINE GROUP COUNSELING

Main Article Content

อรอุมา ทำบุญ
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
เพ็ญนภา กุลนภาดล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้การปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้าง โดยประชากรในการวิจัยคือพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2566 จำนวน 4,248 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมวิจัยจำนวน 20 คน แล้วใช้วิธีจับคู่ (matched pair) เพื่อจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความความยืดหยุ่นทางจิตใจที่พัฒนามาจากแนวคิดความยืดหยุ่นทางจิตใจของ Grotberg (1995) และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งประกอบด้วยการปรึกษา 8 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษา  กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการวัดความยืดหยุ่นทางจิตใจ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบคู่โดยใช้วิธี Bonferroni ผลการวิจัยพบว่าพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างที่ได้รับการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นในกลุ่มทดลองมีคะแนนความยืดหยุ่นทางจิตใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างในกลุ่มทดลองมีความยืดหยุ่นทางจิตใจในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นสามารถเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทำบุญ อ. ., ทองคำบรรจง เ. ., & กุลนภาดล เ. . (2024). การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างด้วยการปรึกษากลุ่มออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น: THE RESILIENCE ENHANCEMENT OF THE LAID OFF EMPLOYEES THROUGH SOLUTION-FOCUSED BRIEF THERAPY ONLINE GROUP COUNSELING. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 1–19. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16074
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). สถิติคนไทยฆ่าตัวตายกี่รายต่อวัน และสาเหตุไหนทำให้อยากตายมากที่สุด. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29978

กรรณิการ์ พันทอง. (2563). การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจและกลวิธีการจัดการของวัยรุ่นที่ถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์โดยใช้การให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดการปรับความคิดโดยใช้สติเป็นฐาน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ดวงมณี จงรักษ์. (2561). การใช้ 4 ทฤษฎีการปรึกษาในการปรึกษากลุ่ม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(1), 188-200

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2564). ความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience) : วัคซีนใจเพื่อการก้าวผ่านภาวะวิกฤตในปัจจุบัน. ศูนย์พัฒนาและประยุกต์วิชาการ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นจาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post

วรางคณา โสมะนันทน์, คาลอส บุญสุภา และพลอยไพลิน กมลนาวิน (2564). การให้บริการการปรึกษาเชิง จิตวิทยาแบบออนไลน์ : มิติใหม่ของการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 247-260

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5492

โสฬวรรณ อินทสิทธิ์ และ สิริกุล จุลคีรี. (2563). สร้ายกลายเป็นดี RQ พลังสุขภาพจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สํานักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

อนุวัติ ซีค๊อต. (2559). แนวคิดทางทฤษฎีและเรื่องที่ปรากฏ: การเลิกจ้างเมื่อค่าจ้างสูง (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่, เชียงใหม่.

อัจฉรา สุขารมณ์. (2559). การฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(1). 209-215.

Ala-Mursula, L., Buxton, J. L., Ek, E., Koiranen, M., Taanila, A., Blakemore, I. F., & Järvelin, R. (2013). Long-Term Unemployment Is Associated with Short Telomeres in 31-Year-Old Men: An Observational Study in the Northern Finland Birth Cohort 1966, 8(11), Rethrieved from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0080094

Benjamin J Winer, Donald R Brown & Kenneth M Michels. (1991). Statistical principles in experimental design. New York: McGraw-Hill.

Carmen Neipp, Mark Beyebach, Andres Sanchez-Prada. (2021), Solution-Focused versus Problem-Focused Questions: Differential Effects of Miracles, Exceptions and Scales. Journal of Family Therapy, 43, 728-747. Retrieved from https://doi.org/10.1111/1467-6427.12345

David C. Howell. (1997). Statistical Methods for Psychology (6" ed.). Belmont U: University of Vermont.

Edith Grotberg. (1995). A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit. Retrieved from https://www.bibalex.org/baifa/Attachment/Documents/115519

Gen Takagi, Kazuma Sakamoto, Naoto Nihonmatsu & Miki Hagidai. (2022). The impact of clarifying the long-term solution picture through solution-focused interventions on positive attitude towards life. Plos One, 17(5). Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/360597363_The_impact_of_clarifying_the_long- term_solution_picture_through_solution_focused_interventions_on_positive_attitude_towards_life

Gerald Corey. (2013). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. (9th ed.). Belmont, USA: American Board of Professional Psychology.

Janske H. W. Van Eersel, Toon W. Taris, and Paul A. Boelen. (2022). Job loss-related complicated grief symptoms: A cognitive-behavioral framework. Frontiers in Psychiatry. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9354410/

Krystle Himmelberger, James Ikonomopoulos & Javier Cavazos Vela. (2022). Evaluating the Impact of Solution-Focused Brief Therapy on Hope and Clinical Symptoms With Latine Clients. The Professional Counselor, 12(3). Retrieved from https://tpcjournal.nbcc.org/wp-content/uploads/2022/11/Pages-198-216-Himmelberger-Impact-of-SFBT-on-Hope-and-Clinical-Symptoms-with-Latine-Clients.pdf

Lerardi, E., Bottini, M., & Riva Crugnola, C. (2022). Effectiveness of an online versus face-to- face psychodynamic counselling intervention for university students before and during the COVID-19 period. BMC Psychology, 10(35). Retrieved from https://psycnet.apa.org/record/2022-36378-001

Lori Napier (2020). Effect of Solution-Focused Therapy on Resilience in Athletes: An EEG Study (Doctoral Degree Thesis). George Fox University, Newberg, Oregon.

Marcos Pérez Lamadrid and Adam S. Froerer. (2022). Solution Focused Brief Therapy and Vicarious Resilience in Bolivian Protective Family Services Workers. Journal of Solution Focused Practices, 2022 (6), 1-12. Retrieved from Solution Focused Brief Therapy and Vicarious Resilience in Bolivian Protective Family Services Workers (unlv.edu)

Mehmet Enes Sagar (2022). The effect of solution-focused group counseling on the resilience of university students. E-International Journal of Educational Research, 13(1), 103-117. Retrieved from https://www.e-ijer.com/en/download/article-file/2125096

Monica Parpal Stockbridge. (2022). How Clinicians Can Help With the Psychological Toll of Layoffs). Retrieved from https://www.psychiatrist.com/news/how-clinicians-can-help-with-the-psychological-toll-of-layoffs/

Shitao Chen, Yanwen Zhang , Diyang Qu b,c, Jiafen He , Quan Yuan , Yinzhe Wang ,…, Runsen Chen. An online solution focused brief therapy for adolescent anxiety: randomized controlled trial. Asian Journal Psychiatry, 86(2023). Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1876201823002162

Steve Crabtree. (2014). In U.S., Depression Rates Higher for Long-Term Unemployed Mental health poorest among those jobless for six months. Frontiers in Public Health, 2(93). Retrieved from https://www.undp.org/jordan/stories/why-resilience-now-more-important- ever?utm_source

Most read articles by the same author(s)