การพัฒนาทักษะอาชีพและการดำรงชีพ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการเชิงจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน

Main Article Content

เพ็ญนภา กุลนภาดล
ประชา อินัง
ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม
ผลาดร สุวรรณโพธิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะอาชีพและการดำรงชีพ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการเชิงจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน  มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้  1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะอาชีพและการดำรงชีพสำหรับการเลือกอาชีพที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะอาชีพและการดำรงชีพด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน และศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะอาชีพและการดำรงชีพด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน โดยมีขั้นตอนการวิจัยและผลการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1  การพัฒนาแบบวัดทักษะอาชีพและการดำรงชีพสำหรับการเลือกอาชีพที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในภาคตะวันออก ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบวัดทักษะอาชีพและการดำรงชีพ ได้แบบวัดที่มีคุณภาพและมาตรฐาน  เมื่อนำแบบวัดไปเก็บข้อมูลกับนักเรียนใน 8 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ระยอง ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี นครนายก  ปราจีนบุรี   จันทบุรี และตราด จำนวน 2,400 คน ผลการวิจัย  พบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะอาชีพและการดำรงชีพสำหรับการเลือกอาชีพที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมนุษยสัมพันธ์ มีคะแนนทักษะอาชีพและการดำรงชีพ อยู่ในระดับมาก ( = 3.57) รองลงมา  ด้านภาษา ( = 3.41)  ด้านเหตุผล-คณิตศาสตร์ ( = 3.31) ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ( = 3.30)  ด้านมิติสัมพันธ์ ( = 3.28)  ด้านการรู้จักเข้าใจตนเอง ( = 3.26) ด้านอัตถภวนิยม หรือ การดำรงอยู่ของชีวิต ( = 3.20) และด้านดนตรี ( = 2.89) ตามลำดับ โดยสรุป นักเรียนในจังหวัดภาคตะวันออก มีคะแนนทักษะอาชีพและการดำรงชีพด้าน           มนุษยสัมพันธ์ สูงที่สุด เป็นอันดับ 1 รองลงมาอีก 4 อันดับ ได้แก่ ด้านภาษา ด้านเหตุผล-คณิตศาสตร์ ด้านร่างกายและ       การเคลื่อนไหว และด้านมิติสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะอาชีพและการดำรงชีพด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน และศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะอาชีพและการดำรงชีพด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน ผู้วิจัยพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะอาชีพและการดำรงชีพด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน  โดยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ และทดลองใช้หลักสูตรฯ ที่พัฒนากับนักเรียนที่เป็นกลุ่มทดลอง พบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะอาชีพและการดำรงชีพสำหรับการเลือกอาชีพที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านเหตุผล-คณิตศาสตร์   ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการรู้จักเข้าใจตนเองด้านธรรมชาติ  และด้านเชาวน์ปัญญาทางด้านการดำรงอยู่ของชีวิต มากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ยกเว้นด้านภาษาที่พบว่าไม่แตกต่างจากก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมตามหลักสูตรฯ คำสำคัญ: ทักษะอาชีพและการดำรงชีพ ศตวรรษที่ 21 จิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน ABSTRACT This is a research report in the topic of the development of Career and Living Skill for learning in the 21st century through the psychological self empowerment process. The purposes of this research are: 1)       To develop the Career and Living Skill to choose the right career for learning in the 21st century. 2)       To develop and enhance the Career and Living Skill with the psychological self empowerment process. The research process and results were as follows. The first step is to develop Career and Living Skill to choose the suitable career to learn in the 21st century of students in the East of Thailand. The results of Career and Living Skill test development and it’s outcome to be tested with the students from 8 provinces including Sa Kaeo, Rayong, Chonburi, Nakhon Nayok, Prachinburi, Chanthaburi and Trat found that  students have Career and Living Skill to choose the suitable career for learning in the 21st century is moderate ( = 3.27) when it was considered by sub aspect, the criterion is found almost all sides are moderate ( between 2:51 to 3:50). Except human relation aspect is at a high level ( = 3.57) when sorting by side with the descending order as follows: human relation has the highest scores at a high level ( = 3.57), then language ( = 3.41) reason - Mathematics ( = 3.31), physical and movement ( = 3.30), spatial ( = 3.28) self-understanding ( = 3.26) existence of life ( = 3.20) and music ( = 2.89) respectively. Students in Eastern Provinces Rated human relation in the first rank for their Career and Living Skill then language, reason and mathematic, physical and movement, and spatial aspects respectively. The evaluation results of the recognition of Career and Living Skill for students in accordance with the appropriate job learning in the 21st century are advertiser, counselors, educators, psychologists, politicians, human resource development and marketing.The second rank is philologist, poet, public relation or media consultant, speaker and teachers.The third rank is analyst, judiciary, banker, programmer, engineers, musician, doctor and nurse.The fourth rank is physical therapist, athlete and physical trainer. The fifth rank is architect, artist, conductor, interior, sculptor, inventor, explorer, urban planner, designer and photographers. Step two is to develop Career and Living Skill by using self potential learning guide book, the results showed that the experimental group had been attending Career and Living Skill with the psychological self empowerment process. Found that the students had Career and Living Skill to choose the suitable career for learning in the 21st century in reason – mathematic, Spatial, physical and movement, music, human relation, self understanding, nature, and the intelligence of the popular security utilities, or the existence of life more than pre-test at the level of statistical significance .05, except for the language that was no different from the pre-test. Keywords: Career and Living Skill For Learning / 21st Century / Psychological Self Empowerment Process

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กุลนภาดล เ., อินัง ป., อยู่เอี่ยม ท., & สุวรรณโพธิ์ ผ. (2019). การพัฒนาทักษะอาชีพและการดำรงชีพ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการเชิงจิตวิทยาเสริมสร้างศักยภาพแห่งตน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11841
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)